บทความ: ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ตที่มีผลต่อชนิดและปริมาณของขยะไมโครพลาสติกที่พบบริเวณชายหาด โดยการวิเคราะห์รูปร่าง ชนิด สัณฐานวิทยาและสีของไมโครพลาสติกเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของไมโครพลาสติกที่พบบริเวณชายหาดฝั่งทางตะวันตกของ จังหวัดภูเก็ต


การอ้างอิง: เพ็ญศิริ เอกจิตต์ และ สิริวรรณ รวมแก้ว (2562). ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 2). 



บทความ: ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต
เพ็ญศิริ เอกจิตต์ และ สิริวรรณ รวมแก้ว
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต


บทนำ
จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน มีพื้นที่ทั้งหมด 543.034 ตารางกิโลเมตร หรือ 356,271.25 ไร่ มีประชากรทั้งสิ้น 392,011 คน (สํานักงานจังหวัดภูเก็ต, 2559) พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดภูเก็ตเป็นที่ราบสูงหรือภูเขาและที่เหลือจะเป็นที่ราบเชิงเขาหรือชายฝั่งทะเล มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 3 แสนคนและมีประชากรแฝงอีกประมาณ 3.8 แสนคน (สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต, 2558) บริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัดภูเก็ตเป็นสถานที่สำคัญในการใช้ประโยชน์และการทำกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และการประมง เป็นต้น ซึ่งมีอัตราการท่องเที่ยวมากขึ้นในทุกๆปี โดยในปี 2557 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 11 ล้านคนต่อปี (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2557) ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมใกล้ชายฝั่งทะเล ดังนั้นปัญหาและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ตามมาที่เห็นได้ชัดและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนคือปัญหาขยะบริเวณชายฝั่ง ในปัจจุบันการใช้พลาสติกและวัสดุสังเคราะห์มีปริมาณเพิ่มขึ้นเหตุเพราะบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรืออุปกรณ์พลาสติกจัดเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันจึงทำให้การผลิตพลาสติกมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งจากการสำรวจพบว่าประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลกที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในทะเล (Jambeck et al., 2015) ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงปริมาณขยะในทะเลซึ่งมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 60-80% และในหลายพื้นที่อาจมีพลาสติกเป็นองค์ประกอบอยู่สูงถึง 90-95% ของปริมาณขยะทั้งหมด และเป็นที่รู้กันว่าไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กยากต่อการเก็บและการกำจัด ประกอบกับมีคุณสมบัติที่คงสภาพย่อยสลายได้ยากจึงง่ายต่อการปนเปื้อน การแพร่กระจาย การสะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อม จากงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องพบว่าพลาสติกเป็นขยะในทะเลที่พบมากที่สุดและเป็นแหล่งของสารพิษต่างๆ เนื่องจากพลาสติกสามารถดูดซับเอาสารพิษจากน้ำทะเลเอาไว้ โดยสารพิษที่พบมากเป็นพิเศษในขยะพลาสติก ได้แก่ สาร Polychlorinated biphenyl (PCBs) สาร Dichlorodiphenyethane (DDE) สาร Nonylphenols (NP)

ไมโครพลาสติก (micro-plastics) หรือ พลาสติก หรือเศษพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พลาสติกขนาดเล็กที่มาจากกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกขนาดเล็กโดยตรง (primary micro-plastic) ไมโครพลาสติกเหล่านี้เป็นองค์ประกอบในเครื่องสำอาง (micro-beads) หรือในการผลิตอุตสาหกรรมพลาสติกอื่นๆ สามารถแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อมทางทะเลได้โดยการทิ้งของเสียโดยตรงจากบ้านเรือนสู่แหล่งน้ำและไหลสู่ทะเล อีกรูปแบบหนึ่งคือพลาสติกขนาดใหญ่ (secondary micro-plastic) เป็นพลาสติกที่เกิดจากพลาสติกที่มีขนาดใหญ่หรือแมคโครพลาสติก (macro-plastic) หรือพลาสติกที่มาจากการแตกหักของผลิตภัณฑพลาสติกชนิดต่าง ๆ ด้วยกระบวนการกายภาพทางเคมีหรือชีวภาพจึงทําให้โครงสร้างของพลาสติกเกิดการแตกตัวจนมีขนาดที่เล็กลง (ชาญชัย คหาปนะ, 2018)  ด้วยเหตุนี้จึงเกิดจากการสะสมของพลาสติกในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดที่เล็กและพบการแพร่กระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อม ทั้งทางทะเล ในน้ำ และตะกอนดิน จึงทำให้สิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น แพลงก์ตอน พืช ปลิงทะเล หอย สองฝา นกทะเล และไส้เดือนทะเลกินไมโครพลาสติกเข้าไปเป็นอาหารแล้วทำให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร (bioaccumulation in food chain) (Browne et al., 2008) จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยพบว่า มีการสำรวจการปนเปื้อนเบื้องต้นของไมโครพลาสติกในหอยสองฝา (หอยเสียบ Donax sp. และหอยกระปุก Paphia sp.) บริเวณชายหาดเจ้าหลาวและชายหาดคุ้งวิมาน จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาพบว่าขยะประเภทไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในหอยเสียบบริเวณชายหาดเจ้าหลาว (3.13±2.75 ชิ้น/ตัว) มีค่าใกล้เคียงกับชายหาดคุ้งวิมาน (2.98±3.12 ชิ้น/ตัว) ลักษณะของขยะพลาสติกที่พบมากที่สุดคือเส้นใย (ปิติพงษ์ และคณะ, 2016) ดังนั้นในการแก้ปัญหาโดยการรีไซเคิลจึงทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้การศึกษาการแพร่กระจายตัวของไมโครพลาสติกและการจำแนกชนิดของไมโครพลาสติกในจังหวัดภูเก็ตจึงมีความจำเป็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวให้เห็นคุณค่าและสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหาของขยะชายฝั่งให้น้อยลงมากที่สุดและสามารถพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นแนวทางให้กับการวิเคราะห์ความเป็นอันตรายของไมโครพลาสติกที่เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารและการเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ในอนาคต 

กรณีศึกษา: ขยะพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต
งานวิจัยนี้เป็นการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ตที่มีผลต่อชนิดและปริมาณของขยะไมโครพลาสติกที่พบบริเวณชายหาด โดยการวิเคราะห์รูปร่าง ชนิด สัณฐานวิทยาและสีของไมโครพลาสติกเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของไมโครพลาสติกที่พบบริเวณชายหาดฝั่งทางตะวันตกของ จังหวัดภูเก็ต ได้แก่ หาดป่าตอง หาดกะหลิม และหาดไตรตรัง ดังแสดงในรูปที่ 1 เก็บตัวอย่างโดยการวางแปลง (quadrat) ขนาด 1 เมตร x 1 เมตร ตามแนวขนานชายฝั่ง โดยวางที่ระดับน้ำขึ้นสูงสุด หาดละ 3 quadrate แต่ละแปลงมีระยะห่าง 20 เมตร นำตะกอนดินที่แห้งมาเติมสารละลาย 5M NaCl เพื่อแยกความหนาแน่น จากนั้นกวนสารละลายกับตะกอนดินให้เข้ากัน ใช้ฟอล์ยปิดทิ้งไว้หกชั่วโมงหรือจนกว่าขยะจะลอยตัว แล้วเทของแข็งที่ลอยอยู่ลงในกระดาษกรองขนาด 20 ไมครอน แล้วนำตัวอย่างใสที่ได้มาย่อยสารอินทรีย์ด้วยวิธีออกซิเดชันด้วยเปอร์ออกไซด์ โดยเติมสารละลาย 0.05 M Fe (II) 20 มิลลิลิตร และ 30% H2O2 20 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 5 นาที จากนั้นให้ความร้อนด้วย hotplate ที่อุณหภูมิ 75 °C เป็นเวลา 30 นาที นำสารละลายที่ได้ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน 1 คืน กรองสารที่อยู่ในบีกเกอร์ลงในกระดาษกรองขนาด 20 ไมครอน ปล่อยให้กระดาษกรองแห้งสนิทแล้วนำพลาสติกที่ได้มาชั่งน้ำหนักและวิเคราะห์หาปริมาณของไมโครพลาสติกที่พบ (ขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร) จากนั้นนำไปวิเคราะห์เพื่อสังเกตรูปร่าง ลักษณะ สี ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (NOAA Marine Debris Program, 2015)


รูปที่ 1 จุดเก็บตัวอย่างบริเวณชายหาดฝั่งทางตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต

จากการสํารวจการแพร่กระจายของขยะประเภทไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดป่าตอง ชายหาดกะหลิม และชายหาดไตรตรัง ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาขยะบนชายหาดและขยะไมโครพลาสติมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปริมาณขยะประเภทไมโครพลาสติก : พบว่าหาดป่าตองมีจำนวนขยะมากที่สุดอยู่ในจำนวน 265 ชิ้น ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เนื่องจากมีจำนวนประชากรนักท่องเที่ยวและกิจกรรมต่างๆบริเวณหาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะมักจะมีที่มาจากกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจ กิจกรรมการท่องเที่ยว รองลงมาคือหาดไตรตรังซึ่งมีจำนวนขยะมากอยู่ในจำนวน 116 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เนื่องจากมีที่มาจากมีกิจกรรมจากการก่อสร้างเป็นหลักทำให้พบชิ้นส่วนของเศษจากวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก อันดับสุดท้ายคือหาดกะหลิม ที่มีจำนวนขยะน้อยที่สุด เป็นจำนวน 101 ชิ้นต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เนื่องจากเป็นหาดที่มีความยาวหาดน้อย ส่วนใหญ่มีขยะมาจากกิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจและการประมง 

สีของไมโครพลาสติก : การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งสีของไมโครพลาสติกออกเป็น 12 สี คือ ขาวขุ่น ขาวใส แดง ดำ น้ำเงิน ฟ้า เขียว เทา น้ำตาล เหลือง ส้ม ม่วง โดยนำไมโครพลาสติกมาวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่กำลังขยาย 40x หลังจากผ่านการย่อยสารอินทรีย์ (รูปที่ 2) จากการวิเคราะห์พบว่า บริเวณชายหาดป่าตองพบไมโครพลาสติกสีขาวขุ่นและสีเขียวมากที่สุด โดยสีของไมโครพลาสติกมีความสำคัญเพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเลือกกินของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในสิ่งมีชีวิตที่มีประสาทการรับรู้ภาพและสี โดยสัตว์จะเลือกกินพลาสติกที่มีสีคล้ายเหยื่อของสัตว์ชนิดนั้น เช่น จากรายงานการศึกษาพบว่าปลาเศรษฐกิจที่สําคัญในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือที่บริโภคแพลงก์ตอนและสัตว์ที่มีขนาดเล็กพบไมโครพลาสติกสีขาวและเหลืองเป็นจำนวนมากจึงเป็นไปได้ว่าอาจจะบริโภคไมโครพลาสติกที่มีขนาดเล็กและสีที่ใกล้เคียงกับเหยื่อที่มีสีขาวและสีเหลืองและการศึกษาในบริเวณอ่าวเนียนติกพบว่าปลามีปริมาณของเม็ดโฟมสีขาวมากอาจเนื่องมาจากเม็ดโฟมมีลักษณะใกล้เคียงเหยื่อของปลา (Wright et al., 2013)


รูปที่ 2 การวิเคราะห์สีของขยะพลาสติกหลังจากย่อยสารอินทรีย์

รูปร่างของไมโครพลาสติก : จากการสำรวจขยะประเภทไมโครพลาสติกได้จำแนกรูปร่างไมโครพลาสติกออกเป็น 7 รูปร่าง ได้แก่ เส้นใย ชิ้นส่วนไร้รูปแบบ แผ่นฟิล์ม แผ่นแข็ง ทรงกลม แท่ง และเส้นใยที่ไม่ใช่ ซึ่งเมื่อจำแนกแล้วพบว่าบริเวณหาดกะหลิมมีขยะที่มีรูปร่างเป็นเส้นใยประเภทเชือก (ดังแสดงในรูปที่ 3) ซึ่งอาจมาจากเชือกที่ใช้จากกิจกรรมการทำประมง เนื่องจากบริเวณหาดกะหลิมมีเรือประมงขนาดเล็กมาเทียบท่า ซึ่งอุปกรณ์ในการทำประมงส่วนใหญ่ที่ใช้บนเรือประมงจะเป็นอวน ตาข่าย เอ็น เชือก และแห เป็นต้น อุปกรณ์ประมงเหล่านี้มีส่วนประกอบหลักมาจากเส้นใยหรือเชือกในขณะที่หาดป่าตองจะมีสัดส่วนเส้นใยน้อยกว่าโดยบริเวณบริเวณหาดป่าตองจะมีลักษณะขยะประเภทชิ้นส่วนไร้รูปแบบมากกว่าอันเนื่องมาจากลักษณะทางกายภายของชายหาดที่มีคลื่นลมแรงกว่าบริเวณหาดกะหลิม จึงอาจทำให้มีแรงทางกายภายทำให้เกิดการแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ และเมื่อทำการเปรียบเทียบกับการศึกษาอื่น ๆ พบว่าสอดคล้องกับการศึกษาขยะไมโครพลาสติกที่ประเทศเกาหลีใต้ที่พบชิ้นส่วนไร้รูปแบบ 96% รองลงมาคือเส้นใย 4% เนื่องจากการใช้โฟมและฟองน้ำเทียมในการเพาะหอยนางรมเป็นปริมาณมากทำให้ชิ้นส่วนของขยะไหลลงสู่ทะเล (Jongmyoung et al., 2014) และการศึกษาปริมาณขยะประเภทไมโครพลาสติกในหมู่เกาะฮาวายพบชิ้นส่วนไร้รูปแบบ 87.23% รองลงมาคือทรงกลม 11.36% และเส้นใย 1.36% (McDermid and McMullen, 2004)


รูปที่ 3 ลักษณะรูปร่างของขยะไมโครพลาสติกที่พบเจอ ณ บริเวณพื้นที่ศึกษา 
แบบเส้นใยที่พบบริเวณชายหาดกะหลิม (ซ้ายบน)
แบบแผ่นแข็งที่พบบริเวณชายหาดป่าตอง (ขวาบน)
แบบไร้รูปร่างที่พบบริเวณชายหาดป่าตอง (ล่าง)

สรุปผลการวิจัย 
พลาสติกเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมากจึงทำให้มีอัตราการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น การศึกษาขยะพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ตครั้งนี้พบการปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกที่บริเวณชายหาดป่าตอง ชายหาดกะหลิม และชายหาดไตรตรัง โดยบริเวณชายหาดป่าตองมีจำนวนขยะมากกว่าบริเวณชายหาดกะหลิมและชายหาดไตรตรัง  เนื่องจากอิทธิพลจากกระแสคลื่นและกระแสลม รวมไปถึงมีกิจกรรมจากนักท่องเที่ยวที่มากกว่า อีกทั้งยังพบว่าขยะประเภทไมโครพลาสติกที่มีลักษณะเป็นเส้นใยพบเจอมากที่สุดโดยเฉพาะบริเวณชายหาดกะหลิม โดยพบว่าเส้นใยที่พบอาจมาจากชิ้นส่วนของเชือกและวัสดุทำการประมง และสีของไมโครพลาสติกที่มีสีเขียวถูกพบมากที่สุดโดยเฉพาะบริเวณชายหาดป่าตอง ในขณะที่สีน้ำเงินถูกพบมากที่สุดบริเวณชายหาดกะหลิม และสีแดงถูกพบมากที่สุดบริเวณชายหาดไตรตรัง ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่าลักษณะของขยะพลาสติก เช่น ชนิดและปริมาณ มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในบริเวณชายหาดต่างๆ ทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นจึงสมควรมีการลดแหล่งที่มาของขยะพลาสติกและนำขยะพลาสติกขนาดใหญ่กลับมาใช้ให้มากที่สุดก่อนกลายเป็นขยะและลดการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างที่เกี่ยวกับพลาสติกลง


เอกสารอ้างอิง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2557). สถิตินักท่องเที่ยว [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://www. mots.go.th/more_news.php?cid=492&filename=index, เข้าดูเมื่อ 11/12/2561.
ชาญชัย คหาปนะ. (2561). ไมโครพลาสติก….ภัยมืดในทะเล [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=4707, เข้าดูเมื่อ 14/02/2562.
ปิติพงษ์ ธาระมนต์ , สุหทัย ไพรสานฑ์กุล และ นภาพร เลียดประถม. (2559). การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในหอยสองฝาบริเวณชายหาดเจ้าหลาว และชายหาดคุ้งวิมาน จังหวัดจันทบุรี. แก่นเกษตร 44 ฉบับพิเศษ 1 : 738-744.
สำนักงานสถิติจังหวัดภูเก็ต. (2558). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์เรื่อง “ท่องเที่ยว” [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://phuket.nso.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=373&Itemid=646ACS Publications, เข้าดูเมื่อ 14/01/2562.
Browne, M.A., Dissanayake, A., Galloway, T.S., Lowe, D.M. and Thompson, C.R. (2008). Ingested Microscopic Plastic Translocates to the Circulatory System of the Mussel, Mytilus edulis (L.). Environmental Science & Technology, 42 (13): 5026-5031.
Jambeck et al. (2015) Plastic waste inputs from land into the ocean, Science, 347, 768-771.
Jang, Y.C. , Lee, J., Hong, S., Lee, J.S., Shim, W.J. and Song, Y.K. (2014). Sources of plastic marine debris on beaches of Korea: More from the ocean than the land. Ocean Science Journal, 49(2): 151-162.
McDermid, K.J. and McMullen, T.L. (2004). Quantitative analysis of small-plastic debris on beaches in the Hawaiian Archipelago, Marine Pollution Bulletin, 48(7-8): 790-794.
NOAA Marine Debris Program, National Oceanic and Atmospheric Administration U.S. Department of Commerce. (2015). Laboratory Methods for the Analysis of Microplastics in the Marine Environment: Recommendations for quantifying synthetic particles in waters and sediments. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : https://marinedebris.noaa.gov/sites/default/files/publications-files/noaa_microplastics_methods_manual.pdf, เข้าดูเมื่อ 04/03/2562.
Wright, S.L. Thompson, R.C. Galloway, T.S (2013). The physical impacts of microplastics on marine organisms : A review. Environmental Pollution, 178: 483-492.


 


บทความอื่นๆ

Read More

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการแจ้งเตือนภัยพิบัติแผ่นดินไหวของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดเชียงราย

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี