บทความ: จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์” หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”

บทคัดย่อ

บทความว่าด้วยเรื่องของเฮมพ์ ตั้งแต่ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ขั้นตอนกระบวนการขออนุญาตของผู้ขอรับใบอนุญาตเพื่อการผลิตสำหรับการทำวิจัย รวมถึงสถานที่ที่มีการดำเนินการปลูกเฮมพ์ในปัจจุบัน การจำแนกเฮมพ์ออกจากกัญชา และการนำเฮมพ์ไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ


การอ้างอิง: มนทิรา สุขเจริญ และ พันธวัศ สัมพันธ์พานิช. (2562). จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์” หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 3).


บทความ: จุดเริ่มต้นว่าด้วยเรื่องของ “เฮมพ์” หรือ “กัญชง” ที่ไม่ใช่ “กัญชา”

มนทิรา สุขเจริญ และ พันธวัศ สัมพันธ์พานิช
หน่วยปฏิบัติการวิจัย “การจัดการเหมืองสีเขียว” 
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เริ่มด้วยเรื่องของ “เฮมพ์”
จากสถานการณ์ในเรื่องของตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพืชที่จัดเป็นประเภทยาเสพติด ที่ประชาชนนั้นไม่สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างเสรี หากมีการผลิตหรือปลูกโดยไม่ได้รับการขออนุญาตแล้ว จะถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ต้องได้รับการลงโทษถึงการกระทำดังกล่าวตามกฎหมาย จึงได้ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นร้อนที่มีการกล่าวถึงกันมากในภาพข่าวทางโทรทัศน์ และสื่อในสังคมโซเชียลในหลากหลายประเด็น ดังนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ มิติ และนำมาซึ่งการนำพืชที่ถูกระบุว่าเป็นประเภทยาเสพติดนั้นมาประยุกต์ และใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ไม่เฉพาะวงการแพทย์เท่านั้น ดังนั้นจุดเริ่มต้นจึงเป็นการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ว่าด้วยเรื่องของเฮมพ์ หรือกัญชง ขั้นตอนกระบวนการขออนุญาตของผู้ขอรับใบอนุญาตเพื่อการผลิตสำหรับการทำวิจัย และอื่น ๆ

โดยทั่วไปประชาชนส่วนมากจะรู้จักพืชที่เรียกว่า “กัญชา” หรือมารีฮวนนา (Marijuana) ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis indica Lam. ในขณะที่มีพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกัญชา นั่นคือ “กัญชง” หรือที่บางคนมีความเข้าใจว่า กัญชง คือ น้องของกัญชา ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนของพืชทั้งสองชนิดนี้ ในทางกฎหมายจึงได้มีการระบุหรือให้เรียก “กัญชง” ว่า “เฮมพ์ (Hemp)” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ปี พ.ศ. 2522

กัญชาและเฮมพ์เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Cannabaceae และเป็นพืชดั้งเดิมที่มีการปลูกเพื่อใช้เส้นใยมานับพันปีในเอเชียและตะวันออกกลาง และสันนิษฐานว่า มีการกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนกลางของทวีป ได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เซีย ทางตอนเหนือของแคว้นแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย และบริเวณเชิงเขาหิมาลัย ประเทศจีน ก่อนจะกระจายไปในที่ต่าง ๆ (ประภัสสร ทิพย์รัตน์, 2562) พืชกลุ่ม Cannabis มีการจัดจำแนกขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1753 โดย Carl Linnaeus นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดนที่คิดค้นการจำแนกชื่อของสิ่งมีชีวิตด้วยระบบที่ทันสมัย และสามารถแบ่งพืชกลุ่ม Cannabis ออกเป็นสามสายพันธุ์ ได้แก่ 1) สายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย โดยมีลำต้นที่ยาว และแตกกิ่งก้านเล็กน้อย 2) สายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ดที่สามารถรับประทานได้ทั้งดิบหรือสกัดน้ำมันมาใช้ และ 3) สายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคหรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ (Wikipedia, 2019; Cannabis.info, 2019)

ปัจจุบันประเทศไทยจัด “เฮมพ์และกัญชา” เป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 การผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เนื่องจากทั้ง “กัญชาและเฮมพ์” มีต้นกำเนิดมาจากพืชชนิดเดียวกัน

ในหลายประเทศสามารถปลูก “เฮมพ์” ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากแต่ต้องควบคุมให้มีสารเสพติด คือ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) อยู่ในปริมาณที่กำหนด เช่น ในประเทศแคนาดากำหนดให้มีสารเสพติด THC ในเฮมพ์ไม่เกินร้อยละ 0.3 ส่วนประเทศทางยุโรปกำหนดให้มีไม่เกินร้อยละ 0.2 ประเทศออสเตรเลียกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 0.5-1 สำหรับประเทศไทยกำหนดให้ไม่เกินร้อยละ 1.0 หากในอนาคตมีการส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปลูกเฮมพ์ได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้วนั้น การจำแนก “เฮมพ์” ออกจาก “กัญชา” จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

จากอดีตสู่ปัจจุบัน
ที่ผ่านมาได้มีการรายงานและยืนยันถึงประโยชน์ในหลากหลายด้านของเฮมพ์มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ให้มีการขออนุญาตปลูกเฮมพ์นี้ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกเฮมพ์ และนำไปใช้ประโยชน์ด้านเส้นใยทอผ้า ทั้งในระดับครัวเรือน และอุตสาหกรรม โดยในช่วงทดลองได้จำกัดเขตทดลองปลูกใน 6 จังหวัด 15 อำเภอ ประกอบด้วย 1) จังหวัดเชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่วาง อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง และอำเภอแม่แจ่ม 2) จังหวัดเชียงราย 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทิง อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอแม่สาย 3) จังหวัดน่าน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข และอำเภอสองแคว 4) จังหวัดตาก 1 อำเภอ คือ อำเภอพบพระ 5) จังหวัดเพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหล่มเก่า และอำเภอเขาค้อ และ 6) จังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 อำเภอ คือ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นช่วงของการทดลองปลูก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกเฮมพ์ในทุก ๆ พื้นที่ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร หากแต่จำเป็นต้องมีการยื่นคำร้องขออนุญาตปลูกเฮมพ์ในพื้นที่นั้น ๆ และผู้ที่ได้รับอนุญาตจะต้องมีแผนการผลิต แผนการจำหน่าย และการนำไปใช้ประโยชน์ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุญาต รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่จะนำมาปลูก และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์เฉพาะตามที่ได้รับอนุญาต ประกอบกับปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีการเตรียมการส่งเสริม และยกระดับเฮมพ์ให้เป็นพืชเศรษฐกิจ ด้วยการนำเส้นใยมาใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ผลิตเสื้อผ้า และกระเป๋า เป็นต้น ทั้งนี้ทุกขั้นตอนยังคงมีการควบคุมจากภาครัฐ รวมทั้งการตรวจวัดปริมาณสาร THC ของเฮมพ์ที่ปลูกต้องไม่เกิน ร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเฮมพ์ไปใช้ในทางที่ผิด (สุรัติวดี ภาคอุทัย และ กนกวรรณ ศรีงาม, 2551) 

ในประเทศไทย ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทางภาคเหนือมีการใช้เส้นใยจากลำต้นของต้นกัญชาเพศผู้ หรือเรียกว่า “กัญชง” กันมานาน โดยใช้เส้นใยจากลำต้นของเฮมพ์ที่ออกดอกใหม่ มีอายุระหว่าง 3-4 เดือน เนื่องจากเป็นช่วงที่เส้นใยของเฮมพ์มีความเหนียว เบา และเป็นสีขาวเหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้า จากการศึกษาพบว่า เส้นใยเฮมพ์เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่น แข็งแรง และทนทาน สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์จากเส้นใยได้มากมาย เช่น ผ้า และกระดาษได้ดี ซึ่งมีคุณภาพดีกว่าเส้นใยจากฝ้าย และลินิน

เมื่อเปรียบเทียบปริมาณเส้นใยจากการปลูกเฮมพ์กับการปลูกฝ้าย เฮมพ์ให้ผลผลิตมากกว่าฝ้าย 2-3 เท่า เส้นใยเฮมพ์จึงเริ่มมีบทบาทสำคัญในตลาดเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมเส้นใยเฮมพ์ และอุตสาหกรรมอาหารจากเฮมพ์เจริญเติบโตรวดเร็วมาก และนอกเหนือจากเส้นใยแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของเฮมพ์ เช่น น้ำมันจากเมล็ดเฮมพ์ (Hemp seed oil) ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทำเป็นอาหารเสริม และเครื่องสำอาง ได้อีกด้วย (สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก, 2559)

เฮมพ์ แม้ว่าเป็นพืชตระกูลเดียวกับกัญชา ซึ่งเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง แต่เฮมพ์หรือกัญชงนั้นเป็นที่ยอมรับในวงการสิ่งทอว่า เฮมพ์มีเส้นใยที่มีคุณภาพสูง และกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ให้พิจารณาข้อดีของเฮมพ์ ตัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป สามารถส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ได้ ดังนั้นมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดตั้งคณะทำงานวิจัยและพัฒนาการปลูก และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โดยนำร่องในพื้นที่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ถือเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เนื่องจากชาวไทยภูเขาเผ่าม้งมีการปลูกเฮมพ์เพื่อใช้สอยในครัวเรือนกันอย่างแพร่หลายตามวิถีชีวิตดั้งเดิม

กระทั่งในปี พ.ศ. 2553 ผลการวิจัยก็สามารถได้พันธุ์เฮมพ์ท้องถิ่น และนำไปพัฒนาให้มีปริมาณสารเสพติดต่ำ เพื่อนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก และในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา ได้มีการขออนุญาตกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อปลูกเฮมพ์ตามระบบควบคุม โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีสารเสพติดต่ำ และเริ่มส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ในพื้นที่ 97 ไร่ ของ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เพื่อขายต้นเฮมพ์สดให้กับภาคเอกชน นำไปพัฒนารูปแบบสินค้าในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก

และในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อตั้งเป็น “สหกรณ์ผู้ปลูกเฮมพ์อำเภอพบพระ จังหวัดตาก” รองรับการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ ที่มีแนวโน้มการเติบโตทางตลาดมากขึ้น โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้สนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแม่หม่อ แซ่หว่าง เป็นประธานสหกรณ์ผู้ปลูกเฮมพ์พบพระ จำกัด และดูแลอยู่ขณะนี้ นอกจากนี้ทางผู้ปลูกเฮมพ์อำเภอพบพระ ยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ที่ผลิตจากเส้นใยเฮมพ์ 100 เปอร์เซ็น

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้เริ่มศึกษาวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยในช่วงแรกให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาข้อมูลพื้นฐานของเฮมพ์โดยเฉพาะการมุ่งคัดเลือกพันธุ์เฮมพ์ให้มีสาร THC หรือสารเสพติดต่ำ เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากกัญชา โดยมูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์เฮมพ์หรือกัญชงต่อกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ พันธุ์อาร์พีเอฟ 1 (RPF1) พันธุ์อาร์พีเอฟ 2 (RPF2) พันธุ์อาร์พีเอฟ 3 (RPF3) และพันธุ์อาร์พีเอฟ 4 (RPF4)

ซึ่งเฮมพ์ทั้ง 4 พันธุ์ ได้รับการคัดเลือกพันธุ์ด้วยวิธีการคัดเลือกรวม (Mass selection) ระหว่างปี พ.ศ. 2551-2554 (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), 2562) โดยเฮมพ์ทั้ง 4 สายพันธุ์นี้ จัดเป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นทะเบียนครั้งแรกของประเทศไทย และสามารถนำไปขยายเพื่อใช้ต่อยอดสำหรับการวิจัยในทุก ๆ ด้าน รวมทั้งมีระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปผลิตสำหรับการส่งเสริมแก่เกษตรกรอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป หากแต่การปลูกเฮมพ์ยังคงต้องอยู่ภายใต้ระบบควบคุม มีข้อปฏิบัติและข้อบังคับต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

การจำแนกเฮมพ์ (Hemp) และกัญชา (Marijuana) 
เฮมพ์ (Hemp) หรือ “กัญชง” เป็นพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกัญชามาก เนื่องจากอยู่ในวงศ์เดียวกัน ดังนั้นลักษณะภายนอกหรือสัณฐานวิทยาของพืชทั้งสองชนิด จึงมีความแตกต่างกันน้อย จนบางครั้งยากต่อการจำแนกชนิด และทำให้เกิดความสับสนได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชทั้งสองชนิดมีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น เฮมพ์มีลักษณะลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ใบมีสีเขียวอมเหลืองรูปเรียวยาว มีการเรียงสลับของใบค่อนข้างห่างชัดเจน ทรงพุ่มเรียวเล็ก มีการแตกกิ่งก้านน้อย และไม่มียางเหนียวติดมือ เป็นต้น ในขณะที่กัญชามีลักษณะลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มขนาดกว้างกว่าเฮมพ์ การเรียงตัวของใบจะชิดกันหรือเรียงเวียนใกล้กัน โดยเฉพาะใบประดับช่อดอกจะเป็นกลุ่มแน่นเห็นได้อย่างชัดเจน มีการแตกกิ่งก้านมาก และมักมียางเหนียวติดมือ ดังรูปที่ 1 (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2561; สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, 2562; Cannabis.info, 2562) 

เฮมพ์ มีลักษณะใบและลำต้นใกล้เคียงกับกัญชามาก พืชทั้งสองชนิดมีองค์ประกอบของสารกลุ่มแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ได้แก่ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol; THC) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้มีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการเคลิ้มฝัน และมีฤทธิ์เสพติด และยังมีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD) ออกฤทธิ์ยับยั้งฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย (Anxiety effect) มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีดังรูปที่ 2 ซึ่งในกัญชามีสาร THC ประมาณร้อยละ 5 ถึง 15 และมีปริมาณ THC สูงกว่า CBD ในขณะที่เฮมพ์มีปริมาณ THC เพียงประมาณร้อยละ 0 ถึง 1.0 และมีสัดส่วนระหว่าง CBD มากกว่า THC คิดเป็น 2:1 ดังนั้นถ้าต้นที่มีสาร THC น้อยกว่าร้อยละ 0.3 ต่อน้ำหนักแห้ง จะถือว่าเป็น “เฮมพ์ (Hemp)” แต่ถ้ามีค่า THC สูงกว่านี้ถือว่าเป็น “กัญชา (Marijuana)” (พิชิต แก้วงาม, 2562) สำหรับความแตกต่างระหว่างพืชทั้งสองนั้น มีลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก โดยสามารถสังเกตทางพฤกษศาสตร์ในเบื้องต้นได้ดังนี้

ราก ของเฮมพ์และกัญชาเป็นระบบรากแก้ว (Tap root system) และมีรากแขนงเป็นจำนวนมาก

ลำต้น ของเฮมพ์จะมีลักษณะสูงเรียว เป็นเหลี่ยม โดยจะมีความกลมเฉพาะบริเวณโคนต้นเหนือจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร ความสูงของต้นมากกว่า 2 เมตร ต่างจากกัญชาที่ลำต้นมีลักษณะกลม และมีความสูงน้อยกว่า

ใบ ของเฮมพ์มีสีเขียวอมเหลืองขนาดเรียวยาว การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่างชัดเจน และไม่มียางเหนียวติดมือ ส่วนกัญชาใบจะมีสีเขียวเข้มขนาดกว้างหนา การเรียงตัวของใบจะชิดกัน และมักจะมียางเหนียวติดมือ

ปล้องหรือข้อ ของเฮมพ์จะยาว มีระยะห่างของใบบนลำต้นกว้าง ซึ่งทำให้ทรงของต้นเฮมพ์เป็นพุ่มโปร่ง ส่วนกัญชาปล้องหรือข้อจะสั้น ระยะห่างของใบบนลำต้นแคบทำให้ทรงของต้นเป็นพุ่มทึบ

เปลือกเส้นใย ของเฮมพ์จะละเอียด เหนียว ลอกง่าย และให้เส้นใยยาวคุณภาพสูง ส่วนกัญชาเปลือกเส้นใยจะหยาบ บาง ลอกยาก และให้เส้นใยคุณภาพต่ำ

เมล็ด ของเฮมพ์จะมีขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดหยาบด้าน และมีลายบ้าง ส่วนเมล็ดกัญชาจะมีขนาดเล็ก ผิวมีลักษณะมันวาว

ช่อดอก ของเฮมพ์จะมียางไม่มาก และมีสาร THC ร้อยละ 0.3-7 ส่วนกัญชานั้นจะมียางที่ช่อดอกมาก และมีสาร THC สูงถึงร้อยละ 1-10 ซึ่งเมื่อนำมาจุดไฟจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้งมีฤทธิ์หลอนประสาท ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างเฮมพ์และกัญชา สามารถสรุปได้ตามตารางที่ 1 และสามารถแสดงลักษณะได้ดังรูปที่ 3-6


รูปที่ 1 ลักษณะความแตกต่างระหว่าง “เฮมพ์” กับ “กัญชา”
ที่มา: www.cannabis.info/en/blog/difference-indica-sativa-ruderalis-hybrid-plants (2562)


รูปที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol; THC) 
และสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD)

ที่มา: Rudd (2018)

ตารางที่ 1 ความแตกต่างระหว่าง เฮมพ์ (Hemp) กับ กัญชา (Marijuana)

ที่ เฮมพ์ กัญชา
1 ต้นสูงเรียว > 2 เมตร ต้นเตี้ย ทรงพุ่มกว้าง
2 แตกกิ่งก้านน้อย และไปในทิศทางเดียวกัน แตกกิ่งก้านมาก และออกกิ่งแบบสลับไปมา
3 ใบเรียวเรียงตัวห่างกัน และมีทรงพุ่มโปร่ง ใบหนากว้างเรียงตัวชิดกัน และมีทรงพุ่มแน่นทึบ
4 ปล้องหรือข้อยาว ปล้องหรือข้อสั้น
5 เปลือกหนา เหนียว และลอกง่าย เปลือกบาง ไม่เหนียว และลอกยาก
6 ใบสีเขียวอมเหลือง ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกโค้ง ใบสีเขียวเข้ม ขอบใบย่อยในแต่ละแฉกเรียวยาว
7 เส้นใยยาว และมีคุณภาพสูง เส้นใยสั้น และมีคุณภาพต่ำ
8 มียางที่ช่อดอกไม่มาก มียางที่ช่อดอกมาก
9 ออกดอกเมื่ออายุ > 4 เดือน ออกดอกเมื่ออายุ ประมาณ 3 เดือน
10 เมล็ดมีขนาดใหญ่ ผิวหยาบด้าน และมีลายบ้าง เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวมันวาว และมีลายมาก
11 การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวแคบ เพราะต้องการเส้นใย การปลูกระยะห่างระหว่างต้นและแถวกว้าง เพราะต้องการใบ และช่อดอก

ที่มา: สยาม อรุณศรีมรกต (2562)

สำหรับลักษณะทางเคมีเป็นลักษณะเสริมสำคัญ สามารถใช้กำหนดความเป็นพืชเสพติดจากปริมาณสารในเฮมพ์และกัญชาได้ ซึ่งในทางกฎหมายสากล พืชที่ให้ปริมาณ THC น้อยกว่า 0.3 ไม่ถือว่าเป็นพืชเสพติด แต่สำหรับเฮมพ์ประเทศไทยนั้น จากกฎกระทรวงระบุไว้ว่า มีปริมาณ THC ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง ต้องมีปริมาณ THC ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อปลูกแบบอุตสาหกรรมเส้นใยได้ ดังแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ลักษณะทางเคมีของเฮมพ์ (Hemp) และกัญชา (Marijuana)

ลักษณะ (ร้อยละ) เฮมพ์ กัญชา
THC (Tetrahydrocannabinol)  < 1 1-20
CBD (Cannabidiol) ≥ 2 < 2
ปริมาณเส้นใย (Fiber) สูงสุด 35 15

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2562)

ประโยชน์ที่ได้จาก “เฮมพ์”
เฮมพ์เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก ลำต้น ใบ ดอก และเมล็ด แต่ส่วนหลัก ๆ ของเฮมพ์ที่เรานำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ลำต้น เมล็ด และดอก ซึ่งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยมีการใช้เส้นใยที่ได้จากลำต้นของเฮมพ์กันมานานแล้ว โดยเส้นใยของเฮมพ์เหมาะสำหรับการใช้เป็นเส้นใยทอผ้า นอกเหนือจากเส้นใยแล้ว เมล็ด น้ำมันจากเมล็ดของเฮมพ์ และสารสกัดที่ได้จากดอกที่เรียกว่า สารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD) ก็สามารถำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อาหารสุขภาพ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวได้อีกด้วย


รูปที่ 3 ความแตกต่างระหว่างลำต้นเฮมพ์ (ซ้าย) และกัญชา (ขวา) 
ที่มา: Hash Marihuana and Hemp Museum (2019)


รูปที่ 4 ความแตกต่างระหว่างใบเฮมพ์ (ซ้าย) และใบกัญชา (ขวา) 
ที่มา: Eleanor Russell (2019); www.seekpng.com (2019)


รูปที่ 5 ความแตกต่างระหว่างช่อดอกเฮมพ์ (ซ้าย) และช่อดอกกัญชา (ขวา)
ที่มา: Leafly Staff (2016)


รูปที่ 6 ความแตกต่างระหว่างเมล็ดเฮมพ์ (ซ้าย) และเมล็ดกัญชา (ขวา)
ที่มา: Cannabis seeds (2019)

ในส่วนของเส้นใยเฮมพ์นั้นได้มาจากส่วนของลำต้นของเฮมพ์ที่นำมาผ่านกระบวนการลอกเปลือก (Decorticating) โดยส่วนเปลือกของลำต้นจะให้เส้นใยที่เรียกว่า Fiber bast และส่วนของแกนด้านในของลำต้นจะให้เส้นใยที่เรียกว่า Fiber hurd แสดงลักษณะเส้นใยดังรูปที่ 7 ทั้งนี้สามารถนำเส้นใยทั้งสองชนิดที่ได้จากเฮมพ์มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังรูปที่ 8-12 ได้ดังนี้

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เส้นใยจากเฮมพ์เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นสูง แข็งแรง ทนทาน สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเสื้อผ้า ซึ่งแม้ว่าเส้นใยที่ได้จากเฮมพ์จะให้ผ้ามีรอยย่นหรือเกิดรอยยับได้ง่าย แต่ด้วยลักษณะของเส้นใยที่สามารถลอกออกเป็นชั้น ๆ จึงนำมาผลิตเป็นผ้าที่บางได้ตามที่ต้องการ และยังสามารถซักด้วยเครื่องซักผ้าได้อีกด้วย สำหรับเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยเฮมพ์เวลาสวมใส่จะทำให้รู้สึกเย็นสบายในฤดูร้อน และอบอุ่นในฤดูหนาว โดยเส้นใยเฮมพ์มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนลอน แข็งแรงกว่าผ้าฝ้าย และอบอุ่นกว่าลินนิน ดังรูปที่ 8 

อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ เส้นใยที่ได้จากเปลือกของต้นเฮมพ์นั้นมีความยาวตั้งแต่ 1-5 เมตร จึงเหมาะสำหรับการผลิตกระดาษ โดยในต่างประเทศจะใช้เส้นใยของเฮมพ์ผลิตกระดาษที่มีคุณภาพสูง เช่น กระดาษมวนบุหรี่ (Cigarette paper) (ดังรูปที่ 9) ธนบัตร (Bank notes) กระดาษกรอง (Technical filters) และผลิตภัณฑ์สุขอนามัย (Hygiene products) ในส่วนของเส้นใยที่ได้จากแกนเฮมพ์มีเส้นใยที่สั้นกว่าที่ใช้ผลิตกระดาษที่มีคุณภาพรองลงมา การปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำกระดาษนั้นสามารถเป็นตัวอย่างด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมชัดเจน ซึ่งพืชที่ใช้ทำกระดาษคุณภาพดี อาทิ ยูคาลิปตัสและสน อายุประมาณ 6-8 ปี และปอกระสา อายุประมาณไม่น้อยกว่า 3 ปี ล้วนเป็นพืชยืนต้นที่มีการเจริญเติบโตช้ามาก กว่าจะเก็บเกี่ยวได้ต้องปลูกเป็นลักษณะสวนป่าใช้เวลานานหลายปี การปลูกก็ต้องใช้พื้นที่มาก และเมื่อตัดแล้วจะฟื้นคืนคุณภาพพื้นที่ปลูกได้ยาก ปลูกซ้ำได้ไม่กี่ครั้งเพราะจะมีเหง้าและตออยู่ ทำให้ดูเป็นลักษณะทำลายสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับเฮมพ์ที่สามารถปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมได้โดยต่อเนื่องไม่ต้องมีการดูแลรักษา หรือจัดการพื้นที่มากนัก 

อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ตั้งแต่จักรยานจนถึงเครื่องบิน โดยใช้เส้นใยของเฮมพ์เป็นส่วนประกอบของพลาสติกเพื่อเพิ่มความเหนียว ทนต่อแรงกระแทก และมีความยืดหยุ่นสูง วัสดุที่มีส่วนผสมจากเส้นใยเฮมพ์จะมีน้ำหนักเบา สามารถลดอันตรายจากอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้เส้นใยเฮมพ์ร่วมกับเส้นใยจากธรรมชาติชนิดอื่นในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกอื่น ๆ เช่น ฉนวนกันเสียง เป็นต้น ดังรูปที่ 10

อุตสาหกรรมผลิตวัสดุ ส่วนของแกนต้นเฮมพ์ใช้ทำวัสดุรองนอนของสัตว์ เช่น ม้า โดยมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดีประมาณ 5 เท่าของน้ำหนัก ไม่มีฝุ่น และกำจัดได้ง่าย ในต่างประเทศเป็นที่ต้องการอย่างมาก คุณสมบัติในการดูดซับนี้ยังมีการนำไปใช้เพื่อดูดซับ และกำจัดคราบน้ำมันได้อีกด้วย

อุตสาหกรรมก่อสร้าง เส้นใยของเฮมพ์สามารถใช้ทำเป็นวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างได้ เช่น ฉนวนกันความร้อน (Fiberboard) และคอนกรีต (Concrete) ดังรูปที่ 11 โดยวัสดุที่ทำจากเส้นใยเฮมพ์นั้นจะมีความแข็งแรง ทนทาน และมีน้ำหนักเบา 

อุตสาหกรรมผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ สามารถนำมาผลิตเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในเวลาไม่ถึง 1 ปี หลังจากถูกทิ้ง เป็นหนทางไปสู่ธุรกิจสีเขียวที่สามารถแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้ในอนาคต ดังรูปที่ 12


รูปที่ 7 เส้นใยเฮมพ์ (Hemp)
ที่มา: Small (2015)


รูปที่ 8 สิ่งทอจากเส้นใยเฮมพ์
ที่มา: Pickering (2019)


รูปที่ 9 กระดาษมวนบุหรี่ (Cigarette paper)
ที่มา: Beamer Smoke (2019)


รูปที่ 10 นำเฮมพ์ไปผลิตเป็นส่วนประกอบของประตู และคอนโซลรถยนต์ 
ที่มา: Richard (2019)


รูปที่ 11 คอนกรีตที่ทำจากเฮมพ์
ที่มา: IsoHemp (2019)


รูปที่ 12 ขวดพลาสติกย่อยสลายได้ที่ทำจากเฮมพ์
ที่มา: American Golden Biotech (2019)


กิตติกรรมประกาศ
บทความฉบับนี้ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากโครงการวิจัย เรื่อง “การปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ที่ปลูกในดินปนเปื้อนแคดเมียม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (RDG62T0053)” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช เป็นหัวหน้าโครงการฯ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 อันเป็นประโยชน์ต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้



เอกสารอ้างอิง
กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559.

ประภัสสร ทิพย์รัตน์. ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่. “พืชกัญชา: ความรู้ทั่วไป และการตรวจสอบสารสำคัญ”. [ออนไลน์]. 2562 แหล่งที่มา: https://www.oncb.go.th/ncsmi/cannabis4/.pdf. [17 เมษายน 2562]
พิชิต แก้วงาม.“เฮมพ์” จากพืชต้องห้ามสู่พืชเศรษฐกิจ. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา: http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/article/hemp.pdf. [10 เมษายน 2562]
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). เฮมพ์พันธุ์ใหม่ของประเทศไทย, นางสริตา ปิ่นมณี. [ออนไลน์]. 2560. แหล่งที่มา: https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/18 [26 เมษายน 2562]
สยาม อรุณศรีมรกต. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. พฤกษศาสตร์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์การปลูกและการผลิตทั่วไปและแบบแม่นยำในพืชกัญชง กัญชา.  [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา:https://www.nfc.or.th/wp-content/uploads/download-manager-files/seminar-62-005.pdf. [5 เมษายน 2562]
สุรัติวดี ภาคอุทัย และกนกวรรณ ศรีงาม. [ออนไลน์]. 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์, การศึกษาวิจัย และพัฒนา Test kit เพื่อวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในกัญชง, ภายใต้ชุดโครงการ : โครงการพัฒนากัญชงเชิงเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการสร้างมูลค่า. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เชียงใหม่. แหล่งที่มา: http://mis.agri.cmu.ac.th/ download/research/0-003-B-51_file.doc. [24 เมษายน 2562]
สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก.  “มารู้จัก “กัญชง” กันเถอะ…”. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา: www.tak.doae.go.th. [9 เมษายน


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์