“ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School) โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย

บทคัดย่อ

“ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School) โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย พิชญา ปิยจันทร์ นักวิชาการอิสระด้านการศึกษาและครูการศึกษาพิเศษ



ที่มา: Oak Tree Nursery, Bath Spa University (2016)
พิชญา ปิยจันทร์. (2561). “ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School)โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 2), 5-13.

“ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School)

โรงเรียนทางเลือกในป่ากว้างสำหรับทุกวัย

พิชญา ปิยจันทร์ 
นักวิชาการอิสระด้านการศึกษาและครูการศึกษาพิเศษ

บทนำ

การศึกษาทางเลือก ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการเรียนและการพัฒนาแบบองค์รวมของเด็ก ๆ นอกเหนือจากการเรียนเพื่อคะแนน หรือการเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปกครองชนชั้นกลางและชนชั้นกลางกลุ่มที่มีรายได้ระดับสูง ความนิยมในการศึกษาทางเลือกส่วนหนึ่งเกิดจาก “การศึกษาที่ดีที่สุดในโลก” ของประเทศฟินแลนด์ ที่เด็ก ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการ “เล่น” แต่ยังคงทำคะแนนสอบในโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (The Programme for International Student Assessment:PISA) ได้ดีเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก (Anderson & Wang, 2016) เด็ก ๆ ในประเทศแถบทวีปสแกนดิเนเวียหรือยุโรปเหนือ รวมถึง ประเทศฟินแลนด์จะได้รับการปลูกฝังให้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสังเกตและลงมือทำมาตั้งแต่การเรียนในระดับอนุบาล ซึ่ง “ฟอเรสต์ สคูล” (Forest School) หรือโรงเรียนในป่าเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ (Walker, 2016) นอกจากนี้ ประเทศฟินแลนด์เริ่มหันมาใช้รูปแบบการเรียนที่เน้นการเรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและการลงมือปฏิบัติจริง หรือที่เรียกว่า “Phenomenon-Based Learning” (PBL) (BBC, 2017) ในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ได้มากขึ้นและเปิดโอกาสให้นักเรียนมีเสรีภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 

การศึกษาของประเทศฟินแลนด์ข้างต้นเป็นตัวอย่างของการปรับรูปแบบการศึกษาโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามนโยบายที่คำนึงถึงความเท่าเทียมกันของคนในชาติเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับครู ทำให้การศึกษากลายเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประจำชาติ (Nainapat, 2017) ในที่สุด

สำหรับในประเทศไทยนั้น การศึกษาใด ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับจุดเน้นของหลักสูตรแกนกลางซึ่งเป็นการศึกษากระแสหลักในระบบโรงเรียนและมุ่งตอบสนองความต้องการที่แตกต่างของผู้เรียน หากไม่ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร (extracurricular activities) แล้ว จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดการศึกษาทางเลือก (alternative education) ทั้งสิ้น โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2542  นิยามการศึกษาทางเลือกไว้ว่า 

“การศึกษาทางเลือก คือ การศึกษาที่มีรูปแบบแตกต่างจากการศึกษากระแสหลัก เป็นการศึกษาที่มีขอบเขตกว้างขวาง มีหลายรูปแบบทั้งเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ เนื่องจากมุ่งตอบสนองการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความพร้อมในการเรียนรู้ รวมถึงความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมของวิถีชีวิต ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายทางชาติพันธุ์” (สํานักงานปฏิรูปการศึกษา, 2544)

อย่างไรก็ตาม “ฟอเรสต์ สคูล” ยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย โรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” มักเป็นโรงเรียนเอกชนทางเลือก เช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ หรือโรงเรียนนานาชาติชั้นนำ เป็นต้น นอกจากนี้ คำว่า “ฟอเรสต์ สคูล” หรือ “โรงเรียนในป่า” มักถูกเข้าใจว่าเป็นการจัดการศึกษาแก่ชนกลุ่มน้อย เด็กยากจน หรือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ทุรกันดาร ทั้ง ๆ ที่ “ฟอเรสต์ สคูล” มีหลักการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนใส่ใจและเข้าใจธรรมชาติ โดยในขณะเดียวกันก็พัฒนาผู้เรียนจากภายในด้วย


ที่มา: Naure Play QLD (2016)

หลักการของ “ฟอเรสต์ สคูล”

การจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” มีความหมายอย่างกว้าง หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และสำรวจการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติในแต่ละฤดู กิจกรรมของฟอเรสต์ สคูลจะเปลี่ยนไปตามรูปแบบและวัตถุประสงค์ของการเรียนในครั้งนั้น ๆ โดยกิจกรรมต่าง ๆ จะถูกร้อยเรียงเข้าด้วยกันผ่านหลักการสำคัญ 6 ประการ (Institute for Outdoor Learning, 2012) ดังต่อไปนี้
   1. จัดการศึกษาระยะยาวในป่าหรือในพื้นที่ธรรมชาติ และให้ผู้เรียนเข้าร่วมอย่างสม่ำเสมอ หลักสำคัญของการจัดกิจกรรม จะเน้นการวางแผน การปรับตัว การสังเกต และการทบทวน
   2. กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นพัฒนาและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ
   3. จัดกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม ปลูกฝังความอดทน มุมานะ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ความมั่นใจในตนเอง พึ่งพาตนเองได้และมีความคิดสร้างสรรค์
   4. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองรับความเสี่ยงในการทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะกับทักษะความพร้อมของผู้เรียน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ
   5. ดำเนินการโดยครู หรือผู้นำกิจกรรม ผู้ผ่านการอบรมพัฒนาทักษะจากศูนย์ “ฟอเรสต์ สคูล” ที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น และต้องได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะอยู่เสมอ
   6. จัดกิจกรรมโดยเน้นการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และการพัฒนา
จากหลักการจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” ทั้ง 6 ประการจะเห็นได้ว่า ล้วนมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น 

กิจกรรมของ “ฟอเรสต์ สคูล”

โดยทั่วไปแล้ว ครูผู้นำกิจกรรมจะออกแบบกิจกรรมที่เน้นความเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการในตัวนักเรียนเป็นสำคัญ ซึ่งกิจกรรมจะถูกวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้าบางส่วน เมื่อถึงเวลาดำเนินกิจกรรม ครูและผู้รับผิดชอบจะพานักเรียนออกเดินทางไปยังพื้นที่ป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียน ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 15 นาที ครูจะเปิดโอกาสให้นักเรียนสำรวจและทำความคุ้นเคยกับพื้นที่นั้น ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจและเสริมทักษะการพึ่งพาตัวเองของนักเรียน นักเรียนบางคนอาจใช้เวลาทำความคุ้นเคยกับพื้นที่ป่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์

สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมาหลายครั้งแล้ว ครูอาจมอบหมายให้ก่อกองไฟเพื่อทำอาหารในป่าได้อีกด้วย ซึ่งนักเรียนจะต้องใช้เวลาฝึกฝนทักษะการก่อกองไฟและผ่านการสอบปฏิบัติก่อนที่จะก่อกองไฟด้วยตัวเอง นอกจากนี้ นักเรียนต้องวางแผนการทำอาหาร ตลอดจนวางมาตรการรักษาความปลอดภัยของตนเองอย่างละเอียด ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของการวางแผน คือ การบูรณาการความรู้และพัฒนาทักษะของนักเรียนนั่นเอง (O’Brien & Murray, 2006)


รูปภาพที่ 1   กระบวนการคิดในการก่อกองไฟขั้น การเตรียมฟืน

ในแต่ละกระบวนการเรียนรู้ (รูปภาพที่ 1) เด็ก ๆ จะได้ฝึกคิดอย่างละเอียดและได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยจะต้องบันทึกผลการปฏิบัติทุกครั้ง นักเรียนจะได้ฝึกเปรียบเทียบว่า กิ่งไม้สดหรือกิ่งไม้แห้งทีนำมาใช้ กิ่งไม้ประเภทใดจะสามารถก่อไฟได้ดีกว่ากัน โดยครูสามารถเชื่อมโยงการเรียนเรื่องนี้เข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ได้ การคำนวณขนาดและจำนวนเป็นการฝึกบวกและลบเลขในวิชาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้ นักเรียนจะได้ฝึกพูดและนำเสนอความคิดของตน ตลอดจนการถาม การตอบปัญหา และข้อสงสัยกับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นการฝึกทักษะและพัฒนาการทางภาษาอีกด้วย จะเห็นได้ว่า กิจกรรมบางส่วนของฟอเรสต์ สคูลมีความคล้ายคลึงกับการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดในประเทศไทยอยู่มากตรงที่นักเรียนได้ฝึกทักษะชีวิต อย่างไรก็ตาม ฟอเรสต์ สคูลเน้นให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้จากวิชาต่าง ๆ ฝึกพัฒนาตนเอง ตลอดจนได้เรียนรู้การเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติมากกว่ากลุ่มวิชาลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาดที่ส่วนใหญ่เน้นทักษะการเอาตัวรอดในยามคับขัน นอกจากนี้ ฟอเรสต์ สคูล ยังเน้นให้นักเรียนฝึกฝนทักษะจนชำนาญและเกิดความมั่นใจก่อนที่จะลงมือทำตั้งแต่ต้นจนจบอีกด้วย

ทั้งนี้ นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับ “ฟอเรสต์ สคูล” ได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงมัธยมศึกษา นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เหมือนนักเรียนปกติ โดยครูผู้รับผิดชอบจะออกแบบกิจกรรมให้เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ (learning style) ของผู้เรียน และใช้รูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล เช่น เน้นใช้คำสั่งที่เป็นรูปภาพกับนักเรียนที่อ่านเขียนไม่คล่อง เขียนคำสั่งให้เข้าใจง่ายและมีลำดับขั้นตอนชัดเจนเพื่อให้นักเรียนออทิสติกเข้าใจได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

ผลของการจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล”

หลักการข้อหนึ่งของ “ฟอเรสต์ สคูล” คือ การสร้างความผูกพันของเด็ก ๆ กับธรรมชาติรอบตัว รายงานการวิจัยที่ศึกษาด้านความเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติของผู้เรียนต่อผืนป่าและสิ่งแวดล้อมหลายฉบับชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนมีความสนใจและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมของ “ฟอเรสต์ สคูล” (Institute for Outdoor Learning, 2012; Turtle, Convery, Convery, และ Huang, 2015) ผลการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การปลูกฝังให้เด็ก ๆ รักและผูกพันกับธรรมชาติอาจทำได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ ครูยังสามารถเพิ่มกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกอนุรักษ์ธรรมชาติแก่เด็ก ๆ ได้อีกด้วย

การจัดการศึกษาแบบ “ฟอเรสต์ สคูล” ส่งผลต่อผู้เรียนและครู สรุปได้ดังนี้

1. ผลต่อผู้เรียน
การที่ผู้เรียนได้ใช้เวลาในธรรมชาติ ทำให้พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญและความเชื่องโยงระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ นอกจากนี้ “ฟอเรสต์ สคูล” ยังช่วยพัฒนาทักษะในตัวผู้เรียนได้หลาย ๆ ด้าน ดังแสดงในตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ทักษะด้านต่าง ๆ ที่ได้รับการพัฒนาหลังจากเข้าร่วม “ฟอเรสต์ สคูล”

ทักษะ  แนวทางการพัฒนาทักษะ  พฤติกรรมของผู้เรียน
ความมั่นใจในตนเอง
(Confidence)
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ จะได้รับการฝึกฝนให้เคยชินกับกิจวัตรและกิจกรรมต่าง ๆ มีโอกาสได้สำรวจพื้นที่และเรียนรู้ตามความต้องการของตน  นักเรียนมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนมากขึ้น สามารถสื่อสารด้วยความมั่นใจไปยังผู้เรียนคนอื่นหรือครู ผ่านภาษากาย สายตา และคำพูดได้ นอกจากนี้ นักเรียนยังรู้สึกผ่อนคลาย เป็นตัวของตัวเองและมีความกระตือรือร้นมากขึ้น
การเข้าสังคม 
(Social Skills)
นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้ทำงานและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการแบ่งปันอุปกรณ์ และได้รับการส่งเสริมให้เล่นเกมที่ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน นักเรียนมีทักษะการต่อรองในการทำงานกลุ่ม มีพฤติกรรมเชิงบวกเมื่อคุยกับเพื่อนและเสนอความช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส นอกจากนี้ นักเรียนยังสนุกกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมแบบกลุ่ม และชักชวนผู้อื่นให้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มมากกว่าทำกิจกรรมคนเดียว
ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
(Language and communication)
นักเรียนได้รับโอกาสให้สื่อสารอย่างเสรี มีการพูดคุยโต้ตอบกับครูและเพื่อนร่วมกิจกรรม นอกจากการใช้ภาษาพูดแล้ว นักเรียนยังสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดในการเรียนรู้เพื่อสร้างจินตนาการเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง  นักเรียนสามารถต่อรองและสื่อสารกับกลุ่มเพื่อนได้ และรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องสื่อสารกับเพื่อน ๆ หรือผู้ใหญ่ การใช้ภาษาทั้งการพูดและการเขียนพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
ความมุ่งมั่นและความตั้งใจ
(Motivation and concentration)
ผู้เรียนได้รับโอกาสให้เรียนรู้ตามความถนัดของแต่ละคน ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ การต่อยอดทางความคิด โดยไม่จำกัดอยู่กับการเขียนและทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน เด็ก ๆ มีความกระตือรือร้นต่อการเข้าร่วมกิจกรรม “ฟอเรสต์ สคูล” และกลับมาเล่าประสบการณ์ให้เพื่อน ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมฟัง ตลอดจนแสดงให้เห็นว่ามีความรู้เกี่ยวกับป่าและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น สามารถบอกชนิดของสัตว์และต้นไม้ได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองของนักเรียนจะมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับ “ฟอเรสต์ สคูล” มากขึ้นเพราะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์ดี ๆ จากลูก ๆ ด้วย
พัฒนาการทางด้านร่างกาย 
(Physical skills)
การเดินในป่า ซึ่งไม่ง่ายนัก พื้นผิวที่ขรุขระ บางครั้งเปียกและเป็นโคลน การใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงมาก และต้องอาศัยการตื่นตัวอยู่เสมอ รวมทั้ง การทำกิจกรรมตลอดเวลา กิจกรรมเหล่านี้ทำให้พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กดีขึ้น กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ได้พัฒนาเต็มที่ เด็ก ๆ เคลื่อนไหวได้คล่องตัวขึ้น ไม่ล้มง่าย หยิบจับอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่เหนื่อยง่าย มีความระแวดระวังเกี่ยวกับพื้นที่รอบตัว มีความกระตือรือร้นและอยากสัมผัสพื้นผิวใหม่ ๆ มีความอดทนมากขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับการเดินทางในป่าที่ค่อนข้างลำบาก
ความรู้และความเข้าใจ 
(Knowledge and Understanding)
ผู้เรียนได้รับโอกาสให้เรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ การเรียนรู้ในการทำตามกติกาเพื่อรักษาความปลอดภัยต่อตนเองและคนรอบข้าง หมั่นสังเกตว่าสิ่งใดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย และการป้องกันแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้ ผู้เรียนยังได้รับการสนับสนุนให้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมด เพื่อสังเกตสัตว์ป่าและพรรณพืชรอบตัว ผู้เรียนจดจำและบอกชนิดสัตว์ป่าและพรรณพืชรอบตัวได้ และมีความสงสัยใคร่รู้เกี่ยวกับโลกรอบตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้เรียนยังรู้สึกหวงแหนสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ที่มา: O’Brien และ Murray (2006)

2. ผลต่อครู
“ฟอเรสต์ สคูล” ส่งผลดีต่อครูและผู้ใหญ่หลายประการด้วยกัน โดยข้อที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ใหญ่ได้รู้จักเด็กแต่ละคนมากขึ้น ทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ ต่อนักเรียนของตน (Harris, 2017) เนื่องจากนักเรียนอาจกลายเป็นอีกคนหนึ่งเมื่อได้ทำกิจกรรมในธรรมชาติ เช่น แสดงความใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างเต็มที่ต่างจากที่เคยง่วงเหงาหาวนอนในชั้นเรียน นักเรียนบางคนอาจสงบขึ้นเมื่ออยู่ในป่า ทั้ง ๆ ที่ไม่สามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้ในชั้นเรียน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้ผู้สอนได้ตระหนักถึงความแตกต่าง (difference) และความเฉพาะตัว (uniqueness) ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งทำให้สามารถนำไปปรับใช้กับแนวทางการสอนในชั้นเรียนได้


ที่มา: Essex Wildife Trust Forest School (n.d.) และ The Coach House Day Nursery (2018)

สรุป
การจัดการศึกษาสมัยใหม่ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่เน้นจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ “ฟอเรสต์ สคูล” เป็นหนึ่งในตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานที่ ที่บูรณาการทั้งด้านทักษะชีวิต การพัฒนาทักษะด้านร่างกาย การสังเกต ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมกับความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ นอกจากนี้ “ฟอเรสต์ สคูล” ยังเหมาะกับผู้เรียนทั้งที่มีพัฒนาการปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ เนื่องจากกิจกรรมต่าง ๆ ได้ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน เพราะครูผู้ผ่านการอบรมจาก “ฟอเรสต์ สคูล” จะเป็นผู้ที่มีความคิดละเอียดอ่อน สามารถผลิตและออกแบบสื่อการสอนและกิจกรรมให้เหมาะกับผู้เรียนได้ “ฟอเรสต์ สคูล” จึงไม่ได้เป็นเพียงแค่การศึกษาทางเลือกที่ใช้ป่าเป็นห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาให้เกิดความเท่าเทียมทางการเรียนรู้ตลอดจนความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันของผู้เข้าร่วมทุกคนอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง
สํานักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Anderson, J., and Wang, A.X. (2016). In the world’s biggest education test, one small country has raced past all the others. [Online]. Available form: https://qz.com/853656/massachusetts-ranks-nears-singapore-the-education-powerhouse-in-global-assessment-of-15-year-olds-who-are-the-best-students-in-the-world-according-to-pisa-2015/ [20 February 2018]
BBC. (2017). ระบบการเรียนรูปแบบใหม่ในฟินแลนด์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bbc.com/thai/international-40093564. [1 February 2018]
Harris, F. (2017). The nature of learning at forest school: practitioners' perspectives. International Journal of Primary, Elementary and Early Years Education 45(2): 272-291.
Institute for Outdoor Learning. (2012). What is Forest School? [Online]. Available form: http://www.forestschoolassociation.org/what-is-forest-school/ [1 February 2018]
Nainapat, P. (2017). บุกการศึกษาฟินแลนด์ : ระบบการเรียนแท้จริงเป็นยังไง เรื่องไหนเข้าใจถูกผิด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://thematter.co/pulse/a-little-bit-more-about-finland-education/20261 [1 February 2018]
O’Brien, L., and Murray, R. (2006). A marvellous opportunity for children to learn. [Online]. Available form: https://www.forestry.gov.uk/pdf/fr0112forestschoolsreport.pdf/$FILE/ fr0112forestschoolsreport.pdf [20 February 2018]
Turtle, C., Convery, I., and Convery, K. (2015). Forest Schools and environmental attitudes: A case study of children aged 8–11 years. Cogent Education 2(1): 1-14. doi: 10.1080/2331186X.2015.1100103
Walker, T.D. (2016). Kindergarten, Naturally. [Online]. Available form: https://www.theatlantic.com/ education/archive/2016/09/kindergarten-naturally/500138/ [20 February 2018]

 

สนับสนุนโดย

 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์