ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ณัฐภากัญญ์ ชูสินภาณุมาศ และ วราลักษณ์ คงอ้วน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ณัฐภากัญญ์ ชูสินภาณุมาศ และ วราลักษณ์ คงอ้วน. (2561). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 2), 21-29.

ความคิดเห็นของประชาชน

ที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

ในเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

ณัฐภากัญญ์ ชูสินภาณุมาศ และ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทนำ
     เทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้น 3.28 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อุทยานแห่งชาติเขาแหลม เหมืองปิล๊อก วัดทองผาภูมิ วัดท่าขนุน ฯลฯ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จากการมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 100,000 คน/ปี และการขยายตัวของโรงแรมกว่า 200 แห่ง บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย (สำนักงานเทศบาลตาบลองผาภูมิ, 2560) อย่างไรก็ตาม การขยายตัวทางการท่องเที่ยวดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมเมืองตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง ปัญหาน้ำมีลักษณะขุ่น ไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรมในบริเวณชุมชนริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย เป็นต้น 
     การศึกษาสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเมืองและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จะนำไปสู่การตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง ตลอดจนความพึงพอใจและความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม อันเป็นประโยชน์ต่อการเสนอแนะแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ได้ ผลการศึกษาที่ได้จึงสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งในประเด็นของการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจ การสร้างความตระหนักของหน่วยงานภาครัฐที่มีต่อความต้องการของประชาชน การเพิ่มความง่ายต่อการปฏิบัติของแผนและการพัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน (เจมส์ แอล เครตัน, 2545) 
     บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพของปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองและความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมทั้ง เสนอแนะแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง โดยมาตรการทางผังเมืองที่สอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ อันเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ให้ทวีความรุนแรง อีกทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

กรอบการศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง
     การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง พิจารณาเฉพาะประเด็นทางด้านกายภาพ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมและขนส่ง การระบายน้ำและกำจัดน้ำเสีย และการจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองที่ประชาชนสามารถรับรู้และแสดงความคิดเห็นได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยตรง การเก็บข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการโดยการทำแบบสอบถาม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบทราบประชากรของยามาเน่ (Yamane, 1973) จากจำนวนครัวเรือนที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ 1,519 ครัวเรือน ใน พ.ศ. 2557 ที่ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 90 จะได้กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 93.82 ชุด (ในการเก็บข้อมูลจริง กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 100 ชุด) (ประคอง กรรณสูตร, 2542)
     สำหรับการแบ่งเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ น้อยที่สุด (ช่วงคะแนน 1.00-1.50) น้อย (ช่วงคะแนน 1.51-2.50) ปานกลาง (ช่วงคะแนน 2.51-3.50) มาก (ช่วงคะแนน 3.51-4.50) และมากที่สุด (ช่วงคะแนน 4.51-5.00) 

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองทองผาภูมิ
     ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองในพื้นที่เมืองทองผาภูมิที่ได้จากการสำรวจภาคสนามและการจัดทำแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมและขนส่ง การระบายน้ำและบำบัดน้ำเสียและการจัดการขยะมูลฝอย แสดงรายละเอียดดังนี้ (รูปภาพที่ 1)

1. การใช้ประโยชน์ที่ดิน 
     พื้นที่ศึกษามีการใช้ประโยชน์ที่ดิน 7 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันการศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และชนบทและเกษตรกรรม โดยพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมหนาแน่น ได้แก่ บริเวณถนนเทศบาลสายหลักต่อเนื่องไปจนถึงบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3272 โดยลักษณะอาคารส่วนใหญ่ เป็นอาคารเดี่ยว ตึกแถว และห้องแถว โดยปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา สรุปได้ดังนี้
     1) การเพิ่มขึ้นของอาคาร สิ่งก่อสร้างและพื้นที่เมือง ผลจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของการท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานประกอบการระหว่างปี พ.ศ.2550 ถึง พ.ศ. 2560 เป็นจำนวนมากถึง 540 แห่ง (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560) ทั้งในลักษณะที่พักแรม ร้านบริการอาหารและเครื่องดื่ม และร้านขายปลีก นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการลดลงของพื้นที่สีเขียวบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ทั้งในลักษณะพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าไม้  
     2) การก่อสร้างอาคารและถนนขวางทางน้ำ การก่อสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างบริเวณถนนบุษปวนิชที่ขวางทางน้ำ ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการระบายน้ำและการลดลงของพื้นที่รับน้ำ อันเป็นผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนตามมา
     3) การขาดความเป็นระเบียบและสวยงามของภูมิทัศน์เมือง การสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่เป็นระเบียบและมีสภาพแออัด โดยเฉพาะบริเวณตลาดทองผาภูมิ ส่งผลให้ทัศนียภาพของชุมชนไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม นอกจากนี้ พื้นที่สวนสาธารณะยังขาดซึ่งการทำนุบำรุง ดูแลรักษา เช่น ในบริเวณท่าน้ำเทศบาลตำบลทองผาภูมิ สะพานแขวนวัดท่าขนุน และสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ฯลฯ 


รูปภาพที่ 1 ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองในพื้นที่ศึกษา
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนามเดือนมกราคม พ.ศ.2560

2. การคมนาคมและขนส่ง 
     เส้นทางคมนาคมและขนส่งของเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ประกอบด้วย ถนนสายประธาน ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3272 ถนนสายหลัก คือ ถนนเทศบาลสายหลัก ถนนสายรอง คือ ถนนบุษปวนิช ถนนเทศบาล 1–17 และถนนเทศบาล 22 ส่วนถนนสายย่อย ได้แก่ ตรอกและซอยย่อยต่าง ๆ ระบบถนนในพื้นที่มีลักษณะเป็นถนนแบบเส้นตรง (Linear Road System) สายสั้น ๆ บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3272 และถนนเทศบาลสายหลัก พื้นที่เทศบาลตำบลทองผาภูมิประสบปัญหาด้านการคมนาคมและขนส่งต่าง ๆ ดังนี้
     1) การจราจรติดขัดในเวลาเร่งด่วน จากลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่เกาะตัวตามแนวถนนเทศบาลสายหลัก ประกอบกับ ความกว้างของผิวถนนที่ค่อนข้างคับแคบ ไม่มีทางเท้า หรือไหล่ทาง (รูปภาพที่ 2) และไม่มีที่จอดรถในบริเวณใกล้เคียง ส่งผลให้มีปริมาณรถติดสะสมจำนวนมากในช่วงเทศกาลและช่วงระยะเวลาเร่งด่วน (08.00-09.00 น. และ 16.00-17.00 น.) 


รูปภาพที่ 2 ลักษณะของของถนนที่ความกว้างของผิวถนนที่ค่อนข้างคับแคบ ไม่มีทางเท้า หรือไหล่ทาง
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนามเดือนมกราคม พ.ศ.2560

     2) เส้นทางมีสภาพไม่เหมาะกับการใช้งาน เส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ต่าง ๆ ขาดความเชื่อมโยงถึงกัน และมักมีพื้นผิวจราจรขรุขระ ชำรุด 
     3) การขาดการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ การบริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่มี 2 ลักษณะ ได้แก่ การให้บริการเชื่อมต่อไปยังจังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอสังขละบุรี มีลักษณะเป็นรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ รถตู้ประจำทางปรับอากาศ รถโดยสารประจำทางธรรมดา และการให้บริการภายในพื้นที่บริเวณตลาด จะเป็นรถจักรยานยนต์รับจ้าง ระบบขนส่งสาธารณะดังกล่าว แม้เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ยังขาดการจัดระเบียบและมาตรฐานในการให้บริการ เช่น การกำหนดจุดจอดรถที่ชัดเจน เป็นต้น

3. การระบายน้ำและบำบัดน้ำเสีย 
     พื้นที่เทศบาลตำบลทองผาภูมิ ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน น้ำฝนและน้ำเสียของชุมชนจึงไหลรวมกันลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย ปัญหาด้านการระบายน้ำและบำบัดน้ำเสียต่าง ๆ ในพื้นที่เทศบาลตำบลทองผาภูมิ สรุปได้ดังนี้
     1) การขาดการบำรุงรักษารางและท่อระบายน้ำ ส่งผลให้รางและท่อระบายน้ำมีสิ่งกีดขวางและอุดตัน ทั้งเศษใบไม้ กิ่งไม้ ขยะมูลฝอย รวมทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
     2) การขาดการวางแผนจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย ปัจจุบันเทศบาลตำบลทองผาภูมิยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียจากอาคารประเภทต่าง ๆ จะถูกปล่อยลงในบริเวณพื้นที่ว่าง ทางระบายน้ำตามธรรมชาติ 
     3) การประสบปัญหาน้ำเน่าเสียและเสื่อมโทรม จากการปล่อยน้ำทิ้งของชุมชนลงสู่แหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน ส่งผลให้แหล่งน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำแควน้อยบริเวณใกล้ชุมชนมีสภาพเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น 

4. การจัดการขยะมูลฝอย 
     เทศบาลตำบลทองผาภูมิ มีการให้บริการรวบรวมและจัดเก็บขยะมูลฝอย แต่การบำบัดและกำจัดขยะมูลฝอยดำเนินการในลักษณะการเทกองที่ไม่ได้มาตรฐานในที่ดินเอกชน ส่งผลให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและทัศนียภาพที่ไม่สวยงาม (รูปภาพที่ 3)


รูปภาพที่ 3 ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างที่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นและทัศนียภาพที่ไม่สวยงาม
ที่มา : จากการสำรวจภาคสนามเดือนมกราคม พ.ศ.2560

ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถามและปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
     กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 53) อยู่ในช่วงอายุ 31–40 ปี (ร้อยละ 27) ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวหรือค้าขาย (ร้อยละ 36) และมีระยะเวลาในการอยู่อาศัยในพื้นที่มาแล้ว 5-10 ปี (ร้อยละ 31) เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ปัญหาที่สำคัญในระดับมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอาคาร ที่พักอาศัย ร้านอาหารหรือรีสอร์ทบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย (ค่าเฉลี่ย 3.86) รองลงมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะจากการขยายตัวของเมืองและการท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ย 3.71) และการขาดการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล (ค่าเฉลี่ย 3.69) ตามลำดับ 

2. ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
     ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.14) อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมากมีเพียงเรื่องเดียว ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย (ค่าเฉลี่ย 3.53) และประเด็นที่ประชาชนมีความพึงพอใจระดับปานกลางต่ำที่สุด ได้แก่ การจัดเก็บ รวบรวม ขนส่งและกำจัดขยะมูลฝอย (ค่าเฉลี่ย 2.47) (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

ประเด็นความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง ค่าเฉลี่ย (X) S.D.
การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินของเทศบาลหรือภาครัฐ 3.41 0.89
การจัดภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นระเบียบ 3.37 0.73
การควบคุมประเภทและขนาดของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 3.42 0.87
การส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย 3.53 0.92
การกำหนดระยะถอยร่นอาคารและขนาดอาคารในพื้นที่ริมแม่น้ำแควน้อย 3.33 1.06
การจัดการเส้นทางสัญจรและเข้าถึงในพื้นที่ 3.11 1.03
การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน 3.27 1.07
การบำบัดน้ำเสียและรักษาความสะอาดแหล่งน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง 2.97 1.13
การจัดระบบระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ 2.98 1.19
การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 2.69 1.30
การจัดเก็บ รวบรวม ขนส่ง และกำจัดขยะมูลฝอย 2.47 1.30
รวม 3.14 1.04

ที่มา : จากการแจกแบบสอบถาม พ.ศ.2560

3. ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม
     ประชาชนมีความต้องการในการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.64) โดยประเด็นที่ประชาชนมีความต้องการในระดับมากสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การนำกฎหมาย แผน นโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจัง (ค่าเฉลี่ย 4.01) การจัดหาสถานที่กำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ (ค่าเฉลี่ย 3.99) และการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.99) ตามลำดับ (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง

ประเด็นความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ค่าเฉลี่ย (X) S.D.
การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย 3.54 1.06
การจัดทำทางเดินเท้าและทางจักรยานที่สวยงามและปลอดภัย 3.50 0.92
การปรับปรุงหรือจัดทำพื้นที่สวนสาธารณะ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ 3.51 1.01
การควบคุมประเภทและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดมลพิษ 3.19 1.28
การจัดหาสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เหมาะสมและเพียงพอ 3.25 1.13
การอนุรักษ์และสงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่าไม้ ฯลฯ 3.46 1.19
การใช้มาตรการบริหารการจราจร เช่น การควบคุมที่จอดรถ การจัดการระบบการเดินรถ ฯลฯ 3.67 0.82
การจัดหาและพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ 3.48 0.88
การแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด 3.64 0.88
การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมและขนส่งให้เกิดความเชื่อมโยงและทั่วถึง 3.66 0.98
การจัดหาระบบบาบัดน้ำเสียภายในชุมชน 3.74 0.92
การแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 3.92 0.94
การจัดหาสถานที่กำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ 3.99 0.99
การจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ 3.99 0.94
การนำกฎหมาย แผน นโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจัง 4.01 1.00
รวม 3.64 1.00

ที่มา : จากการแจกแบบสอบถาม พ.ศ.2560

บทสรุป 

     การตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเทศบาลตำบลทองผาภูมิมีการกระจุกตัวหนาแน่นบริเวณถนนเทศบาลสายหลักต่อเนื่องไปจนถึงบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3272 สอดคล้องกับลักษณะการตั้งถิ่นฐานตามแนวยาว (Linear Settlement) ที่อาคารและสิ่งก่อสร้างจะเรียงตัวเป็นแนวยาวตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือถนน เพื่อความสะดวกในการเดินทางและการใช้ประโยชน์จากการแม่น้ำ ลำคลองในการอุปโภค บริโภค (ชุมพล สุรินทราบูลย์, 2552) โดยปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองในพื้นที่ มีทั้งในลักษณะของการร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การลดลงและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่สีเขียว และการเกิดขึ้นของปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น การประสบปัญหาน้ำเน่าเสียและเสื่อมโทรม การเกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง เป็นต้น 

     ทั้งนี้ ประชาชนมีความพึงพอใจในการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและขยายตัวของเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ การเพิ่มขึ้นของอาคาร ที่พักอาศัย ร้านอาหารหรือรีสอร์ทบริเวณริมแม่น้ำแควน้อย ในขณะที่ ความพึงพอใจในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมีเพียงเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนมีแนวโน้มของการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและขยายตัวของเมือง หากมีการควบคุมและดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างเหมาะสม ในด้านของการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ จะเห็นได้ว่า ประชาชนให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยประชาชนมีความต้องการให้จัดหาสถานที่กำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการจัดเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพในระดับมาก นอกจากนั้น การนำกฎหมาย แผน นโยบายในการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจังในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง ยังเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสำคัญมาก 

ข้อเสนอแนะ

     1. วางแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการวางแผนการจัดการขยะมูลฝอย ที่คำนึงถึงทั้งในเรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอยและความเป็นพิษของขยะมูลฝอย การหมุนเวียนและนำกลับมาใช้ใหม่ การรวบรวมและขนส่ง ตลอดจน การจัดหาสถานที่และการดำเนินการกำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะจะช่วยแก้ไขปัญหาขยะตกค้างและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ (Pichtel, 2014)
     2. เร่งดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวม แม้ความต้องการของประชาชนที่มีต่อการควบคุมประเภทและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ก่อให้เกิดมลพิษจะอยู่ในระดับปานกลาง แต่การเร่งดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองในพื้นที่ศึกษา จะนำมาซึ่งการตอบสนองความต้องการประชาชนในระดับมาก ทั้งในเรื่องการนำกฎหมายมาใช้อย่างจริงจัง การพัฒนาพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย การจัดหาสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เหมาะสมและเพียงพอ ฯลฯ 
     3. ควบคุมกิจกรรมและลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณริมแม่น้ำอย่างเข้มงวด การนำกฎหมายมาใช้อย่างเข้มงวด เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร ฯลฯ นอกจากจะเป็นการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอาคาร ที่พักอาศัย ร้านอาหารหรือรีสอร์ทบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา
     4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพอเพียงและได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงและดูแล รักษาสวนสาธารณะให้มีทัศนียภาพที่สวยงามและเหมาะสมแก่การใช้งาน การซ่อมแซมเส้นทางการจราจรให้ได้มาตรฐาน และการพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ให้มีความเชื่อมโยงและเป็นไปอย่างทั่วถึง การส่งเสริมการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียติดกับที่ (Onsite Treatment) ฯลฯ (สำนักจัดการคุณภาพน้ำ, ม.ป.ป.) จะช่วยยกระดับความพึงพอใจในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองในพื้นที่ ป้องกันการเกิดขึ้นของปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม และช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนมากขึ้น

กิตติกรรมประกาศ
     บทความนี้พัฒนาและปรับปรุงมาจากสารนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี” อันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรการผังเมืองบัณฑิต สาขาวิชาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2559  

เอกสารอ้างอิง
เจมส์ แอล เครตัน. 2545. คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. แปลโดย วันชัย วัฒนศัพท์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
ชุมพล สุรินทราบูลย์. 2552. วิวัฒนาการการตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย. เอกสารประกอบการสอนวิชา ผม.205. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
ประคอง กรรณสูตร. 2542. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธาการพิมพ์.
สำนักงานเทศบาลตำบลทองผาภูมิ. 2560. แผนพัฒนาสามปี เทศบาลตำบลทองผาภูมิ พ.ศ.2558-2560. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.tpm.go.th/phan%203%20years.pdf [5 มีนาคม 2560]
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ/รายงานสถิติจังหวัด/สำรวจพิเศษ. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://kanchanaburi.old.nso.go.th/nso/project/search/index.jsp? province_id=21&fid=1 [12 กุมภาพันธ์ 2560]
สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. ม.ป.ป. น้ำเสียชุมชนและระบบบำบัดน้ำเสีย. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://www.pcd.go.th/info_serv/water_wt.html [24 ตุลาคม 2558]
Pichtel, J. 2014. Waste Management Practices: Municipal, Hazardous, and Industrial. 2nd ed. New York: Taylor and Francis Group.

สนับสนุนโดย


บทความอื่นๆ

Read More

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการแจ้งเตือนภัยพิบัติแผ่นดินไหวของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดเชียงราย

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี