บทความ: มลสารไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเสียดิบและระบบบำบัดน้ำเสีย

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับสถานการณ์ของมลสารไมโครพลาสติกซึ่งเกิดจากการอุปโภคผลิตภัณฑ์หรือสารในเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ รวมไปถึงการปนเปื้อนเส้นใยสังเคราะห์จากสิ่งทอ ไมโครพลาสติกเป็นมลสารที่มีขนาดเล็ก ระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปไม่สามารถบำบัดมลสารดังกล่าวได้ทั้งหมด จึงมักมีการหลุดรอดจากกระบวนการบำบัดและไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ


การอ้างอิง: สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ, อาทิตย์ เพ็ชร์รักษ์, เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์, จงรักษ์ ผลประเสริฐ. (2562). มลสารไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเสียดิบและระบบบำบัดน้ำเสีย. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 1).


บทความ: มลสารไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเสียดิบและระบบบำบัดน้ำเสีย

สุทธิรัตน์ กิตติพงษ์วิเศษ 1, อาทิตย์ เพ็ชร์รักษ์ 2, เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ 3,*, จงรักษ์ ผลประเสริฐ 4
1 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
3 ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* E-mail: jenyuk.l@chula.ac.th


1. บทนำ
ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีการใช้พลาสติกเป็นสารตั้งต้นการผลิตในเกือบทุกสาขาและผลิตภัณฑ์ อาทิ บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้าง ขนส่งยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากข้อมูลรายงานสถิติการผลิตพลาสติกของประเทศพบว่าการใช้ประโยชน์พลาสติกเป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีสัดส่วนสูงสุดและเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมากที่สุด โดยสถาบันพลาสติกรายงานข้อมูลการใช้พลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2558 สูงถึง 2.048 ล้านตัน ในจำนวนนี้ประกอบด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทถุง 0.476 ล้านตัน การผลิตถาดโฟม 0.09 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น กล่อง ถ้วย 1.482 ล้านตัน ตามลำดับ โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าขยะพลาสติกเกิดขึ้นในประเทศทั้งสิ้นร้อยละ 12 ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน โดยตัวอย่างขยะพลาสติกที่พบส่วนใหญ่ในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ถุงพลาสติกประเภทถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้วที่ทำจากพลาสติกประเภท Polypropylene High-Density-Polyethylene และ Low-Density-Polyethylene  เป็นต้น

นอกเหนือจากขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมแล้วนั้น ปัจจุบัน มักพบการปนเปื้อนของขยะพลาสติกที่มีขนาดเล็กซึ่งเกิดจากการแตกตัว (disintegration) การหลุดลอกของเนื้อพลาสติกขนาดใหญ่โดยเฉพาะพลาสติกในกลุ่ม Oxo-biodegradable หรือ Oxo-fragmentable เช่นพลาสติกในกลุ่ม Polyethylene Polystyrene และ Polyvinyl chloride ซึ่งแตกตัวออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ รวมไปถึงขยะพลาสติกที่มีอนุภาคขนาดเล็กตั้งแต่เริ่มแรกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมลสารประเภทไมโครพลาสติกที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 5 มม. ซึ่งมักใช้เป็นสารตั้งต้นของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไมโครบีด (Microbeads) เม็ดบีดสครัป ของผลิตภัณฑ์หรือสารเติมแต่งในเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์พวกยาสีฟัน แชมพู ครีมขัดผิว ครีมโกนหนวด รวมไปถึงเส้นใยสังเคราะห์จากผลิตภัณฑ์สิ่งทอในแหล่งน้ำ แม่น้ำและทะเล โดยทั่วไปแล้ว ธรรมชาติของไมโครพลาสติกคือมีขนาดอนุภาคเล็ก เบาและลอยน้ำได้จึงมักหลุดรอดจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียและไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

นอกจากนี้ ยังเป็นสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม สะสมได้ในห่วงโซ่อาหารและมีความเป็นพิษ (Persistent bio-accumulative and toxic substances: PBTs) เนื่องจากอนุภาคดังกล่าวสามารถดูดซับมลสารชนิดอื่นที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำได้ อาทิ โลหะหนัก สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (Persistent organic pollutants: POPs) ไฮโดรคาร์บอนที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น Polychlorinated Biphenyls (PCBs) เป็นต้น ทั้งนี้ การรวมตัวกันของอนุภาคไมโครพลาสติกและมลสารที่มีความเป็นพิษส่งผลต่อคุณภาพน้ำแหล่งน้ำและห่วงโซ่อาหารอาจนำไปสู่ผลกระทบที่อาจมีต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคหรือสัมผัสมลสารเหล่านั้นที่พบในแหล่งน้ำ เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย การเปลี่ยนแปลงของยีนและระบบพันธุกรรม รวมไปถึงศักยภาพในการก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น ถึงแม้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญของการปนเปื้อนมลสารประเภทไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน หรือการซักผ้าที่มีเส้นใยพลาสติกเป็นองค์ประกอบ ล้วนแต่เป็นสาเหตุของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำเสียชุมชนซึ่งระบบบำบัดไม่สามารถกำจัดและบำบัดมลสารดังกล่าวได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยในต่างประเทศหลายแห่งได้ศึกษารวบรวมและประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับมลสารประเภทไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำเสียดิบและระบบบำบัดน้ำเสียดังต่อไปนี้ 

2. ชนิดและแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกที่พบปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
ไมโครพลาสติก หมายรวมถึง อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มม. มีแหล่งกำเนิดมาจากพลาสติกที่ใช้เป็นสารตั้งต้นที่ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตและสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น สารตั้งต้นประเภท Polyethylene  Polypropylene  Polystyrene (Fendall and Sewell, 2009) และ ไมโครพลาสติกที่ใช้เป็นสารตั้งต้นของผลิตภัณฑ์เวชสำอาง อาทิ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ชำระล้าง (Rinse-off cosmetic) รวมถึง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผลัดเซลล์ผิวหน้า ได้แก่ เม็ดบีดส์ (Microbeads/ scrubbers) ที่พบในโฟมล้างหน้า สบู่อาบน้ำ ยาสีฟัน แชมพูสระผม เป็นต้น โดยทั่วไปมักพบในรูปร่างทรงกลม ทรงรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน มักผลิตจากวัสดุพอลิเมอร์หรือพลาสติกชนิดต่างๆ ที่ไม่สามารถย่อยสลายทางธรรมชาติในระยะเวลาอันสั้นและยังหมายรวมถึงการย่อยสลายของขยะพลาสติกชิ้นใหญ่ ขยะที่มีเส้นใยหรือมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบเองอีกด้วย สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน สภาผู้แทนราษฎรของประเทศสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติพระราชบัญญัติว่าด้วยการปลอดเม็ดไมโครบีด ในแหล่งน้ำ (The Microbead Free Water Act 2015) โดยมีสาระสำคัญในการห้ามผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไมโครบีดดังกล่าวและมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 2017 สำหรับชนิดไมโครพลาสติกจำแนกตามธรรมชาติของอนุภาคและแหล่งกำเนิดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

Primary microplastic หมายถึง ไมโครพลาสติกที่มีการผลิตเป็นพลาสติกขนาดเล็กมาตั้งแต่ต้น เช่นเม็ดพลาสติกที่นำมาใช้เป็นวัสดุตั้งต้นของการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น พลาสติกเอทิลีนโพรพิลีน โพลี   สไตรีน เป็นต้น หรือไมโครบีดที่ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ โดยมากพบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกดังกล่าวจากการทิ้งของเสียโดยตรงจากบ้านเรือนลงสู่แหล่งน้ำเสียชุมชน 

Secondary microplastic หมายถึง ไมโครพลาสติกที่เกิดจากพลาสติกขนาดใหญ่ซึ่งสะสมในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน เกิดการย่อยสลาย แตกหักกลายเป็นอนุภาคหรือชิ้นส่วนขนาดเล็กในสิ่งแวดล้อม 

3. การเคลื่อนที่ของมลสารไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ
การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำมักเกิดจากกิจกรรมการอุปโภคผลิตภัณฑ์หรือเวชสำอางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อมีการใช้ผลิตภัณฑ์หนึ่งครั้งจะก่อให้เกิดการปล่อยไมโครพลาสติกหรือเม็ด ไมโครบีดส์ลงสู่ท่อระบายน้ำประมาณ 4,594-95,000 เม็ด และพบการปนเปื้อนในแหล่งน้ำเสียชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ทั้งนี้ มีการคาดการณ์อัตราการทิ้งของเสียประเภทไมโครพลาสติกลงสู่แหล่งน้ำประมาณ 40.5-215 มก.ต่อคน·วัน หรือ 16-86 ตันต่อปี (Napper, 2015) โดยเส้นทางการเคลื่อนที่ของมลสารในแหล่งน้ำมักผ่านเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน และเนื่องจากอนุภาคของไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กและเบาจึงมักลอดผ่านกระบวนการบำบัดในขั้นต่าง ๆ และปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติในที่สุด ส่วนอนุภาคของไมโครพลาสติกส่วนหนึ่งที่มีไบโอฟิล์มมาเกาะบนพื้นผิวในขณะที่เคลื่อนที่ในระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและสามารถตกตะกอนลงได้ อนุภาคส่วนนี้จะสะสมในรูปแบบของสลัดจ์

โดยงานวิจัยของ Ziajahrom et al. (2017) ได้ศึกษาไมโครพลาสติกในน้ำที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียของเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 3 แห่ง ได้แก่ 1) WWTP (A): น้ำผ่านการบำบัดด้วยการบำบัดขั้นต้น 2) WWTP (B): น้ำผ่านการบำบัดขั้นต้นและขั้นที่สอง และ 3) WWTP (C): น้ำผ่านการบำบัดขั้นต้น ขั้นที่สาม และ ระบบ RO จากนั้นจึงเตรียมตัวอย่างสำหรับจำแนกคุณลักษณะของอนุภาค (Characterization) ด้วยกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด (Fourier transform infrared spectroscopy (FTIR) ผลการศึกษาตรวจพบไมโครพลาสติกชนิด Polyethylene terephthalate แบบ Fibers และ Polyethylene แบบ Irregular shape ในสัดส่วนสูงที่สุด โดยแหล่งกำเนิดของไมโครพลาสติกดังกล่าวอาจจะเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ เช่น ยาสีฟัน แชมพู รวมไปถึงการทำความสะอาด ซักล้างเสื้อผ้าที่มีเส้นใยพลาสติกเป็นองค์ประกอบ 

ทั้งนี้ ตัวอย่างน้ำที่เก็บจาก WWTP (A) พบไมโครพลาสติกชนิด Polyethylene terephthalate แบบ Fibers สูงที่สุด (80%) รองลงมาคือ ไมโครพลาสติกชนิด Polyethylene ในกลุ่มสีน้ำเงิน (20%) โดยขนาดอนุภาคที่พบอยู่ในช่วง 25-500 ไมโครเมตร (มคม.) ส่วนตัวอย่างน้ำที่เก็บจาก WWTP (B) พบ Polyethylene terephthalate (35%) Nylon (blue and red) (28%) Polyethylene (23%) Polypropylene  (10%) และ Polystyrene (4%) สำหรับ Polyethylene ที่ตรวจพบส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมคล้ายไมโครบีดส์ที่พบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเวชภัณฑ์

นอกจากนี้ ผลศึกษาพบว่าความเข้มข้นของไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นที่สองมีค่าลดลงประมาณ 66% เมื่อเทียบกับตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นแรก โดยคาดการณ์ว่า WWTP (B) จะมีการปล่อยน้ำเสียที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนลงมหาสมุทรประมาณ 8.16 x 106 หน่วยต่อวัน ส่วนผลการศึกษาตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัดขั้นต้น ขั้นที่สาม และ  ระบบ RO ใน WWTP (C) พบ Polyethylene terephthalate แบบ Fibers มากที่สุดเมื่อเทียบกับไมโครพลาสติกชนิดอื่น โดยตรวจพบในระบบบำบัดขั้น ที่สาม (65% ของไมโครพลาสติกที่พบ) และระบบ RO (88% ของไมโครพลาสติกที่พบ) ตามลำดับ 
จากที่กล่าวมาข้างต้นเนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากและมีความเบาทำให้อนุภาคดังกล่าวมีการแพร่กระจายในระยะทางไกล (Long-range transport) ในแหล่งน้ำ หากแต่ กระบวนการติดตาม ตรวจวัดและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของมลสารดังกล่าวจึงมีความจำกัด ทั้งนี้ งานวิจัยหลายชิ้นตรวจพบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรปและอเมริกา ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 รายงานข้อมูลการตรวจพบไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำธรรมชาติ จำแนกตามแหล่งที่พบและขนาดของอนุภาค

แหล่งน้ำ/ภูมิภาคที่ตรวจพบ     ขนาดอนุภาค/ตัวอย่างที่พบ อ้างอิง
Lake Hovsgol, ประเทศมองโกเลีย
: เอเชีย
0.355-0.999 มม., 1.00
-4.749 มม., >4.75 มม.
Sampling mesh: 333 มคม.
Free et al., 2014
Lake Geneva
: ยุโรป
<2 มม., <5 มม. (ตะกอนดิน)
<5 มม., >5 มม. (น้ำ)
Sampling mesh: 300 มคม.
Faure et al., 2012
Lake Garda, ประเทศอิตาลี
: ยุโรป
9-500 มคม., 500 มคม. - 1 มม., 
1-5 มม., >5 มม.
Imhof et al., 2013
Danube river, ประเทศออสเตรีย
: ยุโรป
<2 มม., 2-20 มม.
Sampling mesh: 500 มคม.
Lechner et al., 2014
Tamar estuary, ประเทศอังกฤษ
: ยุโรป
1 มม., 1-3 มม., 3-5 มม., >5 มม. 
Sampling mesh: 300 มคม.
Sadri and Thompson, 2014
Lakes Superior, Huron, and Erie,
ประเทศแคนาดา อเมริกา
: อเมริกา
0.355-0.999 มม., 1.00-4.749 มม., >4.75 มม. 
Sampling mesh: 333 มคม.
Eriksen et al., 2013

 

การสะสมของไมโครพลาสติกย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศวิทยาและแหล่งน้ำ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายของมลสาร และการย่อยสลายของไมโครพลาสติกเองทำให้อนุภาคมีขนาดเล็กลงทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากขึ้นและเพิ่มโอกาสในการดูดซับมลสารชนิดอื่นที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำได้มากขึ้น อีกทั้ง ไมโครพลาสติกยังมีคุณสมบัติแบบ Hydrophobic จึงดูดซับสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้ดี หรืออาจกล่าวได้ว่า ไมโครพลาสติกขนาดเล็กดังกล่าวมักทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสะสมและเคลื่อนย้ายสารพิษชนิดอื่นที่ปนเปื้อนในระบบบำบัดน้ำเสีย เช่น กลุ่มสารอินทรีย์ที่มีการตกค้างยาวนาน ได้แก่ Aldrin, Chlordane, DDT, Dieldrin, Heptachlor, Mirex และ Toxaphene ที่มักพบในกลุ่มยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืช หรือ  สารในกลุ่ม Hexachlorobenzene และ Polychlorinated biphenyls ซึ่งมักพบในสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม เป็นต้น 

สารดังกล่าวมีความเป็นพิษและปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและน้ำเสียได้หลายทางทั้งจากท่อระบายน้ำทิ้งครัวเรือน ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงระบบกำจัดกากและหลุมฝังกลบ เป็นต้น และถึงแม้ผลกระทบดังกล่าวกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ หากแต่ประเทศไทยยังขาดการตรวจสอบ ติดตามและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของมลสารดังกล่าว รวมไปถึงการศึกษาและพัฒนางานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปนเปื้อนจริงได้ 

4. การตรวจวัดมลสารไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสีย 
สถานการณ์และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียส่วนใหญ่เริ่มมีการศึกษาอย่างแพร่หลายในต่างประเทศอยู่บ้างโดยเป็นการตรวจวิเคราะห์ จำแนกคุณลักษณะ รวมไปถึงระบุแหล่งกำเนิดของไมโครพลาสติกที่ตรวจพบได้ เป็นต้น เนื่องจากฐานข้อมูลวิจัยของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด และวิธีการและมาตรฐานที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ (Analytical methods) ยังไม่มีการกำหนดแน่ชัดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รูปภาพที่ 1 แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสีย และพิจารณาตามชนิดและสัดส่วนไมโครพลาสติกที่พบในแหล่งน้ำเสียแล้วพบว่า ไมโครพลาสติกแบบ Fiber มีอยู่มากในระบบบำบัดน้ำเสียหลายแห่ง และรองลงมาคือ แบบ Fragment (San Francisco Estuary Institute, 2015)

เช่นเดียวกับผลงานวิจัยของ Mason et al. (2016) ซึ่งทำการศึกษาสถานการณ์ไมโครพลาสติกในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเก็บตัวอย่างน้ำทั้งสิ้น 90 ตัวอย่างจากระบบบำบัดน้ำเสีย 17 แห่ง ผลศึกษาตรวจพบไมโครพลาสติกในรูปแบบ Fibers สูงที่สุด (ร้อยละ 59) รองลงมาคือ แบบ Fragment (33%) พบบางส่วนในรูปแบบ Film (5%) แบบ Foam (2%) และ แบบ Pellet (1%) ขนาดของอนุภาคในภาพรวมมีขนาดเล็ก (0.125–0.355 มม.) ตัวอย่างผลการศึกษาวิจัยในช่วงเวลาที่ผ่านมาสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

รูปภาพที่ 1 เส้นทางการเคลื่อนที่และสัดส่วนไมโครพลาสติกที่พบในน้ำเสีย จำแนกตามชนิดและประเภทมลสาร
ที่มา: Mason et al. (2016), San Francisco Estuary Institute (2015), Cosmeticsinfo (2017)

Estahbanati et al. (2016) ได้ศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน 4 แห่งในเมืองนิวเจอร์ซีย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจำแนกไมโครพลาส ติกออกเป็นกลุ่ม Primary และ Secondary microplastic ตามโครงสร้างและลักษณะของอนุภาคที่สังเกตได้ ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างน้ำเสียที่เก็บจากระบบบำบัดตรวจพบมลสารในกลุ่ม Secondary microplastic ในปริมาณที่มากกว่า Primary microplastic โดยเฉพาะอนุภาคขนาด 125, 250 และ 500 มคม. ขณะเดียวกัน ความเข้มข้นของมลสารในกลุ่ม Primary microplastic ที่พบในตัวอย่างที่เก็บจากปลายน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับตัวอย่างจากต้นน้ำ 

Talvitie al. (2015) รายงานว่าระบบบำบัดน้ำเสียอาจเป็นเส้นทางหนึ่งที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำทะเล ผลศึกษาตรวจพบไมโครพลาสติกแบบ Fiber และ Particle ทั้งในตัวอย่างน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดขั้นที่สามและตัวอย่างน้ำทะเลในประเทศฟินแลนด์ โดยไมโครพลาสติกแบบ Fiber ส่วนใหญ่ถูกกำจัดในถังตกตะกอนขั้นต้น ขณะที่ไมโครพลาสติกแบบ Particle ส่วนใหญ่ตกตะกอนในถังตกตะกอนขั้นที่สอง และผลการวิเคราะห์ตัวอย่างไมโคร พลาสติกในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดตรวจพบพลาสติกแบบ Fiber 4.9 (±1.4) หน่วยต่อลิตร และแบบ Particle 8.6 (±2.5) หน่วยต่อลิตร ตามลำดับ

Dyachenko et al. (2016) ทำการศึกษามลสารประเภทไมโครพลาสติกที่พบในตัวอย่างน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากระบบบำบัดขั้นที่สองและระบุชนิดของไมโครพลาสติก โดยเก็บตัวอย่างน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบผสมรวมแล้วกรองด้วยตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เพื่อคัดขนาดอนุภาคตัวอย่าง ได้แก่ 0.125 0.355 1 และ 5 มม. จากนั้น จึงวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยวิธีการสกัดอ้างอิงตาม National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) Protocol จากนั้นจึงจำแนกลักษณะอนุภาคด้วย FTIR ผลการวิเคราะห์ตรวจพบไมโครพลาสติกจำพวก Polyacrylate, Poly(octadecyl methacrylate) โดยตัวอย่างที่พบส่วนมากมีสีดำและพบอนุภาคอยู่ในช่วง 0.125-0.355 มม. นอกจากนี้ ยังตรวจพบไมโครพลาสติกประเภท Poly(styrene-isoprene) Polyamide Polyacrylonitrile และ Poly(vinyl acetate) ในตัวอย่างที่ทำการศึกษาอีกด้วย 

Thompson (2004) ตรวจพบ Secondary microplastic ในตัวอย่างน้ำและตะกอนที่เก็บจากปากแม่น้ำในเมือง Plymouth ประเทศอังกฤษ ทั้งสิ้น 9 ชนิด ได้แก่ Acrylic, Alkyd, Poly (ethylene: propylene), Polyamide (Nylon), Polyester, Polyethylene, Polymethylacrylate, Polypropylene, และ Polyvinyl-alcohol

Leslie et al. (2017) ได้ทำการตรวจวัดและวิเคราะห์ความเข้มข้นของไมโครพลาสติกที่พบในน้ำเสียและกากตะกอนในระบบน้ำเสียทั้ง 7 แห่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ ส่วนใหญ่พบอนุภาคไมโครพลาสติก 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบ Fiber แบบ Sphere และแบบ Foil ทั้งนี้ พบอนุภาคแบบ Fiber มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอนุภาคชนิดอื่น 

Magnusson & Norén (2014) ได้ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียแห่งหนึ่งในเมือง Lysekil ของประเทศสวีเดนที่มีการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเลและสังเกตเส้นทางการเคลื่อนที่ของมลสารในแหล่งน้ำนั้น โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำก่อนการบำบัด กากตะกอน และตัวอย่างน้ำที่ผ่านการบำบัด ผลการศึกษาตรวจพบปริมาณไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำก่อนการบำบัดสูงถึง 1,500 หน่วยต่อ ลบ.ม. ในขณะที่พบไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำหลังการบำบัด 8 หน่วยต่อ ลบ.ม. โดยตรวจพบอนุภาคแบบ Fiber มากที่สุด รองลงมาคือ แบบ Fragment และ แบบ Flake ตามลำดับ และพบว่าระบบบำบัดน้ำเสียในการศึกษากำจัดไมโครพลาสติกได้ถึง 99.9% นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์จาก FTIR ทำให้ทราบถึงสีและชนิดของไมโครพลาสติก เช่น ตัวอย่างน้ำก่อนการบำบัดพบไมโครพลาสติกสีแดงและขาวจำพวก Thermoset plastic / Aliphatic polyester resin ขณะที่ตัวอย่างน้ำหลังการบำบัดพบไมโครพลาสติกสีน้ำเงิน สีขาวและพลาสติกกึ่งโปร่งแสงจำพวก Polyethene และ Polypropene เป็นต้น 

Carr et al. (2016) ศึกษารูปแบบการเคลื่อนที่ของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน ผลการศึกษาพบว่าไมโครพลาสติกส่วนใหญ่ถูกกำจัดในกระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นต้น โดยเฉพาะขั้นตอนการตักกวาด (Skimming) การตกตะกอน (Sludge settling process) ส่วนมากพบไมโครพลาสติกสีน้ำเงินจำพวก Polyethylene ใน Primary skimmer และกระบวนการบำบัดขั้นที่สองซึ่งมีประสิทธิภาพการบำบัดมลสารดังกล่าวสูงถึง 99.9% โดยผลวิเคราะห์ปริมาณไมโครพลาสติกที่ตรวจพบในแต่ละกระบวนการบำบัดน้ำเสียแสดงดังตารางที่ 2 

ตารางที่ 2 ผลวิเคราะห์มลสารไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำเสียที่ตรวจพบในแต่ละขั้นตอนการบำบัด (Carr et al., 2016)

ตำแหน่ง ปริมาณตัวอย่าง ปริมาณไมโครพลาสติก ประมาณการณ์ไมโครพลาสติกต่อวัน
Grit 2.1 ก. 1 7.78 x 106
1st Skimming 5 ก. 20 -
2nd Skimming 5 ก. - -
Centrate thickening system (CTS) influent  100 มล. 51 -
Thickened centrate 100 มล. 267 -
Biosolids 5 ก. 5 1.09 x 109
Final effluent 4.23 x 105 ลิตร 373 0.93 x 106
Grit + biosolids + final effluent - - 1.10 x 109 ต่อวัน
Grit + biosolids - - 1.10 x 109 ต่อวัน (99.9% removal by the plant)
Influent - - 1 หน่วยต่อลิตร

 

5. บทสรุปและอภิปราย
แม้ว่าประเด็นมลสารไมโครพลาสติกกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใหม่และมีความท้าทายในเชิงวิศวกรรมและการจัดการ อย่างไรก็ดี การรวบรวมฐานข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับไมโครพลาสติกภายในประเทศ โดยเฉพาะการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การปนเปื้อนมลสารประเภท ไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนและเทคโนโลยีการบำบัดที่เกี่ยวข้องยังมีอยู่จำกัด

ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นและปริมาณไมโครพลาสติก การจำแนกลักษณะทางกายภาพและเคมีของมลสารประเภทไมโครพลาสติกที่พบในแหล่งน้ำเสียดิบ การเคลื่อนย้ายของมลสารในแต่ละขั้นตอนการบำบัดของระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์ผลกระทบของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อมลสารประเภทไมโครพลาสติกที่พบในแหล่งน้ำเสียดิบและระบบบำบัดน้ำเสียจึงเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญในการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงเทคนิคและนโยบายแก่หน่วยงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังและปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปนเปื้อนไมโครพลาสติก รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาที่เกี่ยวข้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาที่สัมพันธ์กับข้อมูลทางอุทกวิทยา (Meteorological and hydrological data) อย่างเหมาะสมและครอบคลุมทุกมิติ

กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2561 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการวิจัยภายใต้แผนบูรณาการวิจัย นวัตกรรม ยุทธศาสตร์การวิจัยเป้าหมายที่ 2 ยุทธศาสตร์ชาติ ที่สนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและบทความวิชาการนี้ 


เอกสารอ้างอิง
Carr, S. A., Liu, J., & Tesoro, A. G. (2016). Transport and fate of microplastic particles in wastewater treatment plants. Water Res, 91, 174–182. https://doi.org/10.1016/j.watres.2016.01.002
Cosmeticsinfo. (2017). Understanding Microplastic Litter. Retrieved from http://www.cosmeticsinfo.org/microplastic. 
Dyachenko, A., Mitchell, J., & Arsem, N. (2017). Extraction and identification of microplastic particles from secondary wastewater treatment plant (WWTP) effluent. Anal Method,. 9(9), 1412–1418.
Eriksen, M., Mason, S., Wilson, S., Box, C., Zellers, A., Edwards, W., Farley, H., Amato, S. (2013). Microplastic pollution in the surface waters of the Laurentian Great Lakes. Mar Pollut Bull, 77, 177-182.
Estahbanati, S., & Fahrenfeld, N. L. (2016). Influence of wastewater treatment plant discharges on microplastic concentrations in surface water. Chem, 162, 277–284. https://doi.org/10.1016/j.chemosphere.2016.07.083 
Faure, F., Corbaz, M., Baecher, H., de Alencastro, L. (2012). Pollution due to plastics and microplastics in Lake Geneva and in the Mediterranean Sea. Arch Des Sci, 65, 157-164.
Free, C.M., Jensen, O.P., Mason, S.A., Eriksen, M.,Williamson, N.J., Boldgiv, B. (2014). High-levels of microplastic pollution in a large, remote, mountain lake. Mar Pollut Bull, 85 (1), 156-163.
Imhof, H.K., Ivleva, N.P., Schmid, J., Niessner, R., Laforsch, C. (2013). Contamination of beach sediments of a subalpine lake with microplastic particles. Curr Biol, 23 (19), R867-R868.
Lechner, A., Keckeis, H., Lamesberger-Loisl, F., Zens, B., Krusch, R., Tritthart, M., Glas, M., Schludermann, E. (2014) The Danube so colourful: a potpourii of plastic litter outnumbers fish larvae in Europe's second largest river. Environ. Pollut. 188, 177-181.
Leslie, H. A., Brandsma, S. H., van Velzen, M. J. M., & Vethaak, A. D. (2017). Microplastics en route: Field measurements in the Dutch river delta and Amsterdam canals, wastewater treatment plants, North Sea sediments and biota. Environment International, 101, 133–142. https://doi.org/10.1016/j.envint.2017.01.018
Magnusson, K., & Norén, F. (2014). Screening of microplastic particles in and down-stream a wastewater treatment plant. IVL Swedish Environmental Research Institute. C 55, 22. https://doi.org/naturvardsverket-2226
Mason, S. A., Garneau, D., Sutton, R., Chu, Y., Ehmann, K., Barnes, J., Rogers, D. L. (2016). Microplastic pollution is widely detected in US municipal wastewater treatment plant effluent. Environ Pollut, 218, 1045–1054. https://doi.org/10.1016/j.envpol.2016.08.056
Napper, I. E., Bakir, A., Rowland, S. J., & Thompson, R. C. (2015). Characterisation, quantity and sorptive properties of microplastics extracted from cosmetics. Mar Pollut Bull, 99(1–2), 178–185. https://doi.org/10.1016/j.marpolbul.2015.07.029
Sadri, S.S., Thompson, R.C. (2014). On the quantity and composition of floating plastic debris entering and leaving the Tamar Estuary, Southwest England. Mar Pollut Bull, 81 (1), 55-60.
San Francisco Estuary Institute (2015). Microplastic Contamination in San Francisco Bay - Fact Sheet. Retrieved from http://www.sfei.org/sites/default/files/biblio_files/MicroplasticFacts.pdf
Talvitie, J., Heinonen, M., Pääkkönen, J. P., Vahtera, E., Mikola, A., Setälä, O., & Vahala, R. (2015). Do wastewater treatment plants act as a potential point source of microplastics? Preliminary study in the coastal Gulf of Finland, Baltic Sea. Water Sci Technol, 72(9), 1495–1504. https://doi.org/10.2166/wst.2015.36011.
Thompson, R. C. (2004). Lost at Sea: Where Is All the Plastic? Science, 304(5672), 838–838. https://doi.org/10.1126/science.1094559
Ziajahromi, S., Neale, P.A., Rintoul, L., Leusch, F.D.L. (2017). Wastewater treatment plants as a pathway for microplastics: Development of a new approach to sample wastewater-based microplastics. Water Res, 112, 93-99.


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์