บทความ: ปุ๋ยหมักกากไขมัน...จากของเสียเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมโรงแรม สู่ต้นแบบงานวิจัยการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน

บทคัดย่อ

น้ำมันและกากไขมันเป็นสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติ มีความหนาแน่นต่ำและลอยเหนือน้ำได้ แต่หากปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำจะส่งผลให้เกิดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจนเกิดการเน่าเสียของน้ำ บทความนี้นำเสนอวิธีการแปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมักด้วยถังหมักกากไขมันต้นแบบ ซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อการจัดการกากไขมันของอุตสาหกรรมโรงแรมที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถส่งเสริมให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มของของเสียจากอุตสาหกรรมโรงแรม


การอ้างอิง: พันธวัศ สัมพันธ์พานิช, เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์, กรองแก้ว ทิพยศักดิ์. (2562). ปุ๋ยหมักกากไขมัน ... จากของเสียเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมโรงแรม สู่ต้นแบบงานวิจัยการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 1).


บทความ: ปุ๋ยหมักกากไขมัน ... จากของเสียเหลือทิ้งของอุตสาหกรรมโรงแรม สู่ต้นแบบงานวิจัยการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดิน

พันธวัศ สัมพันธ์พานิช 1, เพ็ญรดี จันทร์ภิวัฒน์ 1, กรองแก้ว ทิพยศักดิ์ 2
1 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


การเพิ่มจำนวนของประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่องของของเสียจำพวกน้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) จากอุตสาหกรรมอาหารและการปรุงประกอบอาหารจากครัวเรือนและร้านอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการจัดการที่ถูกสุขลักษณะ เนื่องจากน้ำมันและไขมันนั้นจัดเป็นของเสียอินทรีย์ประเภทหนึ่งซึ่งหากไม่ถูกจัดการอย่างเหมาะสม อาจก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำได้หากถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ผลการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ไขมันและน้ำมันนั้นเป็นสารมลพิษชนิดหนึ่งที่มักพบอยู่ในน้ำเสียชุมชน คิดเป็นปริมาณร้อยละ 10 ของปริมาณสารอินทรีย์ที่พบในน้ำเสีย (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก) ด้วยเหตุนี้การติดตั้งบ่อดักไขมันจึงเป็นมาตรการที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญในการช่วยลดปัญหาผลกระทบจากน้ำมันและไขมันต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งน้ำผิวดิน อย่างไรก็ดี เมื่อภาคครัวเรือน ร้านอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารติดตั้งบ่อดักไขมันแล้ว ก็จำเป็นต้องมีวิธีจัดการกากไขมัน (Grease Waste) ซึ่งเป็นของเสียที่แยกได้จากถังดักกากไขมันให้เหมาะสมต่อไป (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก และ ข)

ลักษณะและสมบัติของกากไขมัน 
น้ำมันและกากไขมันนั้นเป็นสารอาหารที่มีอยู่ในธรรมชาติที่ได้มาจากพืชหรือสัตว์ มีความหนาแน่นต่ำและลอยเหนือน้ำได้ หากน้ำมันและไขมันนี้ปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ และลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำ อาจทำให้ออกซิเจนไม่สามารถละลายลงสู่แหล่งน้ำได้ ส่งผลให้เกิดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนจนเกิดการเน่าเสียของน้ำ และกลิ่นอันไม่ประสงค์ตามมา

เมื่อมีการปล่อยน้ำเสียที่ปนเปื้อนน้ำมันและไขมันออกมาจากครัวเรือน ร้านอาหาร และอุตสาหกรรมอาหาร โดยผ่านบ่อพักเพื่อดักให้น้ำมันและไขมันแยกตัวและลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ น้ำมันและไขมันที่ลอยตัวเหนือผิวน้ำและถูกตักออกจากบ่อดักไขมัน คือ กากไขมัน (Grease Waste) ดังรูปที่ 1 กากไขมันที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำในบ่อดักไขมันนี้ หากไม่ถูกตักออกไปจัดการเป็นระยะ ๆ ก็อาจก่อให้เกิดการอุดตันของระบบท่อระบายน้ำและส่งกลิ่นเหม็นได้

โดยทั่วไปแล้วกากไขมันที่ตักได้จากบ่อดักไขมันนั้นจะมีปริมาณแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของแหล่งกำเนิดน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันและไขมัน เช่น ครัวเรือนทั่วไปประมาณการว่าก่อให้เกิดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียจากการปรุงประกอบอาหารประมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร ปริมาณกากไขมันที่ได้จากถังไขมันประมาณ 0.2 ถึง 0.8 กิโลกรัม/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก) ส่วนร้านอาหาร มักก่อให้เกิดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียจากการปรุงประกอบอาหารประมาณ 1,500 มิลลิกรัม/ลิตร โดยค่าความเข้มข้นของกากไขมันแปรผันตามขนาดพื้นที่ของร้านอาหาร (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ข) กล่าวคือ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของกากไขมันสำหรับร้านอาหารขนาดเล็ก (น้อยกว่า 100 ตารางเมตร) ขนาดกลาง (100-200 ตารางเมตร) และขนาดใหญ่ (มากกว่า 200 ตารางเมตร) พบว่ามีค่าเท่ากับ 1,300, 2,400 และ 6,400 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ (ประสิทธิ์ เหลืองรุ่งเกียรติ, 2545) ดังนั้นมวลแห้งเฉลี่ยของน้ำมันและไขมันจากร้านอาหารขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จึงเท่ากับ 1.5, 4.2 และ 19.2 กิโลกรัม/วัน-ร้าน ตามลำดับ

นอกจากนั้นแล้วกรมควบคุมมลพิษยังได้ประมาณการปริมาณกากไขมันจากร้านอาหารทั่วไปและร้านอาหารในโรงแรมว่าอาจมีปริมาณถึง 2.5 และ 21 กิโลกรัม/วัน ตามลำดับ องค์ประกอบของกากไขมันจากครัวเรือน ร้านอาหารทั่วไป และร้านอาหารในโรงแรม (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ข) แสดงได้ดังตารางที่ 1


รูปที่ 1 ลักษณะถังดักไขมัน
ที่มา: พิมพ์ชนก ศรีรัชตระกูล (2560) 

ตารางที่ 1 องค์ประกอบของกากไขมันจากครัวเรือนและร้านอาหาร

พารามิเตอร์ หน่วย ความเข้มข้น
ความเป็นกรดด่าง (pH) - 5-7
ค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) µS/cm 300-2,500
สี (Color) ADMI 60-700
ไนโตรเจนทั้งหมด (Total Kjeldahl Nitrogen) mg/L 9-106
กรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acid) % 0.02-85
น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) mg/L 14-38,000
ฟอสฟอรัสรวม (Total Phosphorus) mg/L 0.13-100

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, 2551

การจัดการกากไขมันและการแปรรูปกากไขมันเพื่อการใช้ประโยชน์
การแยกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำเสียจากครัวเรือนและร้านอาหารโดยใช้บ่อดักไขมันจะมีประสิทธิภาพดี เมื่อมีการจัดให้มีระยะเวลาการพักน้ำ (Detention Time) เพื่อให้น้ำมันละไขมันมีโอกาสลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำ ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง แต่เนื่องจากอุณหภูมิของประเทศไทยนั้นค่อนข้างสูง ส่งผลให้การลอยตัวและจับตัวของกากไขมันในถังดักไขมันเกิดขึ้นได้ช้า จึงอาจจำเป็นต้องมีการออกแบบให้ระยะเวลาการพักน้ำในถังไขมันนั้นยาวนานกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อกากไขมันแยกตัวออกจากน้ำและสะสมอยู่ในถังดักไขมันมากขึ้น ควรตักกากไขมันออกจากบ่อดักไขมันเป็นประจำเพื่อลดปัญหากลิ่นจากการย่อยสลายกากไขมัน และการอุดตันของท่อระบายน้ำ

กากไขมันที่ถูกตักออกจากถังดักไขมันสามารถถูกรวบรวมไปกำจัดด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การฝังกลบในหลุมฝังกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาล การเผาทำลายในเตาเผาที่ถูกสุขลักษณะ หรือการส่งกำจัดที่โรงงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้ หากกากไขมันดังกล่าวไม่ถูกจัดการอย่างถูกต้องตามสุขลักษณะ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ เช่น หากฝังกลบกากไขมันในดิน อาจทำให้เกิดก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) และอาจทำให้ต้นพืชขาดน้ำได้ เนื่องจากน้ำและอากาศไม่สามารถซึมผ่านลงดินได้ ในกรณีที่เผาทำลายกากไขมัน ก็อาจก่อให้เกิดการปล่อยสารระเหยสู่ชั้นบรรยากาศในระดับสูงได้

อย่างไรก็ดี กากไขมันที่เกิดขึ้นจากบ่อดักไขมันนั้น สามารถถูกรวบรวมและนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้กรมควบคุมมลพิษพบว่า การแปรรูปกากไขมันที่เกิดจากครัวเรือนและร้านอาหารทั่วไป ณ แหล่งกำเนิดนั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากปริมาณกากไขมันที่รวบรวมได้มักมีปริมาณน้อย (ประมาณ 2.6 กิโลกรัม/วัน) และสถานที่แปรรูปกากไขมัน ซึ่งก็คือบริเวณครัวเรือนและร้านอาหารนั้นมักไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างสำหรับการแปรรูป

สำหรับการแปรรูปกากไขมันที่เกิดจากร้านอาหารของโรงแรมนั้น พบว่ามีศักยภาพเพียงพอต่อการถูกรวบรวมและแปรรูป ณ แหล่งกำเนิด เนื่องจากปริมาณกากไขมันที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถนำมาแปรรูปนั้นมีปริมาณค่อนข้างมาก และเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความคุ้มทุนในระยะเวลาสั้น และโรงแรมเองก็มีศักยภาพทางด้านแรงงานและพื้นที่เพียงพอสำหรับการแปรรูปกากไขมันเหล่านั้น (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ข)
กากไขมันที่รวบรวมได้จากบ่อดักไขมัน สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ (กรมควบคุมมลพิษ, 2551ก และ ข)

1) เทียนหอมหรือเทียนแฟนซี (รูปที่ 2 ก) สามารถแปรรูปได้โดยการนำกากไขมันที่รวบรวมได้ไปต้ม ตกตะกอน และกรองเอาสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ออกจนกากไขมันสะอาด หลังจากนั้นผสมพาราฟิน สี และกลิ่นตามความต้องการ แล้วจึงขึ้นรูปเทียนในแม่พิมพ์รูปแบบต่าง ๆ แล้วนำไปใช้ประโยชน์ หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่

2) สบู่เหลวสำหรับซักล้าง (รูปที่ 2 ข) สามารถแปรรูปได้โดยการนำกากไขมันที่รวบรวมได้ไปทำให้สะอาดด้วยกระบวนการเดียวกันกับการแปรรูปเทียนหอมและเทียนแฟนซีจากกากไขมัน แล้วจึงผสมกากไขมันที่สะอาดกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) น้ำ สี และกลิ่นตามความต้องการ แล้วจึงบรรจุลงในภาชนะสำหรับการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมต่อไป สบู่เหลวที่แปรรูปได้สามารถนำมาใช้ล้างพื้นห้องน้ำภายในร้านอาหารได้ 

3) ไบโอดีเซล (รูปที่ 2 ค) วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแปรรูปไบโอดีเซลจากกากไขมัน คือ การทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีแบบเอสเทอริฟิเคชัน (Esterification)  

4) เชื้อเพลิงอัดแท่ง (รูปที่ 2 ง) กากไขมันที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดสามารถนำมาผสมกับขี้เลื่อยหรือเศษวัสดุต่าง ๆ เช่น ผักตบชวา เปลือกทุเรียน ซังข้าวโพด ในอัตราส่วน (โดยน้ำหนัก) 5 ต่อ 3 คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงอัดเป็นแท่ง และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมง เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงแท่งที่สามารถนำไปเผาไหม้ให้ความร้อนได้ 

5) ปุ๋ยหมัก กากไขมันที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการทำความสะอาดยังสามารถนำไปผสมกับเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษใบไม้ หญ้า กาบมะพร้าว และมูลสัตว์แห้ง แล้วหมักและบ่มรวมกันประมาณ 2-3 เดือน เพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีสีดำคล้ำ มีเนื้อละเอียด มีกลิ่นคล้ายดิน มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์และธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช สามารถนำไปใช้เป็นแทนปุ๋ยเคมี และมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพดินได้ 


รูปที่ 2 ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกากไขมัน

กระบวนการแปรรูปกากไขมันเป็นเทียนหอมหรือเทียนแฟนซี สบู่เหลว และปุ๋ยหมักนั้นใช้ปริมาณกากไขมันค่อนข้างน้อย จึงเหมาะสมกับการแปรรูปกากไขมันที่เกิดจากร้านอาหารทั่วไปที่สามารถนำกากไขมันที่เกิดขึ้นมาแปรรูปได้ด้วยตนเอง และนำผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปได้ไปใช้ประโยชน์ในสถานประกอบการของตนได้ ในส่วนของการแปรรูปกากไขมันเป็นไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงอัดแท่งนั้น จำเป็นต้องใช้กากไขมันปริมาณมาก และต้องการความพร้อมของบุคลากรและศักยภาพในการลงทุนค่อนข้างมาก จึงเหมาะสำหรับร้านอาหารในโรงแรมมากกว่าร้านอาหารทั่วไป 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมของกากไขมันจากร้านอาหารของอุตสาหกรรมโรงแรม
พื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ปีละมากกว่า 1 ล้านคน (กรมการท่องเที่ยว, 2559) และสร้างรายได้ให้กับพื้นที่ปีละมากกว่า 15,000 ล้านบาท (บุญใจ แก้วน้อย, 2558) การขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของพื้นที่เกาะสมุย มีโรงแรมที่จดทะเบียนดำเนินกิจการมากกว่า 550 แห่ง ส่งผลให้ปัจจุบันพื้นที่เกาะสมุย ประสบปัญหา “วิกฤติขยะล้นเกาะสมุย” ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน 

กากไขมันที่เกิดจากการประกอบกิจการของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรมในพื้นที่เกาะสมุย นับเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาของเสียที่ต้องได้รับการจัดการ เนื่องจากปริมาณกากไขมันที่เกิดขึ้นจากโรงแรมแต่ละแห่งมีปริมาณค่อนข้างมาก และหน่วยงานที่รับกำจัดกากไขมันที่เกิดขึ้นจากโรงแรมแต่ละแห่งนั้นไม่สามารถเก็บรวบรวมและกำจัดกากไขมันเหล่านี้ร่วมกับขยะมูลฝอยทั่วไปได้ เนื่องจากกากไขมันที่รวบรวมได้จากโรงแรมนั้นมีความชื้นสูง มีน้ำเสียปะปนอยู่ด้วย ทำให้เมื่อบีบอัดกากไขมันร่วมกับขยะมูลฝอยทั่วไปจึงเกิดน้ำเสียชะไหลออกมา ก่อให้เกิดความสกปรก และคราบไขมันเปื้อนถนน และพื้นที่สาธารณะ อีกทั้งยังก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนขณะทำการเก็บรวบรวมและการกำจัดอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โรงแรมแต่ละแห่งจำเป็นต้องดำเนินการจัดการกากไขมันที่เกิดขึ้นจากร้านอาหารในโรงแรมด้วยตนเอง โดยตักทิ้งกากไขมันออกจากบ่อดักไขมันเป็นระยะ เพื่อป้องกันการอุดตันท่อระบายน้ำ แล้วจึงนำไปกำจัดโดยการฝังกลบในพื้นที่ส่วนบุคคล ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นรบกวน เกิดการเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค

ในขณะที่โรงแรมบางแห่งได้จัดซื้อสารเคมีและสารชีวภาพมาเติมลงในน้ำเสียจากร้านอาหารของโรงแรม เนื่องจากมีความเข้าใจว่า เมื่อเติมสารดังกล่าวลงในน้ำเสียที่มีน้ำมันและไขมันปนเปื้อนอยู่แล้ว สารเคมีดังกล่าวจะสามารถช่วยกำจัดน้ำมันและไขมันออกจากน้ำได้ อย่างไรก็ตาม การเติมสารดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการทำให้น้ำมันและไขมันที่ปนอยู่ในน้ำเสียนั้นแตกตัว ไม่จับเป็นก้อนไขมัน สามารถละลายปะปนไปกับน้ำเสียที่ปล่อยออกไปสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางได้ ส่งผลให้ค่าความสกปรกของการปนเปื้อนน้ำเสียที่ต้องถูกบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุนี้ การแปรรูปกากไขมันให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงนับเป็นหนึ่งในทางเลือกของการจัดการกากไขมันที่เกิดขึ้นจากร้านอาหารของโรงแรมในพื้นที่เกาะสมุยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่าปัจจุบันนั้นการแปรรูปกากไขมันให้เป็นผลิตภัณฑ์และนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกาะสมุยยังมีจำนวนน้อย อีกทั้งการจัดการและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับกากไขมันจากร้านอาหารของโรงแรมอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากผู้ประกอบกิจการโรงแรม ชุมชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือในการจัดการกากไขมันตั้งแต่ที่แหล่งกำเนิด ไปจนถึงการกำจัดที่ถูกสุขลักษณะ จนทำให้การประกอบกิจการโรงแรมในพื้นที่เกาะสมุยเป็นการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ได้ต่อไป

โครงการต้นแบบการพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินจากกากไขมันของอุตสาหกรรมโรงแรม พื้นที่เกาะสมุย

• ที่มาของโครงการต้นแบบการพัฒนาปุ๋ยหมักจากกากไขมันของอุตสาหกรรมโรงแรม
โครงการ “การพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินที่แปรรูปจากกากไขมันจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ดำเนินการขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบกิจการโรงแรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการกากไขมันที่เกิดจากร้านอาหารของโรงแรม ดังนั้น กากไขมันที่นำมาศึกษาวิจัยในโครงการต้นแบบนี้จึงเป็นกากไขมันที่ได้จากการประกอบอาหารในห้องครัว ร้านอาหาร และร้านเบเกอรีของโรงแรม ซึ่งมักใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ไขมันพืช ไขมันสัตว์ เนย มาการีน และน้ำมันมะกอก เป็นต้น เป็นส่วนประกอบในการปรุงประกอบอาหาร

เมื่อโรงแรมดำเนินการตักกากไขมันที่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำออกจากบ่อดักไขมันแล้วพบว่า กากไขมันมักส่งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์รบกวนผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งหน่วยงานส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถรับกำจัดกากไขมันที่เกิดขึ้น ส่งผลให้โรงแรมแต่ละแห่งต้องจัดการกากไขมันเหล่านั้นด้วยตนเอง จนก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา 

โครงการต้นแบบเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาการจัดการกากไขมัน และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกากไขมันที่จัดเป็นของเสียของโรงแรม จึงได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการผลิตปุ๋ยหมักจากกากไขมันเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่โรงแรมแต่ละแห่งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดินและพันธุ์พืชในพื้นที่สีเขียวได้ เนื่องจากกระบวนการหมักปุ๋ยอินทรีย์นั้นจำเป็นต้องมีการหมักและบ่มกองปุ๋ยเป็นระยะ ๆ ตลอดระยะเวลาการหมักปุ๋ย และกากไขมันที่รวบรวมได้จากบ่อดักไขมันนั้นมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ จึงได้พัฒนา ถังหมักกากไขมัน” ต้นแบบขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและนวัตกรรมในการแปรรูปกากไขมันซึ่งเป็นของเสียจากโรงแรมให้เป็นปุ๋ยหมักที่สามารถใช้ปรับปรุงบำรุงดิน ลดระยะเวลาและจำนวนผู้ปฏิบัติงานในการกลับกองปุ๋ยหมัก และลดการเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์จากกากไขมันที่อาจรบกวนผู้ปฏิบัติงานและผู้พักอาศัยในโรงแรมได้ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการของเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงแรมนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) อย่างยั่งยืน

ข้อพิจารณาและแนวทางในการจัดทำ “ถังหมักกากไขมัน” เพื่อผลิตปุ๋ยหมัก ของโครงการต้นแบบ ประกอบด้วย

1) ความสามารถในการกักเก็บส่วนผสมของปุ๋ยหมัก ซึ่งประกอบด้วย กากไขมันและวัสดุผสม
2) ความสามารถในการรับน้ำหนักของส่วนผสมของปุ๋ยหมักได้อย่างน้อย 100 กิโลกรัม
3) ความสามารถในการคลุกเคล้าส่วนผสมของปุ๋ยหมักเป็นเนื้อเดียวกันได้
4) ความสามารถในการเก็บกักกลิ่นที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการหมักกากไขมัน
5) ความสามารถในการระบายน้ำที่เกิดจากกระบวนการหมักได้ และถ่ายเทอากาศจากภายนอกเข้าสู่ถังหมัก เพื่อป้องกันการเกิดกระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจน
6) ความสามารถในการทนการกัดกร่อนของสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของส่วนผสมของปุ๋ยหมัก
7) ความสะดวกในการติดตั้งและเคลื่อนย้าย และใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย
8) มีระบบการทำงานและการบำรุงรักษาไม่ซับซ้อน ผู้ปฏิบัติงานทั่วไปสามารถใช้งานได้
9) มีระบบการคลุกเคล้าส่วนผสมของปุ๋ยหมักสามารถทำงานได้ทั้งโดยระบบไฟฟ้า หรือการใช้แรงงานคน
10) อุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของถังหมักกากไขมันสามารถถูกเปลี่ยนทดแทนได้ง่ายเมื่อหมดอายุการใช้งาน
11) อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 12 เดือน
12) งบประมาณในการผลิตต่ำ

ผลการพิจารณาลักษณะของถังหมักกากไขมันดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับหลักวิชาการในการออกแบบถังต้นแบบ พร้อมกับรูปแบบและการวางตัวของถังหมัก จึงทำให้ทางโครงการได้จัดทำ “ถังหมักกากไขมันต้นแบบ” ที่ทำมาจากเหล็ก ปริมาตร 200 ลิตร (รูปที่ 3) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) มอเตอร์ 2) ใบครีบสำหรับการคลุกเคล้าส่วนผสมของปุ๋ยหมัก 3) ถังเหล็ก 200 ลิตร และ 4) พูเล่ย์สำหรับการทดรอบ

ถังหมักกากไขมันต้นแบบที่ได้จัดทำขึ้นนี้สามารถใช้งานได้ง่าย และมีความเหมาะสมกับการใช้แปรรูปกากไขมันให้เป็นปุ๋ยหมักในพื้นที่โรงแรม โดยคาดการณ์ว่าถังหมักกากไขมันที่ทำมาจากเหล็กและทาสีเคลือบกันสนิมไว้ด้านในจะสามารถใช้งานได้ประมาณ 6-8 เดือน ดังนั้นหากโรงแรมมีความประสงค์ต้องการเพิ่มอายุการใช้งานถังหมัก ก็อาจเปลี่ยนวัสดุสร้างถังหมักจากเหล็กเป็นถังแสตนเลสได้ ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานยาวนานกว่าอายุการใช้งานของถังเหล็ก (อายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี)

อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ที่ฝาถังหมักมีการใช้ผงถ่านเป็นสารดูดกลิ่นด้วย อายุการใช้งานของถังหมักต้นแบบยังขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการบำรุงรักษา นอกจากนั้นแล้วองค์ประกอบของอุปกรณ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของถังหมักกากไขมันนั้นยังสามารถถูกปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมและลักษณะการใช้งานของแต่ละโรงแรมอีกด้วย

• กระบวนการต้นแบบการแปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมักด้วยถังหมักต้นแบบ
โครงการ “การพัฒนาปุ๋ยปรับปรุงบำรุงดินที่แปรรูปจากกากไขมันจากโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อม เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ได้นำเสนอกระบวนการต้นแบบการแปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมักด้วยถังหมักต้นแบบให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม พื้นที่เกาะสมุย เพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นทดแทนการจัดการกากไขมันในรูปแบบเดิมที่ทางโรงแรมดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น การเก็บรวบรวมและหมักไว้ในบ่อเกรอะ การแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักโดยวิธีการกองปุ๋ยหมัก หรือการหมักในบ่อซีเมนต์ เป็นต้น (รูปที่ 4)


รูปที่ 3 ลักษณะและส่วนประกอบของถังหมักกากไขมันต้นแบบ


รูปที่ 4 (ก) วิธีการจัดการกากไขมันปัจจุบันของอุตสาหกรรมโรงแรมในเกาะสมุย และ (ข) ถังหมักกากไขมันต้นแบบเพื่อใช้แปรรูปกากไขมันเป็นปุ๋ยหมัก

สำหรับกระบวนการแปรรูปปุ๋ยหมักจากกากไขมันนั้น เนื่องจากกากไขมันนั้นเป็นสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก และอาจก่อให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์จากสารประกอบอินทรีย์ที่ระเหยได้ ก๊าซไข่เน่าและก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายกากไขมันในสภาวะไร้ออกซิเจนได้ โครงการต้นแบบจึงได้ดำเนินการปรับปรุงกากไขมันขั้นต้น โดยการเติมและคลุกเคล้ากากไขมันกับสารละลายกรดในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้กรดและออกซิเจนในอากาศแทรกเข้าไปในกากไขมัน ทำให้เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส เพื่อสลายโครงสร้างทางเคมีของกากไขมันให้เล็กลง จนสามารถถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์กลุ่มที่ใช้ออกซิเจนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และยังสามารถช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดจากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้ด้วย

โดยทางโครงการต้นแบบได้นำเสนอการใช้สารละลายกรดเพื่อสลายโครงสร้างทางเคมีของกากไขมัน ดังนี้

1) กรดฟอสฟอริก (H3PO4) ความเข้มข้น 1 โมลาร์ (Molarity) นอกจากจะช่วยสลายโครงสร้างกากไขมันแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มธาตุหลักประเภทฟอสฟอรัสให้แก่ปุ๋ยหมักอีกด้วย 

2) กรดไนตริก (HNO3) ความเข้มข้น 1 โมลาร์ (Molarity) นอกจากจะช่วยสลายโครงสร้างกากไขมันแล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มธาตุหลักประเภทไนโตรเจนให้แก่ปุ๋ยหมักอีกด้วย 

3) น้ำหมักชีวภาพ หรือน้ำหมัก EM โดยโครงการต้นแบบได้ทดลองใช้น้ำหนักชีวภาพจากสับปะรด ซี่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5 จึงสามารถช่วยสลายโครงสร้างกากไขมันได้

การสลายโครงสร้างทางเคมีของกากไขมันด้วยกรดต่าง ๆ นั้น ดำเนินการโดยผสมกากไขมันและกรดนาน 1 คืนก่อนเริ่มผสมและคลุกเคล้าวัสดุหมักต่าง ๆ เข้ากับกากไขมันที่ผ่านการปรับปรุงกากไขมันขั้นต้นแล้ว โดยกรดฟอสฟอริก และน้ำหมักชีวภาพ มีความเหมาะสมในการสลายโครงสร้างกรดไขมันต่างๆได้ดี

ในการนี้โครงการต้นแบบได้ดำเนินการปรับปรุงกากไขมันขั้นต้นด้วยสารละลายกรดฟอสฟอริก และน้ำหมักชีวภาพ แล้วจึงได้ดำเนินการผสมกากไขมันและวัสดุหมักต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่เกาะสมุยเข้าด้วยกัน ตามสูตรการหมักทั้งสิ้น 3 สูตร ดังสรุปในตารางที่ 2 แล้วใส่ลงในถังหมักกากไขมันต้นแบบ และหมักเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 60 วัน

ตารางที่ 2 ส่วนผสมของปุ๋ยหมักจากกากไขมัน

วัสดุผสม สูตรที่ 1 
(สูตรเมืองสมุยกรุ๊ป)
สูตรที่ 2 
(สูตรตามผลการทดลองในห้องปฏิบัติการ)
สูตรที่ 3 
(สูตรประยุกต์จากสูตรที่ 1 และ 2)
กากไขมัน (กิโลกรัม)    14 40 14
เศษวัชพืช (กิโลกรัม) 50   0 50
มูลสัตว์ (กิโลกรัม)  13  50  13
รำข้าว (กิโลกรัม)  0.3   0 0.3
ผงโดโลไมท์ (กิโลกรัม)    0.3 0 0.3
ขี้เลื่อย (กิโลกรัม) 0   10 0
น้ำหมัก (ลิตร)    7 0 7
น้ำเปล่า (ลิตร)    14 0 14
น้ำหนักรวม (หนัก) 100   100 100
กรดฟอสฟอริก (ลิตร)  0 40 14

 

ตลอดระยะเวลาการหมักกากไขมันให้เป็นปุ๋ยหมัก 60 วันนั้น ยังได้ดำเนินการควบคุมสภาวะการหมักอื่น ๆ พร้อมกันด้วย ดังนี้

1) ขนาดของวัสดุหมัก ควบคุมให้วัสดุผสมมีลักษณะทางกายภาพต่างจากกากไขมัน และมีขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว เพื่อทำให้อากาศสามารถถ่ายเทไปยังวัสดุหมักทั้งหมดได้

2) อุณหภูมิ ควบคุมให้อุณหภูมิกองปุ๋ยหมักในถังหมักต้นแบบสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส อุณภูมิที่สูงนี้จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืช ไข่และตัวอ่อนของแมลงวันที่อาจปะปนอยู่กับกากไขมัน และวัสดุผสมได้ เพื่อป้องกันการเกิดโรคพืชภายหลังจากที่นำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์