ศาสตร์แห่งพระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น 1 ใน 6 ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการทำงานแบบบูรณาการตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำริ ในหลายวโรกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการคณะต่างๆ โดยยึดแผนแม่บทเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานทุกๆ กิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และเพื่อเป็นการสนองเบื้องพระยุคลบาท และยังให้ความสำคัญกับการขยายผลการพัฒนาไปสู่พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้านที่ดินทำกิน ทั้งมีพระบรมราโชบายในการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชน ในชนบท เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับ“พออยู่พอกิน” โดยยึด “คน” เป็นหลักในการพัฒนา


สายหยุด เพ็ชรสุข . (2561). ศาสตร์แห่งพระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 1), 10-15.

ศาสตร์แห่งพระราชา

สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

นางสายหยุด เพ็ชรสุข
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น 1 ใน 6 ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีการทำงานแบบบูรณาการตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งพระองค์ได้มีพระราชดำริ  ในหลายวโรกาสให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุแบบผสมผสาน บริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการคณะต่างๆ โดยยึดแผนแม่บทเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานทุก ๆ กิจกรรมเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และเพื่อเป็นการสนองเบื้องพระยุคลบาท และยังให้ความสำคัญกับการขยายผลการพัฒนาไปสู่พี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้านที่ดินทำกิน ทั้งมีพระบรมราโชบายในการเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชน ในชนบท เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในระดับ “พออยู่พอกิน” โดยยึด “คน” เป็นหลักในการพัฒนา  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ แห่งนี้จึงเป็น แหล่งเรียนรู้ศาสตร์ของพระราชา ทั้งด้านดิน น้ำ พืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ อุตสาหกรรม และการสาธารณสุข โดยได้รวบรวมและจัดแสดงไว้ในรูปแบบ “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” คือ มิได้เป็นเพียงสถานที่ที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งของเท่านั้น หากเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และยังเป็น “ตัวอย่างแห่งความสำเร็จ” ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรมและการพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด และดินพรุ ที่ประสบผลสำเร็จอย่างเป็นที่ประจักษ์ชัด  พร้อมทั้งนำผลสำเร็จของโครงการนี้ไปเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรให้รู้จักวิธีการทำมาหากิน รู้จักใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพอันนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดและดินทรายจัดในจังหวัดนราธิวาส และพื้นที่อื่นๆ เพื่อการเกษตร ต่อไป

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ  มีพื้นที่ 1,740 ไร่ ประกอบด้วย 3 พื้นที่ คือ
     1. อ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน จำนวน 1,030 ไร่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้กรมชลประทานจัดทำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ และส่งน้ำไปยังพื้นที่แปลงทดลองภายในศูนย์ฯ และพื้นที่ทำการเกษตรของราษฎรพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ
     2. พื้นที่โครงการสวนยางเขาสำนัก จำนวน 200 ไร่ แบ่งพื้นที่เพื่อสาธิตการปลูกยางพารา การปลูกพืชแซมในสวนยาง ทั้งไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรยามวิกฤติ  โครงการผลิตไม้ดอกไม้ประดับพื้นที่ภาคใต้ 
     3. พื้นที่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จำนวน 510 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ดอน ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน ห้องประชุม อาคารที่พัก ที่ตั้งหน่วยงานร่วมดำเนินงาน โรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์ม แปลงสาธิตการเลี้ยงสัตว์ ป่าพรุจำลอง และแปลงกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนพื้นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นแปลงศึกษา ทดลอง วิจัย อาทิ โครงการแกล้งดิน โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ  แปลงสาธิต ทดสอบการปลูกข้าว พืชผัก พืชไร่  ไม้ผล และปาล์มน้ำมัน

ที่นี่จึงเปรียบเสมือน ศาสตร์ของพระราชา ซึ่งอุดมด้วยสรรพวิทยาสาขาต่าง ๆ มีนักวิชาการ นักเรียน  นักศึกษา เจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และพี่น้องประชาชนได้มาศึกษา เรียนรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งด้านดิน น้ำ พืช สัตว์ ประมง ป่าไม้ อุตสาหกรรม และการสาธารณสุข ซึ่งทุกคนทุกคณะที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติจะมีวิทยากรคอยถ่ายทอดความรู้ในทุกด้าน ผู้ชมงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง  ดังพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531   ณ  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ความว่า  “...เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่คนทุกระดับสามารถที่จะมาดูจะว่าเป็นโรงเรียนก็ไม่ใช่  แต่ว่าเป็นที่มาดูมาศึกษาก็ได้  คือเป็นทัศนศึกษา  พานักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยก็ตาม หรือไม่ใช่นักเรียน เป็นข้าราชการทุกชั้นตั้งแต่ชั้นผู้น้อยมาจนถึงชั้นผู้ใหญ่ทุกระดับทุกอย่าง คือหมายความว่า ทุกหน้าที่สามารถมาดูในแห่งเดียวกัน วิธีการที่จะพัฒนาในสาขาต่างๆ ของวิชาการ  อันนี้เท่ากับเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่จะมาดูอะไรมีวิชาการใด  ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา  นอกจากนั้นไปดูศูนย์ศึกษาก็ไปหย่อนใจก็ได้ เพราะว่าทำงานเครียด ก็ไปเที่ยวศูนย์ศึกษาเหมือนไปเที่ยวสวนสาธารณะ ก็ได้  ได้ความรู้ด้วย  นี่แหละเป็นหลักของศูนย์ศึกษาการพัฒนา...

   

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ที่เรียกว่า ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้บริการคณะที่มาเที่ยวชมงานได้ศึกษา เรียนรู้ด้านต่างๆ  ได้แก่

ด้านดิน 
มีการสาธิตการปรับปรุงพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของศูนย์ฯ เน้นการเรียนรู้เรื่องดิน การปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จึงประกอบไปด้วยแปลงสาธิต ทดลอง วิจัยด้านดิน เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งผู้ชมงานได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และฝึกปฏิบัติได้ทุกกิจกรรม ในพื้นที่จริง เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น โครงการแกล้งดิน แปลงสาธิตการปลูกข้าว โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนพื้นที่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพ ภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ได้มีจัดหลักสูตรต่างๆ ในการฝึกอบรมเกษตรกรเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและผลสำเร็จไปสู่พื้นที่ราษฎร ทั้งการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อการปลูกข้าว พืชผัก ไม้ผล และส่งเสริมให้รู้จักใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่อง จนเกษตรกรมีความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้น และรู้จักใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันนำไปสู่ความยั่งยืนและพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง 

ด้านปศุสัตว์
สาธิตการเลี้ยงและดูแลสุขภาพสัตว์  ทั้งสัตว์ปีกและสัตว์เคี้ยวเอื้องในโรงเรือนและที่โล่งแจ้งอย่างถูกสุขลักษณะ การปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่พรุ และส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น เป็ดเทศ ไก่พันธุ์พื้นเมืองลูกผสม ไก่เบตง แพะกึ่งเนื้อกึ่งนม แกะเนื้อ กวางรูซ่า ซึ่งล้วนเป็นอาชีพหลักสร้างรายได้ หรือจะเป็นอาชีพเสริมรายได้ในครัวเรือน และการถ่ายทอดความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย และผู้สนใจ พร้อมทั้งสนับสนุนพันธุ์สัตว์ให้กับเกษตรกรในเบื้องต้น เพื่อให้เกษตรกรรู้จักประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืน

 

ด้านประมง  
สาธิตการเลี้ยงปลาในบ่อดินเปรี้ยว เช่น ปลาบ้า ปลานิล ปลาตะเพียน กบ และการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาน้ำจืด การอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์ จัดแสดงปลาสวยงามที่มีในพื้นที่พรุ รวมไปถึงการทำเกษตรวิถีประมง ซึ่งเป็นการจัดการพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพระหว่างการเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะปลูกบนขอบบ่อ และจัดฝึกอบรมถ่ายทอดให้ความรู้การฝึกปฏิบัติการเลี้ยงปลาอย่างเป็นอาชีพสู่พื้นที่จริงของเกษตรกรได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 

ด้านพืช 
สาธิตการปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล ปลอดภัยจากสารพิษ สาธิตการปลูกพืชแซมในสวนยางพารา รวมไปถึงการเพาะเห็ดทั้งเห็ดฟางและเห็ดในถุงพลาสติก เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดนางรม ฯลฯ และพืชแซมในสวนยางพาราทั้งไม้ผล ไม้ดอก และการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยในสวนยางพารา เพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการปลูกผักไร้ดิน สำหรับเป็นอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรในรายที่มีพื้นที่ทำกินน้อยแต่ทำให้มีรายได้ประจำวันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการปลูกพืชผักในภาชนะ การปลูกพืชแบบเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จำกัด เพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างคุ้มค่า อันนำไปสู่ความเป็นอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งให้การส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิต   ในการประกอบอาชีพ แก่เกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งกล้าพืชผัก พันธุ์ไม้ผล และปุ๋ยเคมี

 

ด้านป่าไม้
ปลูกไม้ป่าพรุและป่าเสม็ดขาวเพื่อศึกษาความแตกต่างของพรรณไม้ในป่าพรุ  การสร้างป่าพรุจำลอง โดยจัดเป็นเส้นทางเดินศึกษาศึกษาธรรมชาติป่าพรุ เพื่อศึกษาระบบนิเวศน์ธรรมชาติของป่าพรุและวิวัฒนาการการเกิดพรุ  แนะนำพรรณไม้และสมุนไพร ในป่าพรุ ผู้เที่ยวชมงานจะได้รู้จักป่าพรุและประโยชน์ของป่าพรุ อีกทั้งวิถีชีวิตของคนที่ต้องพึ่งพาอาศัยป่าในการดำรงชีวิต  ศึกษาการนำไม้และใบไม้เสม็ดเพื่อการแปรรูปไม้เสม็ดขาวเป็นเฟอร์นิเจอร์และของที่ระลึก  และการเพาะชำกล้าไม้โตเร็ว กล้าไม้มีค่า กล้าไม้ป่า ไม้ประดับและไม้มงคล ในโครงการปลูกป่าในใจคน สำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไปตลอดทั้งปี เพื่อนำไปปลูกที่บ้าน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ 

ด้านหัตถกรรมอุตสาหกรรม
สาธิตและถ่ายทอดความรู้การประกอบอาชีพงานฝีมือ โดยนำวัชพืชและวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น กระจูด เตย หญ้าแฝก ปาหนัน การทำผ้าบาติก การทำเรือกอและจำลอง การทอผ้าลวดลายต่างๆ ซึ่งจัดเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดเล็ก และกลุ่มศิลปาชีพของหมู่บ้าน รวมทั้งงานฝีมืออื่นๆ  สามารถสร้างอาชีพและรายได้ในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง 

ด้านสาธารณสุข
รณรงค์และป้องกันกำจัดโรคเท้าช้างให้หมดสิ้นทุกพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาส โดยมีเจ้าหน้าที่ออกบริการเจาะเลือดของราษฎรทุกหมู่บ้านเพื่อตรวจหาเชื้อโรคเท้าช้างและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเท้าช้าง รณรงค์การกินยาเพื่อป้องกันโรคเท้าช้างประจำทุกปี  ศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพพิกุลทอง รวบรวมองค์ความรู้เพื่อการศึกษาเรียนรู้ด้านโรคติดต่อนำโดยแมลงและโรคติดต่อประจำถิ่นอื่นๆ (โรคเท้าช้าง     โรคเรื้อน โรคหนอนพยาธิ  ไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก และโรคชิคุน   กุนยา)  พร้อมทั้งบริการให้ความรู้คำแนะนำ และการตรวจรักษาเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์กันยุง เช่น ธูปไล่ยุง โลชั่นป้องกันยุงกัด พร้อมจำหน่าย เพื่อให้ผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้และฝึกทำ หรือซื้อไปลองใช้ที่บ้าน

นอกจากมีกิจกรรมต่างๆ ข้างต้นแล้ว ภายในศูนย์ฯ ยังจัดให้มีสวนสวย ที่จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสต่างๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ และพรรณไม้ที่ปลูกรวบรวมไว้ภายในสวน และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ที่จัดทำขึ้นไว้หลายสวน โดยเฉพาะสวนเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 ในโอกาสต่างๆ โดยมีการปลูกพืชผัก ไม้ผล พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ ไม้มงคล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มาเที่ยวชมงานได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ได้ เช่น สวน 50 ปี ครองราชย์ จัดเป็นสวนรวบรวมพืชตระกูลปาล์ม กว่า 60 ชนิด เช่น สิบสองปันนา ช้างไห้ ปาล์มแสด มะแพร้ว ฯลฯ สวน 72 พรรษา ซึ่งจัดเป็นสวนรวบรวบพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น ต้นธัมมัง ไม้ค้อนตีหมา มะม่วงหาวมะนาวโห่ ไข่เน่า พืชสมุนไพรนานาชนิด สวนไม้มงคลเฉลิมพระชนม 76 พรรษา สวนสาธิตการเฉลิมเกียรติ 80 พรรษา สวนเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา และ สวนพฤกษศาสตร์พรรณไม้ม่วงเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558  มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีสีม่วงทั้ง ใบ ดอก ผล และหัว และจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อให้ผู้ศึกษาชมงาน มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชให้คงอยู่สืบไป

นอกจากนั้น ภายในศูนย์ฯ ยังมีอาคารเฉลิมพระเกียรติที่จัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์ดิน เพื่อให้ผู้มาเที่ยวชมงานได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับดินที่มีปัญหาในการประกอบอาชีพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  ทรงให้ความสำคัญในการจัดการดิน และมีพระอัจฉริยภาพด้านดินจนเป็นที่ประจักษ์ ทำให้เกษตรกรได้รู้จักใช้ที่ดินในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน อันนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  และพระราชกรณียกิจด้านดินในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และการใช้ปุ๋ยหมักปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้นำองค์ความรู้ของศาสตร์พระราชา ไปเผยแพร่และถ่ายทอดแก่เกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ จนประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ

 

ระบาทสมเด็จพระปรมินทร  มหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงปราดเปรื่องในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งกิจกรรมการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ทำการศึกษาตามแนวพระราชดำริ  ที่พระองค์ได้พระราชทานมาอย่างต่อเนื่องนั้น นับเป็นศาสตร์แห่งพระราชา นำพาเกษตรกรไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง อันเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณแก่พสกนิกร และประเทศชาติอย่างมากมายนับเป็นศาสตร์ ที่ทรงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ ควรแก่การจดจำและบันทึกลงในจิตใจของเหล่าพสกนิกรชาวไทย ตราบนิจนิรันดร์

 

บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์