ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

บทคัดย่อ

การเสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคอนาคตใหม่ ร่วมด้วย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


การอ้างอิง: ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์, ศีลาวุธ ดำรงศิริ. (2562). ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 2).


ข่าวสิ่งแวดล้อม: เสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์, ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์, ศีลาวุธ ดำรงศิริ
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


การเสวนาวิชาการเรื่อง “นโยบายสิ่งแวดล้อมกับการเมืองไทย: เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 13:00-16:30 ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้แทนจากพรรคการเมือง 3 พรรค ได้แก่ คุณศิริภา อินทวิเชียร (พรรคประชาธิปัตย์) ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ (พรรคเพื่อไทย) และ คุณนิติพล ผิวเหมาะ (พรรคอนาคตใหม่) ร่วมด้วย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ (ผู้อำนวยการสถาบันฯ) เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทรา ทองคำเภา (รองผู้อำนวยการสถาบันฯ) เป็นผู้รับผิดชอบจัดโครงการเสวนา และ ดร.บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ ทำหน้าที่พิธีกร ซึ่งการดำเนินรายการ ประเด็นการเสวนา และนโยบายที่นำเสนอในการเสวนา ได้แก่

การกล่าวเปิดงาน โดย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ 

• ปัจจุบันภาคประชาชนมีความสนใจด้านนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น และเรื่องสิ่งแวดล้อมก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจและเป็นเรื่องใกล้ตัว สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์คุณภาพอากาศตกต่ำที่เกิดขึ้ันเมื่อต้นปี 2562 ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้ลมไม่หมุนเวียน ทำให้ฝุ่นขนาดเล็กมากๆ ที่รู้จักกันในนาม PM2.5 สูงเกินมาตรฐานหลายวัน จนส่งผลกระทบกับสุขภาพของประชาชนในเมืองหลวง ทำให้เกิดความตระหนักถึงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น 

• สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นว่าปัญหาสภาพแวดล้อมไม่สามารถที่จะแก้ไขได้โดยมิติทางการวิจัยเพียงมิติเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นั่นรวมไปถึงภาคการเมืองและการปกครอง ซึ่งจะเป็นกระบอกเสียงของประชาชนในการขับเคลื่อนประเทศไปในทิศทางที่ยั่งยืน และหวังว่าการเสวนาที่จัดขึ้นในครั้งนี้โดยมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตัวกลางจะช่วยขยายความรู้ความเข้าใจ และจุดประกายนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนและตัวแทนคนรุ่นใหม่ของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงนี้

อภิปรายนำ หัวข้อ: นโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดย ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในการเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.บัณฑูร มาเป็นผู้บรรยายและร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ โดย ดร.บัณฑูร ได้ให้ข้อคบคิดมากมายเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนสู่ SDGs (Sustainable Development Goals) หรือเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยเรื่องที่ ดร.บัณฑูร ได้นำบรรยาย มีดังนี้

• ดร.บัณฑูร ได้นำเสนอประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและ SDGs ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อมใน “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” 2) สามโจทย์หลักเรื่องสิ่งแวดล้อมของไทย และ 3) สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และกระบวนการนโยบายสาธารณะ

• 1) สิ่งแวดล้อมใน “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน”

      o จาก 17 เป้าหมายของ SDGs เราสามารถแบ่งเป้าหมายเหล่านี้ออกเป็น 5 กลุ่ม ประกอบไปด้วย People (กลุ่มด้านสังคม/ความเป็นอยู่) Prosperity (กลุ่มด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง) Planet (กลุ่มด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) Peace (กลุ่มด้านสันติภาพ) และ Partnership (กลุ่มหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา) ซึ่งจะเทียบเคียงได้กับองค์ประกอบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การปรับสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน จำเป็นที่จะต้องมีเรื่องสันติภาพและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเช่นกัน นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า นโยบายสิ่งแวดล้อมต้องเป็นนโยบายสาธารณะ ที่จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในสังคม และเรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป

• 2) สามโจทย์หลักเรื่องสิ่งแวดล้อมของไทย
      o ประกอบไปด้วย 3 โจทย์หลัก คือ 1) ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม 2) การเข้าถึงและแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม และ 3) ความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
      o ทั้ง 3 โจทย์นี้ เป็นปัญหาของการออกนโยบายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยมาโดยตลอด รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาอีกหลายประเทศ เนื่องจากนโยบายส่วนใหญ่จะคำนึงถึงการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะส่งผลต่อการเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง เรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นขาที่ 3 ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงไม่ได้รับการสนใจเท่าที่ควร ประเทศไทยมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างมากมายเพื่อพัฒนาประเทศ แต่การจัดสรรทรัพยากรเหล่านั้นกลับไม่ได้รับการจัดสรรอย่างเป็นธรรม โดยประเทศไทยติดอันดับ 3 ของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก ทั้งในแง่ของการกระจายรายได้และโดยเฉพาะในประเด็นของการถือครองที่ดิน ซึ่งมีเพียง 10% ของคนไทยที่ครอบครองพื้นที่มากกว่า 100 ไร่/คน ในขณะที่อีก 90% ของประชากรมีที่ดินไม่ถึง 1 ไร่/คน และมีเกือบ 750,000 ครัวเรือน ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง เรียกได้ว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” โดยประชาชนที่ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง จำเป็นที่จะต้องเช่าที่ดิน หรือต้องเข้าไปอาศัยในพื้นที่ป่า จนกลายเป็นปัญหาในหลายมิติ เช่น ความยากจน การบังคับใช้กฎหมาย หลักนิติธรรม สิทธิชุมชน เป็นต้น ดังนั้น การออกนโยบายสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย

• 3) สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืนและกระบวนการนโยบายสาธารณะ
      o ประเทศไทย มีแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในมิติต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่สามารถผลักดันแผนเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 3 ประเด็น คือ
          - กลไกระดับนโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ขาดการเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ทำให้เกิดการทับซ้อนกันในด้านนโยบาย และเมื่อเกิดปัญหาไม่มีใครสามารถระบุได้ว่าใครจะต้องเป็นแกนนำในการแก้ไข ทำให้การแก้ไขล่าช้า จึงเกิดเป็นคำถามว่าจะบูรณาการนโยบายด้านต่างๆ เช่น การจัดการที่ดินและทรัพยากร การเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และด้านพลังงานอย่างไรให้เกิดความยั่งยืนในเชิงสิ่งแวดล้อม
          - กระบวนการนโยบายสาธารณะ และประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม นโยบายต่างๆ จำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับจากภาคประชาชน และเป็นนโยบายสาธารณะที่ให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้ แต่ที่ผ่านมาการมีส่วนร่วมมักดำเนินการเพียงในนาม และไม่ถูกนำไปพิจารณาอย่างจริงจัง หรือถูกปัดตกไปเมื่ออยู่ในสภา จึงจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายและอยู่ในระดับที่สูงขึ้น

          - เครื่องมือบริหารและตัดสินใจทางนโยบาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบันการทำ “การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม” (Environmental Impact Assessment; EIA) เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่ก็เกิดปัญหามากมาย เนื่องจาก EIA เป็นการประเมินโครงการเพื่อการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงว่าโครงการนั้นควรจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่เหล่านั้นหรือไม่ เพื่อแก้ปัญหานี้จะต้องอาศัย “การประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับยุทธศาสตร์” (Strategic Environmental Assessment; SEA) ซึ่งเป็นการวางแผนในระดับนโยบาย โดยดูถึงปัญหาหรือความต้องการของพื้นที่ เพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน แล้วจึงพัฒนาโครงการเพื่อตอบสนองทางออกนั้นขึ้นมา แล้วจึงค่อยพัฒนาโครงการและทำ EIA ของโครงการนั้นต่อไป ทั้งนี้การทำ SEA มีการพูดถึงมาตั้งแต่สมัยที่คุณอธิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากเรื่อง SEA แล้ว ระบบการติดตามโครงการหลังการทำ EIA ควรเป็นอีกโจทย์หนึ่งของนโยบายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาระบบยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความจำเป็น ถึงแม้เราจะมีศาลสิ่งแวดล้อมแล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ประเทศไทยขาด คือ ระบบการสอบสวน การตีมูลค่า การบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินการทางคดีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

• ดร.บัณฑูร ให้บทสรุปเกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อมไว้อย่างน่าสนใจว่า “เรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถฝากใครได้ ต้องการความร่วมมือของทุกคน เพื่อผลักดันให้มันเป็นนโยบายสาธารณะ ไม่ใช่แค่การไปหย่อนบัตรเลือกตั้ง”

นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ที่เกี่ยวข้องกับ “สิ่งแวดล้อม”

พรรคเพื่อไทย
การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการส่งเสริมการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเฝ้าระวัง และการควบคุมคุณภาพของสิ่งแวดล้อมแบบ Real time และการทำ Big data บูรณาการข้อมูลจากทุกกระทรวงเข้าด้วยกัน ให้แต่ละหน่วยงานสามารถประสานกันทางเครือข่าย Online และให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด รวมถึงเป็นช่องทางในการตรวจสอบความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐ
การเอาจริงเอาจังในการบังคับใช้กฎหมายทางสิ่งแวดล้อม โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาความขัดแย้งทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการขัดแย้งกันระหว่าง “คนตัวเล็ก กับ คนตัวใหญ่” ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างด้านระบบยุติธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มปริมาณเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ตำรวจสิ่งแวดล้อม ศาลสิ่งแวดล้อม และอัยการสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะต้องจัดตั้งองค์กรกลางที่รับผิดชอบปัญหาของสิ่งแวดล้อมโดยตรง มีเป้าหมายให้ทุกองค์กรและทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นของรัฐ หรือเอกชนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานเดียวกัน 
การแก้ปัญหาคุณภาพอากาศ เริ่มจากการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศตามจุดต่างๆ โดยประชาชนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยระบบ Online ซึ่งภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้
การสื่อสารระเบียบและถ้อยคำทางกฎหมายต่างๆ ให้ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถเข้าถึงโดยประชาชนทั่วไป
การพัฒนากองทุนสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรม เช่น การนำงบประมาณจากกองทุนน้ำมันมาใช้ ซึ่งปัจจุบันมีการเรียกเก็บจากค่าน้ำมันประมาณ 5 บาทต่อลิตร (สำหรับน้ำมันดีเซล)
การพัฒนาด้านพลังงานสะอาดเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งภาครัฐต้องผลักดันในทุกๆ ทาง และต้องทำตัวเองเป็นตัวอย่างและเป็นต้นแบบให้ประชาชนทำตาม
ประชาชนจำเป็นต้องมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และควรได้รับการศึกษาในทุกๆ ระยะ ตั้งแต่อนุบาล ประถม และมหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังความตระหนักในการมีส่วนร่วมต่อสาธารณะและสิ่งแวดล้อม
การทดแทนรถเมล์เก่าด้วยรถเมล์ไฟฟ้าจำนวนมาก การลดราคาค่าบริการสาธารณะ เพื่อให้คนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชน แก้ปัญหามลพิษในเมือง รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซล

พรรคประชาธิปัตย์
• มุ่งเน้นการส่งเสริมประชาคมสิ่งแวดล้อมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีหลักเกณฑ์ 4 ข้อคือ 1) ความโปร่งใสของภาครัฐที่มีอำนาจในการดูแลสิ่งแวดล้อม 2) การดำเนินการกับภาคเอกชน 3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค และ 4) การสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง
• แนวนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมของพรรค มีอยู่ 6 ด้าน คือ 

      1. พลังงาน โดยจะยุติโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมด และส่งเสริมให้ภาคประชาชนและเอกชนสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้เองแบบ Net metering โดยจะตัดการผูกขาดด้านพลังงานของภาครัฐ เพื่อลดต้นทุนให้กับภาคเอกชน รวมถึงสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ไบโอดีเซล พลังงานทดแทนรูปแบบอื่น และการอนุรักษ์พลังงาน โดยการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขประเด็นสิ่งแวดล้อมในด้านอื่นๆ ด้วย
      2. ป่าไม้ จะเพิ่มพื้นที่ป่าเป็น 50% โดยแบ่งเป็นป่าต้นน้ำที่ห้ามมีการใช้ในเชิงพาณิชย์ (30%)  และป่าชุมชนเพื่อให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์และร่วมอนุรักษ์ (20%) และจะจัดทำแนวเขตป่าให้ชัดเจน ฟื้นฟูพื้นที่ป่าโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายการค้าสัตว์ป่าให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
      3. การจัดการขยะ ส่งเสริมประชาชนให้ลดและแยกขยะ ลดการใช้พลาสติก จัดเก็บภาษีถุงพลาสติก รวมถึงการจัดตั้งธนาคารขยะ ส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงขยะและการแปรรูปขยะมาใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตไฟฟ้า เชื้อเพลิงทดแทน พลังงานชีวภาพ และปุ๋ย
      4. คุณภาพอากาศ จัดตั้งมาตรการฉุกเฉินเมื่อมีวิกฤตในเรื่องมลพิษทางอากาศ ปรับปรุงกฎหมายให้มีเจ้าภาพในการรับผิดชอบที่ชัดเจน ส่งเสริมมาตรการทางภาษี และสนับสนุนเทคโนโลยีการวัดคุณภาพอากาศ เพิ่มพื้นที่สีเขียวรวมถึงพื้นที่ควบคุมการขนส่ง ยกระดับยานยนต์และยกมาตรฐานไอเสีย ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร รวมทั้งการติดตามคุณภาพอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจากโรงงานต่างๆ
      5. ของเสียและน้ำเสียจากโรงงาน จะเน้นไปทางไปทางบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะการบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน
      6. การจัดการทรัพยากรทางทะเล ควบคุมการทำประมงพาณิชย์แนวชายฝั่งให้เป็นระบบและส่งเสริมให้ภาคประชาชนที่อยู่อาศัยในแนวชายฝั่งมีส่วนร่วม รวมถึงการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว

• แนวนโยบาย “ไม่มีข้อยกเว้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม” โดยทุกโครงการที่เกิดขึ้นจะไม่มีการสร้างข้อยกเว้นเพื่อเร่งการพัฒนา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้มีส่วนร่วมในการเห็นชอบ และจะมีการทบทวน รวมถึงยกเลิกข้อยกเว้นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การใช้เทคโนโลยีมาเพิ่มช่องทางการเข้าถึงของประชาชน ทั้งการค้นคว้า ตรวจสอบ และร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงปลูกฝังภาคประชาชนให้มีส่วนร่วม เพื่อให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริง
ภาครัฐควรเป็นผู้จัดทำ EIA เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซง และควรมีหลายภาคส่วนเข้าร่วมในการตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งให้มีการจัดทำ SEA อย่างเป็นรูปธรรม

พรรคอนาคตใหม่
• ในการพัฒนานโยบายและโครงการต่างๆ จำเป็นต้องนำ สิทธิและสวัสดิภาพของสัตว์และสิ่งแวดล้อม มาพิจารณาร่วมด้วยเสมอ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาทั้งต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม
นโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เนื่องจากท้องถิ่นรู้จักตัวเองและปัญหาของตัวเองดีที่สุด จึงควรให้อำนาจในการตัดสินใจว่าพื้นที่เหล่านั้นจะเดินไปในทิศทางไหน แก้ปัญหาอะไร โดยวิธีใด โดยเห็นว่าควรที่จะต้องเปลี่ยนวิธีการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งปัจจุบันเงินภาษีที่เกิดขึ้นในพื้นที่จะต้องถูกส่งกลับมาที่ส่วนกลางก่อนที่จะจัดสรรไปยังพื้นที่ต่างๆ โดยไม่ได้ถูกนำมาแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง การเปลี่ยนแปลงวิธีจัดเก็บภาษีและการกระจายอำนาจนี้จะทำให้ท้องถิ่นมีเงินในการแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้เองและเหมาะสม
• การขับเคลื่อนเทคโนโลยีสะอาด การยกเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง การพัฒนาวัสดุทดแทน รัฐบาลจะต้องเป็นเจ้าภาพในการขับเคลื่อนโดยสนับสนุนเงินวิจัยให้กับภาคเอกชน เพื่อที่รัฐบาลจะได้เป็นเจ้าของสิทธิบัตรและสามารถส่งต่อสิทธิบัตรเหล่านั้นให้กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด และทำให้เกิดการแข่งขันได้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในองค์กรของรัฐบาล
จัดทำกองทุน EIA การพัฒนาการจัดทำ EIA ควรปรับเปลี่ยนจากเดิมที่โครงการเป็นผู้ว่าจ้างซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่เป็นกลาง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบของภาครัฐจะต้องเป็นผู้ว่าจ้างในการจัดทำ EIA และตรวจสอบการดำเนินการ โดยผลักดันให้กองทุนเป็นตัวกลางในการจัดหาบริษัทที่ได้มาตรฐาน และเป็นผู้ประเมินความเสียหายในอนาคต 
การเปิดเผยข้อมูลโครงการต่างๆ ของภาครัฐ ทั้งสัญญา นโยบาย สัมปทาน และอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และความโปร่งใสของการทำงาน
ส่งเสริมการจัดการขยะโดยการแยกขยะที่ต้นทาง เพื่อให้ของเสียต่างๆ สามารถถูกนำกลับไปรีไซเคิลได้ และส่งเสริมการนำขยะมาทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน 
ส่งเสริมการปลูกกาแฟใต้ต้นไม้ใหญ่ เพื่อทดแทนการปลูกอ้อยและข้าวโพด ซึ่งจะเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังต้องเผชิญกับปัญหาความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปัญหาการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งจะนำไปสู่การลดปัญหาคุณภาพอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ผลักดันให้เกิดกฎหมายอากาศสะอาด ลดค่าขนส่งมวลชน และเพิ่มการเข้าถึงของขนส่งมวลชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการสาธารณะเพิ่มมากขึ้น
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่อนำเงินรายได้กลับมาพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ให้มีความสมบูรณ์

บทสรุปส่งท้ายการเสวนาและสิ่งที่ค้างคาใจ (ข้อสรุปมาจากผู้เขียน ไม่ได้มาจากผู้แทนพรรคโดยตรง)
จากงานเสวนาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงมิติใหม่ของการเมือง ที่ได้ชูประเด็นและนโยบายสิ่งแวดล้อมในการหาเสียง แต่สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในการเสวนาครั้งนี้ คือ การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน (Integrated development) การแก้ปัญหาด้านกฎหมายที่ทับซ้อนกัน ทำให้แต่ละกระทรวงทำงานด้วยกันลำบาก รวมถึงการปรับตัวและการจัดการเมื่อเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม (Disaster management and adaptation) เป็นต้น 

แต่ละพรรคการเมืองมองเห็นประเด็นปัญหาคล้ายๆ กัน และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่คล้ายกันบ้างต่างกันบ้าง โดยมีจุดเด่นของนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ตัวแทนจากแต่ละพรรคกล่าวถึง คือ

• พรรคอนาคตใหม่ เน้นนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน และความโปร่งใส่ในการทำงาน รวมถึงนโยบายการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเฉพาะพื้นที่ โดยจะกระจายอำนาจและงบประมาณให้กับองค์กรท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการเอง

• พรรคประชาธิปัตย์ เน้นการปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และมีนโยบายทางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายและชัดเจน มีการพิจารณาแหล่งเงินทุนรองรับไว้แล้ว 

• พรรคเพื่อไทย ชูประเด็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในหลายๆ ด้าน และปรับปรุงโครงสร้างด้านระบบยุติธรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม

 

 

 

 


บทความอื่นๆ

Read More

ความท้าทายและแนวทางเฝ้าระวังมลสารไมโครพลาสติกในน้ำทิ้งจากการซักผ้า

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์