บทความ: ข้อเท็จจริง “พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP)

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการบอกเล่าถึงข้อเท็จจริงของพลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้ใช้และผู้บริโภค โดยการบอกกล่าวถึงนิยามต่าง ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน และมาตรฐานที่ต้องมีการรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ ว่าสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและสลายตัวได้ทางชีวภาพ


การอ้างอิง: ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์, สุจิตรา วาสนาดำรงดี (2562). ข้อเท็จจริง “พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP). วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 2).


บทความ: ข้อเท็จจริง “พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP)

ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์1, สุจิตรา วาสนาดำรงดี2
1ผู้ช่วยศาสตราจารย์, คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
2สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


พลาสติกย่อยสลายได้แบบ “EDP” ที่แท้จริงต้องได้มาตรฐาน Compostable plastics ตามข้อกำหนดพลาสติกสลายตัวได้ เช่น ISO 17088 (สากล) หรือ ASTM D6400 (สหรัฐอเมริกา) หรือ EN 13432 (ยุโรป) หรือ มอก. 17088-2555 (ไทย)  

• การผสมสารที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เช่น สารกลุ่มแป้ง ลงในพลาสติกที่ใช้ทั่วไป (PE, PP, PS, PET, PVC) เป็นการทำให้เกิดการแตกตัวออกเป็นชิ้น หรือการผสมสารประเภทออกโซ (Oxo) เพื่อเร่งให้เกิดการแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ในระยะเวลาสั้น หรือพลาสติกทั่วไปที่ผสมทั้งแป้งและออกโซไปด้วยกัน เหล่านี้ล้วนสร้างความเสี่ยงในการเพิ่มและสะสมไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม


ตัวย่อที่ใช้บทความ
PE = Polyethylene
PP = Polypropylene
PS = Polystyrene
PET = Polyethylene terephthalate
PVC = Polyvinyl Chloride
PLA = Polylactic acid
PBS = Polybutylene succinate
PCL = Polycaprolactone


ปฏิเสธไม่ได้ว่าในทศวรรษนี้เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน (Transition) จากเศรษฐศาสตร์แบบเชิงเส้น (Linear economy) เป็นเศรษฐศาสตร์หมุนเวียน (Circular economy)  เศรษฐศาสตร์แบบเชิงเส้นนั้นมุ่งเน้นไปในการนำทรัพยากรจากธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์  เมื่อผลิตภัณฑ์เหล่านั้นถูกใช้งานและสิ้นสุดการใช้งานก็จะกลายเป็นของเสีย หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Take-Make-Waste (Ellen MacArthur Foundation, 2019) ในขณะที่เศรษฐศาสตร์หมุนเวียนจะสนใจการออกแบบผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงชีวิต (Ellen MacArthur Foundation, 2017) ตั้งแต่การแทนที่ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปด้วยทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้ (Renewable resources) ไปจนถึงทางเลือกในการจัดการหลังการใช้งาน (End-of-life option) ไม่ว่าจะเป็นการรีไซเคิลหรือการนำส่วนประกอบต่าง ๆ หมุนเวียนคืนสู่ธรรมชาติอย่างสมดุลและปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน การออกแบบนั้นก็ควรต้องคำนึงถึงผลกระทบอย่างครบถ้วน รวมทั้งมีระบบจัดการที่รองรับกับพลาสติกหลังการใช้งาน พลาสติกที่แตกสลายทางชีวภาพได้ (Biodegradable plastics) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจในชื่อ “พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” (โดยผู้เขียนจะใช้คำนี้ตลอดบทความนี้เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปเข้าใจได้ง่าย) เป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนผ่านนี้เนื่องจากแหล่งวัตถุดิบนั้นมาจากทรัพยากรที่เกิดทดแทนได้เอง ในขณะที่จะต้องเพิ่มการรีไซเคิลของพลาสติกทั่วไป การออกแบบให้การใช้งานมีอายุนานขึ้น และการจัดการหลังการใช้ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้ใช้และผู้บริโภค ผู้เขียนจึงได้อธิบายเกี่ยวกับ“พลาสติกที่ย่อยสลายได้ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP) ที่เป็นคำที่กำลังถูกนำมาใช้กันในบางประเทศ

พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 
ภายใต้เงื่อนไข และ ระยะเวลา

United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) ที่เป็นหน่วยงานเดียวที่อธิบายคำว่า “EDP” ไว้อย่างเป็นระบบ (UNIDO, 2003 และ 2007) ได้อธิบายว่า EDP หมายถึง กลุ่มพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ โดยแบ่งเป็นพลาสติกจากธรรมชาติ เช่น แป้ง และเพคติน และพลาสติกที่มาจากการสังเคราะห์ เช่น พอลิแลคติคแอซิด (PLA) และพอลิคาร์โปแลคโตน (PCL) เป็นต้น (UNIDO, 2007) นอกจากนี้ UNIDO ยังระบุว่า EDP เป็นกลุ่มสารโพลีเมอร์ธรรมชาติและโพลีเมอร์สังเคราะห์ที่สามารถเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีภายใต้ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีนั้นจะต้องตามด้วยการย่อยสลายและการดูดซึมของจุลินทรีย์จนได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งการย่อยสลายและการดูดซึมนี้ต้องเกิดขึ้นได้รวดเร็วเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการสะสมของสารในสิ่งแวดล้อม (UNIDO, 2003) ทั้งนี้ UNIDO ได้เน้นย้ำว่า อัตราการย่อยสลายทางชีวภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะแยก EDP ออกจากโพลีเมอร์อื่น ๆ เช่น โพลิเอทิลีน (PE) ที่ไม่อาจย่อยสลายได้รวดเร็วเพียงพอ และอัตราการย่อยสลายของ EDP จะอิงกับมาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ว่าสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและสลายตัวได้ทางชีวภาพ (UNIDO, 2003) 

Biodegradable plastic vs Compostable plastic
ปัจจุบัน มีการใช้ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง 2 คำ คือ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable plastic) และพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพโดยการหมักแบบใช้ออกซิเจน (Compostable plastic) ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ “พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable plastic)” หมายถึง พลาสติกที่ย่อยสลายได้โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิต โดยสามารถเกิดการย่อยได้อย่างสมบูรณ์ (เกิดน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์หรือมีเทนและชีวมวล) หากอยู่ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม (เช่น จุลินทรีย์ ความชื้น และความร้อน ที่เหมาะสม เป็นต้น) แต่นิยามนี้ไม่ได้มีเงื่อนไขของเวลามาเกี่ยวข้องจึงครอบคลุมพลาสติกจำนวนมากที่อาจใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายหลายสิบปีหรือร้อยปี ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาไม่ต่างจากพลาสติกทั่วไป คือ การเกิดปัญหาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น เพื่อไม่ให้คลุมเครือหรือเกิดความสับสน จึงมีการกำหนดนิยามที่เหมาะสมขึ้นมาใหม่ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขในการย่อยสลายและระยะเวลาที่เหมาะสมเอาไว้ โดยใช้คำว่า “พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพโดยการหมักแบบใช้ออกซิเจน (Compostable plastic)” หมายถึง พลาสติกที่สามารถสลายตัวเป็นแร่ธาตุและสารประกอบในธรรมชาติ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และชีวมวล พลาสติกชนิดนี้สามารถสลายตัวทางชีวภาพในสภาวะควบคุมที่เหมาะสมในการหมักปุ๋ยระดับอุตสาหกรรมหรือเครื่องหมักปุ๋ยจากเศษอินทรีย์ที่เป็นการหมักแบบใช้ออกซิเจน ดังนั้น พลาสติกที่มีการติดป้าย “compostable” (โดยนัยยะว่าเป็นพลาสติกที่ควรผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดสากล ISO 17088, EN13432 หรือ ASTM 6400) จะช่วยทำให้การจัดเก็บรวบรวมนำไปจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การนำไปผ่านกระบวนการทำปุ๋ยหมักที่มีแร่ธาตุหรือได้ฮิวมัส สามารถนำไปปลูกพืชต่อไป ในขณะที่พลาสติกที่ติดป้าย “biodegradable” จะไม่สามารถบอกถึงแนวทางการนำไปกำจัดหรือจัดการได้ 

ตั้งแต่อดีต อุตสาหกรรมพลาสติกพยายามแก้ปัญหาพลาสติกที่มีคุณสมบัติคงทนมาก ย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติด้วยการเติมสารเติมแต่งประเภทแป้งหรือสารอินทรีย์อื่น ๆ เมื่อแป้งถูกจุลินทรีย์ย่อยแล้ว เศษชิ้นส่วนพลาสติกก็จะแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งในช่วงปีทศวรรษ 1980s ผู้ผลิตเรียกพลาสติกในลักษณะนี้ว่า เป็น “พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” (Biodegradable plastics) ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 Narayan et al. ได้ออกมาบ่งชี้ว่า การเติมแป้ง (ร้อยละ 6-15) ในพลาสติกประเภท PE และ โพลิโพรพิลีน (PP) ในความเป็นจริง เป็นกระบวนการทำให้พลาสติกแตกตัว (Disintegration หรือ Fragmentation) เท่านั้น มิได้ย่อยสลายได้ทางชีวภาพอย่างสมบูรณ์ มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า ส่วนผสมที่เป็นแป้งหรือสารอินทรีย์เท่านั้นที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ แต่พลาสติก PE หรือ PP ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายยากยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อม (Rudnik, 2012; Bioplastics Division of Plastics Industry Association, 2018)  ทั้งนี้ พลาสติกที่มีการเติมสารเติมแต่งเพื่อเร่งให้พลาสติกแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ เร็วขึ้นนั้นถูกเรียกว่าเป็นพลาสติกชนิดออกโซ (Oxo-degradable plastic) ในหลายกรณี ผู้ผลิตเลี่ยงไปใช้คำว่า Oxo-biodegradable plastic เพื่อให้ดูว่าย่อยสลายได้ทางชีวภาพ แต่ก็เป็นพลาสติกประเภทเดียวกัน (European Commission, 2018) สารเติมแต่งในกลุ่มนี้จะช่วยทำให้พลาสติกทั่วไป เช่น PE, PP, PS, PET, PVC แตกตัวเป็นชิ้นเล็กลง และมีจำนวนมากขึ้น โดยจะเกิดขึ้นในสภาวะที่มีแสง ความชื้นหรือความร้อน หรือสภาวะทางกายภาพ (สภาวะอากาศ)

จากความสับสนเกี่ยวกับ “พลาสติกที่ย่อยสลายได้” ดังกล่าว ทำให้หน่วยงานระหว่างประเทศที่รับผิดชอบเรื่องมาตรฐาน อาทิ International Organization for Standardization (ISO), American Organization for Standardization (ASTM), European Organization for Standardization (EN) ได้พัฒนาคำจำกัดความและมาตรฐานเกี่ยวกับการย่อยสลายได้ของพลาสติกซึ่งจะต้องไม่เพียงแต่ “ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” (Biodegradable) แต่จะต้องแปรสภาพเป็นปุ๋ยได้หรือสลายตัวได้ทางชีวภาพภายใต้การหมักแบบใช้ออกซิเจนและภายในระยะเวลาที่เหมาะสม (Compostable plastic) ด้วย โดยในปัจจุบันมาตรฐานสากลที่รับรองว่าเป็น “พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพโดยการหมักแบบใช้ออกซิเจน” (Compostable plastics) ได้แก่ ISO 17088 (สากล) ASTM D6400 (สหรัฐอเมริกา) EN 13432 (ยุโรป) มอก. 17088-2555 (ไทย)1 

ตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงว่า พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คือ การวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นดัชนีแสดงกิจกรรมจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมาตรฐาน มอก.17088-2555 และมาตรฐานพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable plastic standards) ต่าง ๆ กำหนดให้คาร์บอนในพลาสติกต้องเปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตามทฤษฎี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน

ส่วนพลาสติกชนิดออกโซนั้น นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้ตรวจสอบระดับการย่อยสลายได้ทางชีวภาพและความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่บ่งชี้ว่า พลาสติกที่เกิดจากกระบวนการ Oxidation หรือกระบวนการย่อยสลายได้ด้วยแสง ความร้อน ฯลฯ แล้ว พลาสติกที่แตกตัวเป็นชิ้นเล็กก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชี้ชัดว่า ชิ้นส่วนที่แตกออกนี้จะสามารถถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์ได้ โดยกระบวนการย่อยสลายได้ทางชีวภาพต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานเกินกว่าระยะเวลาที่ผู้ผลิตพลาสติกออกโซกล่าวอ้าง ซึ่งกระบวนการนี้ย่อมจะทำให้เกิดปัญหาไมโครพลาสติกสะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความเสี่ยงของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ (รายละเอียดดูใน EU Report 2016; Bioplastics Division of Plastics Industry Association, 2018) ด้วยเหตุนี้ ในช่วงปลายปี 2560 องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาคธุรกิจ กลุ่มพลาสติก เอ็นจีโอ นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการและมหาวิทยาลัยกว่า 150 องค์กรได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกแบนพลาสติกชนิดออกโซ (Ellen McArthur Foundation’s New Plastics Economy, 2017)  อีกทั้งพลาสติกทั่วไป (PE, PP, PS, PET, PVC) ที่เติมสารชนิดออกโซยังไม่เหมาะกับการใช้ซ้ำ (เพราะอาจแตกเป็นชิ้นในระหว่างเก็บ) เป็นปัญหากับการรีไซเคิล (เมื่อปะปนกับพลาสติกทั่วไปจะทำให้กระบวนการพลาสติกรีไซเคิลมีคุณภาพที่ควบคุมไม่ได้หรือแย่ลง) หรือการทำปุ๋ย (European Commission, 2018) ทั้งนี้ สหภาพยุโรปอยู่ในระหว่างการออกกฎหมายเพื่อห้ามผลิตและใช้พลาสติกชนิดออกโซและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอื่น ๆ (Aljazeera, 28 March 2019) เช่นเดียวกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายที่จะยกเลิกการใช้พลาสติกชนิดออกโซและพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอื่น ๆ รวม 7 ชนิด (รูปที่ 1) ภายใต้ร่าง Roadmap การจัดการขยะพลาสติกและร่างแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2562)


รูปที่ 1 พลาสติก 7 ชนิด ที่จะถูกยกเลิกใช้ในประเทศไทย
(ที่มา: Facebook กรมควบคุมมลพิษ และ Wjiarn Simachaya 7 มกราคม 2562)

ในประเทศกำลังพัฒนา มีการนำแนวคิด EDP ไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง โดยใช้วิธีการอย่างง่าย ด้วยการเติมสารเติมแต่งที่ย่อยสลายได้ (ส่วนใหญ่เป็นแป้ง) ลงไปในพลาสติก (เช่น PE, PP) อ้างว่าเป็น “พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” ซึ่งไม่ถูกต้องตามนิยามเนื่องจากส่วนประกอบที่เป็นพลาสติกไม่ย่อยสลาย พลาสติกเพียงแค่แตกตัวเป็นชิ้นเล็ก สะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อมซึ่งจะทำให้ปัญหามลพิษที่มองเห็นได้กลายเป็นมลพิษที่มองไม่เห็นหรือเห็นได้ยาก (UNIDO, 2003) ในประเทศไทย ผู้ประกอบการมีการใช้พลาสติกชนิดออกโซมามากกว่า 10 ปี และได้มีการสื่อสารว่าเป็น “พลาสติกที่ย่อยสลายได้” (Degradable plastics) หรืออ้างว่ามีการปรับแต่งให้พลาสติกชนิดใหม่ที่แตกตัวและสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ หรือแม้แต่การระบุโดยตรงว่าเป็น “พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” (Biodegradable) หรือ “พลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP) เป็นนัยว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และไม่มีสารพิษตกค้าง โดยไม่มีการทดสอบตามมาตรฐาน มอก. 17088-2555 ตามที่กล่าวข้างต้น 

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของพลาสติกที่ย่อยสลายในสภาวะแวดล้อมธรรมชาตินั้น ควรมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตและสารเติมแต่งที่เป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ ในขณะที่การทดสอบเพื่อขอใบรับรองนั้นก็สามารถทำได้ซึ่งในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งจะมีตราสัญลักษณ์บ่งบอกถึงการได้รับรองมาตรฐานการทดสอบ (อ่านเพิ่มเติม http://www.tbia.or.th/download.php) ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนและเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ผู้บริโภคที่ต้องการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจริง ๆ ก็ควรตรวจสอบก่อนว่า ผลิตภัณฑ์นั้นได้มาตรฐานตามข้อกำหนดพลาสติกสลายตัวได้ (Compostable plastic) หรือไม่ ตามข้อกำหนด ISO 17088 หรือในเมืองไทย คือ มอก. 17088-2555 (ปรับมาจาก ISO 17088:2008) หรือ ASTM D6400 หรือ EN13432 และให้ดูสัญลักษณ์ที่รับรองผลิตภัณฑ์ เช่นในรูปที่ 2 


รูปที่ 2 ตัวอย่างสัญลักษณ์รับรองพลาสติกที่สลายได้ทางชีวภาพและเป็นปุ๋ยได้
(ที่มา: UNIDO 2003)

หากผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานเหล่านี้หรืออ้างมาตรฐานอื่น ๆ 2  และกระบวนการผลิตมีลักษณะเติมสารเติมแต่ง (Additives) ในพลาสติกทั่วไป เช่น PE, PP, PS, PET, PVC ให้คาดการณ์ได้ว่าน่าจะเป็นพลาสติกชนิดออกโซหรือที่เติมสารเติมแต่งซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการเพิ่มและสะสมของไมโครพลาสติก

สุดท้ายนี้ พลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ (ตามมาตรฐาน Compostable plastics) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นยังคงมีราคาค่อนข้างแพงกว่าพลาสติกธรรมดา 2-3 เท่าซึ่งจะต้องอาศัยการสนับสนุนของภาครัฐ อีกทั้งยังต้องสร้างระบบการจัดการปลายทางหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย กล่าวคือ ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องสร้างระบบการเก็บรวบรวมพลาสติกประเภทนี้เป็นการเฉพาะและจัดให้มีโรงปุ๋ยหมักเชิงอุตสาหกรรม (ถ้าเป็นชนิด PLA) หรือโรงปุ๋ยหมักทั่วไป (ถ้าเป็นชนิด PBS) และควบคุมสภาวะที่เหมาะสมกับพลาสติกชีวภาพเพื่อให้สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพกลายเป็นปุ๋ยได้จริง ๆ มิเช่นนั้น พลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพก็อาจจะไม่ได้ย่อยสลายได้ในระยะเวลาที่รวดเร็วตามที่ระบุมาตรฐานกำหนด (180 วัน) เช่นกัน


กำลังปรับปรุงตาม ISO 17088
2 มาตรฐานอื่นๆ เช่น ASTM D5338, ASTM D5511, ASTM D5988, ASTM D6691, ASTM D6866 เป็นเพียงระเบียบวิธีการทดสอบ (Test Methodologies) มิใช่มาตรฐานข้อกำหนดพลาสติกสลายตัวได้ซึ่งจะมีการบ่งชี้ว่า ผ่าน/ไม่ผ่านตามข้อกำหนด รายละเอียดดูใน Bioplastics Division of Plastics Industry Association (PLASTICS) (2018)


กิตติกรรมประกาศ 
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการศึกษาสถานการณ์และการจัดการขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกในประเทศไทย" ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนวิจัยเลขที่ CU-GR(S)-61-45-54-01


เอกสารอ้างอิง
Aljazeera, 28 March 2019. EU parliament approves ban on single-use plastics. Retrieved from https://www.aljazeera.com/news/2019/03/eu-parliament-approves-ban-single-plastics-190327182018338.html?, accessed on 15 April 2019.
Bioplastics Division of Plastics Industry Association (PLASTICS) (2018). Position Paper on Degradable Additives. 13 pages. Retrieved from https://www.plasticsindustry.org/sites/default/files/2018%20PLASTICS%20-%20Position%20Paper%20on%20Degradable%20Additives.pdf, accessed on 15 April 2019.
Ellen McArthur Foundation’s New Plastics Economy (2017). Oxo-degradable plastic packaging is not a solution to plastic pollution, and does not fit in a circular economy. Retrieved from http://ecostandard.org/wp-content/uploads/oxo-statement.pdf, accessed on 15 April 2019.
Ellen McArthur Foundation website (2019) Retrieved from https://www.ellenmacarthurfoundation.org/circular-economy/what-is-the-circular-economy, accessed on 15 April 2019.
European Commission (2018). Report from the Commission to the European Parliament and the Council on the impact of the use of oxo-degradable plastic, including oxo-degradable plastic carrier bags, on the environment
European Union (2016). The Impact of the Use of “Oxo-degradable” Plastic on the Environment. 
Rudnik, E. (2012). “Compostable polymer materials: definitions, structures, and methods of preparation.” in Ebnesajjad, S. (ed). Handbook of Biopolymers and Biodegradable Plastics. 189-211.
United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) (2003). Brief Guidelines on Environmentally Degradable Plastics (EDP). Retrieved from http://capacitydevelopment.unido.org/wp-content/uploads/2014/11/81.-EDP-Environmentally-Degradable-Polymeric-Materials-and-Plastics-Brief-Guidelines.pdf accessed on 15 April 2019.
United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) (2007). EDP Environmentally degradable Polymeric Materials and Plastics Retrieved from http://capacitydevelopment.unido.org/wp-content/uploads/2014/11/41.-Environmentally-Degradable-Polymeric-Materials-and-Plastics-Guidelines.pdf, accessed on 15 April 2019.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2562). สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 17 เมษายน 2562. ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2562, จาก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เว็บไซต์: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/19914 

 

 

 

 

 

 

 

 


บทความอื่นๆ

Read More

บทความ: แพลงก์ตอน รากฐานของสายใยอาหารในระบบนิเวศแหล่งน้ำ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี