ความรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศภายในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การสำรวจความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ที่เกี่ยวข้องของครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ศพด.) ในสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยนวมิน ทราธิราช ปีงบประมาณ 2567 ทำการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัย จำนวน 231 คน ในระหว่างกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2567 ผลสำรวจข้อมูลครูผู้ดูแลเด็กพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีประสบการณ์ทำงานประมาณ 14 ปี ระดับการศึกษาครูในโรงเรียนร้อยละ 90 มีคุณวุฒิปริญญาตรีและสูงกว่า ในขณะที่ครู ศพด. ร้อยละ 68.4 มีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารประมวลจากคะแนนเฉลี่ยที่ตอบได้ถูกต้อง ครูโรงเรียนได้คะแนนร้อยละ 64.9 ครู ศพด. ได้คะแนนร้อยละ 67.6 จัดอยู่ในระดับ ‘ปานกลาง’ ตามวิธีอิงเกณฑ์ของบลูม (Bloom) โดยครูส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการระบายอากาศและผลกระทบจากห้องปิดทึบ ส่วนระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของครู ศพด. ประมวลด้วยมาตรวัดลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ พบว่ามีความรอบรู้ระดับ ‘ต่ำ’ (ร้อยละ 57.7) แสดงออกถึงความ ‘ยาก’ ของครู ศพด. ในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ ในการทำความเข้าใจและตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำไปใช้ดำเนินการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารหรือในห้องเด็ก รวมถึงความยาก ในการสื่อสารคุณภาพอากาศภายในอาคารให้กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองเด็ก เป็นต้น


1. บทนำ

เด็กปฐมวัยคือช่วงอายุตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนถึง 6 ปี [1] ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สำคัญสำหรับพัฒนาการของเด็กต่อไปในอนาคต ด้วยร่างกาย อวัยวะ ภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของเด็กปฐมวัยยังเจริญไม่เต็มที่การรับสัมผัสมลพิษอากาศสามารถทำลายสุขภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในวัยผู้ใหญ่ได้ มีการประมาณอัตราการเสียชีวิตของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีในสหภาพยุโรปมากกว่า 1,200 คนต่อปีมาจากสาเหตุมลพิษอากาศ [2] งานวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาทำการศึกษาไปข้างหน้า (Perspective cohort study) ถึงผลกระทบของมลพิษอากาศภายในอาคารต่อระบบประสาทพัฒนาการ (Neurodevelopment) ในกลุ่มตัวอย่างมารดาและบุตรจำนวน 4,735 คู่ พบว่า การรับสัมผัสมลพิษอากาศจากแหล่งกำเนิดในบ้านเรือน (Household air pollution) ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ก๊าซโพรเพน (Propane) หรือฟืนสำหรับประกอบอาหาร และควันบุหรี่มือสอง ระหว่างเด็กอยู่ในครรภ์จนถึงวัยทารกมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการล่าช้าของเด็ก (Developmental delays) [3] ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการปกป้องเด็กจากการรับสัมผัสมลพิษอากาศภายในที่อยู่อาศัยและในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้น 437 โรง ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนอนุบาลและประถมศึกษา 327 โรง มีเด็กชั้นอนุบาลทั้งหมด 42,954 คน (ข้อมูล ปี 2567 จากสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร [4]) ในขณะที่มีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ศพด.) ในสังกัดตามข้อมูลเผยแพร่ที่เป็นปัจจุบันในเว็บไซต์ข้อมูลเปิด Open Data Bangkok ทั้งสิ้น 271 ศูนย์ (ข้อมูลปี 2566 [5]) และมีเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 2-6 ปี ทั้งหมด 18,163 คน (ข้อมูลปี 2565 [6]) ทั้งนี้ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร หมายถึง “สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน และดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชน โดยมีอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้อำนวยการเขตที่ศูนย์นั้นตั้งอยู่” [7] จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า หน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครดูแลเด็กปฐมวัยในระหว่างวัน (Caregiving) มากกว่า 60,000 คน ความรู้ความเข้าใจในการจัดการมลพิษอากาศในอาคารรวมทั้งความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ของผู้ดูแลเด็กจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจัดการคุณภาพอากาศอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมรวมกับการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพกลุ่มเปราะบางของกรุงเทพมหานคร

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ นิยามโดยองค์การอนามัยโลกและแปลโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข คือ “ทักษะต่าง ๆ ทางการรับรู้และทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลในการที่จะเข้าถึง เข้าใจ และใช้ข้อมูลในวิธีการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ” [8] ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ (2) ความรู้ความเข้าใจ (3) ทักษะการสื่อสาร (4) การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเอง (5) การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และ (6) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง [8] ดังจะเห็นได้ว่า ความรู้ความเข้าใจเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจ หมายถึง “การมีความรู้และจำในเนื้อหาสาระสำคัญด้านสุขภาพ ความสามารถในการอธิบายถึงความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาสาระด้านสุขภาพในการที่จะนำไปปฏิบัติตลอดจนการมีความสามารถในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบเนื้อหา/แนวทางการปฏิบัติด้านสุขภาพได้อย่างมีเหตุผล” [8]

การสำรวจความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของครูในโรงเรียนระดับชั้นอนุบาลและอาสาสมัครผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อนำส่งข้อมูลให้กับกรุงเทพมหานครใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ได้เพิ่มเติมการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศภายในอาคารกับอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก เนื่องด้วยสถานภาพทางตำแหน่งงานของอาสาสมัครที่ไม่ใช่ข้าราชการกรุงเทพมหานคร อาจมีผลต่อความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการบริหารจัดการคุณภาพอากาศภายในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. วิธีการสำรวจ

การสำรวจจัดทำช่วง กุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2567 ควบคู่ไปกับกิจกรรมหลักการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคารของโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลที่ค่าฝุ่นละอองในบรรยากาศของกรุงเทพมหานครค่อนข้างสูง โดยดำเนินกิจกรรมในเขตดุสิต จตุจักร บางซื่อ สาทร ราชเทวี บางกอกน้อย และธนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 เกณฑ์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูในโรงเรียนที่มีชั้นอนุบาล และอาสาผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (ครู ศพด.) โดยทั้งหมดเป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 231 คน ประกอบด้วย ครูโรงเรียนจำนวน 144 คน 9 โรงเรียน (เฉพาะเขตดุสิตจากทั้งหมด 9 โรง) และ ครู ศพด. จำนวน 87 คน 10 ศูนย์ (เขตดุสิต บางกอกน้อย ธนบุรี คลองเตย ราชเทวี สาทร จากทั้งหมด 42 ศูนย์) คิดเป็นอัตราตอบกลับแบบสอบถามเท่ากับร้อยละ 100 และ 94.5 ตามลำดับ

ส่วนที่ 1 ข้อมูลครูผู้ดูแลเด็กเล็ก จำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วย เพศ อายุ ประสบการณ์ทำงานเป็นครูดูแลเด็กปฐมวัย สถานภาพการมีบุตร และ ระดับการศึกษา ประมวลข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา

ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 18 ข้อ คำถามประยุกต์จากแบบสอบถามที่ใช้ในงานวิจัยของ Ongwandee และคณะ [9] โดยมีคำตอบให้เลือกตอบ 3 ตัวเลือก คือ ‘ใช่’ ‘ไม่ใช่’ และ ‘ไม่แน่ใจ’ ซึ่งแต่ละคำถามมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงข้อเดียว กรณีเลือกคำตอบ ‘ไม่แน่ใจ’ จะประเมินการตอบว่าไม่ถูกต้อง กำหนดให้ 1 คะแนนสำหรับข้อที่ตอบถูกต้อง คะแนนเต็มของผู้ตอบแต่ละบุคคลเท่ากับ 18 คะแนน ประมวลผลระดับความรู้ด้วยเกณฑ์ของ Bloom’s cut off point คือ น้อยกว่าร้อยละ 60 จัดเป็นระดับ‘ต่ำ’ อยู่ระหว่างร้อยละ 60-79 จัดเป็นระดับ‘ปานกลาง’ และ มากกว่าร้อยละ 80 จัดเป็นระดับ‘มาก’

ส่วนที่ 3 ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ข้อ คำถามประยุกต์จากแบบสอบถามที่ใช้ในงานวิจัยของ Hou และคณะ [10] (สอบถามเฉพาะครู ศพด.) ใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert) 5 ระดับ โดยเริ่มจากระดับที่ 1 ‘ยาก’ จนถึง ระดับที่ 5 ‘ง่าย’ โดยให้คะแนนตามระดับที่ 1 – 5 คะแนนเต็มของผู้ตอบแต่ละบุคคลเท่ากับ 50 คะแนน และคะแนนต่ำสุดเท่ากับ 10 คะแนน การประมวลผลระดับชั้นความรอบรู้ด้วยอันตรภาคชั้นดังนี้ ช่วง 10 – 29.9 คะแนน (น้อยกว่าร้อยละ 60) จัดเป็นระดับ‘ต่ำ’; ช่วง 30 – 39.9 คะแนน (ร้อยละ 60 – 80) จัดเป็นระดับ‘ปานกลาง’; และ ช่วง 40 – 50 คะแนน (มากกว่าร้อยละ 80) จัดเป็นระดับ‘มาก’

3. ข้อมูลภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม

รูปที่ 1 แสดงข้อมูลภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนมีอายุเฉลี่ย 41 ปีสำหรับ และ ครู ศพด. อายุเฉลี่ย 46 ปี ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ทำงานเป็นผู้ดูแลเด็กปฐมวัยใกล้เคียงกัน คือ 14 ปี ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างครูโรงเรียนส่วนใหญ่จบปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 90 ในขณะที่ครู ศพด. มีคุณวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 68.4 ส่วนสถานภาพการมีบุตรนั้น จำนวนครูโรงเรียนมีบุตรประมาณครึ่งหนึ่ง ในขณะที่ครู ศพด. มีบุตรประมาณสองในสามของจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ

4. ความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

1) ระดับความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

ผลการสำรวจความรู้แสดงดังรูปที่ 2 ระดับความรู้ของครูโรงเรียนและครู ศพด. ประมวลจากคะแนนเฉลี่ยที่ตอบได้ถูกต้องจาก 18 ข้อแสดงด้วยค่าร้อยละ พบว่า ครูโรงเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 64.9 ครู ศพด. ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 67.6 ซึ่งจัดอยู่ในระดับ ‘ปานกลาง’

2) ความรู้ด้านมลพิษอากาศภายในอาคาร แหล่งกำเนิด และผลกระทบต่อสุขภาพ

คำถามที่ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยตอบถูกมากกว่าร้อยละ 80 เป็นคำถามที่เกี่ยวกับความรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพของมลพิษอากาศชนิดต่าง ๆ และกิจกรรมที่ก่อมลพิษอากาศภายในอาคาร เช่น การสูบบุหรี่ การใช้น้ำยาทำความสะอาดกลิ่นแรง เฟอร์นิเจอร์ใหม่ สี กาว ความอับชื้นในห้องเด็ก เป็นต้น แต่มีข้อสังเกตว่าการประกอบอาหารด้วยเตาแก๊สถูกเข้าใจโดยครูประมาณร้อยละ 40 ว่าไม่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ทั้งที่ข้อเท็จจริงการเผาไหม้เชื้อเพลิงก๊าซแอลพีจีสามารถปล่อยมลพิษอากาศ เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และอนุภาคขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่งเป็นสารระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ไนโตรเจนไดออกไซด์ยังเป็นมลพิษอากาศที่สัมพันธ์กับโรคหืดในเด็ก [11]

C:\Users\Admin\Dropbox\Family Room\โครงการบริการวิชาการ 67 วพม\ปรับแก้ ผลสำรวจ ความรู้ การรับรู้  ด้านคุณภาพอากาศในสถานพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 11.12.67\2.png

รูปที่ 1 ข้อมูลภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถาม

C:\Users\Admin\Dropbox\Family Room\โครงการบริการวิชาการ 67 วพม\ปรับแก้ ผลสำรวจ ความรู้ การรับรู้  ด้านคุณภาพอากาศในสถานพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 11.12.67\3.png

รูปที่ 2 ระดับความรู้ของครูโรงเรียนและครู ศพด.

3) ความรู้ด้านสารอินทรีย์ระเหย

ความรู้ด้านสารมลพิษอากาศประเภทสารอินทรีย์ระเหย (Volatile organic compounds, VOCs) เช่น การใช้สเปรย์ปรับอากาศในห้องมีผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ มีจำนวนครูประมาณครึ่งหนึ่งที่ทราบผลกระทบนี้ และมีครูจำนวนน้อยไม่ถึงร้อยละ 20 ที่ทราบความหมายของสัญลักษณ์ ‘Low VOC’ บนฉลากผลิตภัณฑ์ จากการสอบถามเพิ่มเติมครูส่วนใหญ่ไม่รู้จักสารอินทรีย์ระเหยที่เรียกว่า VOCs แต่ครูรับรู้ว่าวัสดุที่ระเหยกลิ่นแรง เช่น สี กาว เฟอร์นิเจอร์ใหม่ เป็นต้น ปล่อยสารมลพิษที่เป็นอันตรายต่อเด็ก อย่างไรก็ดีวัสดุตกแต่งภายในอาคาร วัสดุสำนักงาน เครื่องเขียน ยังสามารถปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายและกึ่งระเหย (Semi VOCs) ที่มนุษย์ไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นในระดับต่ำที่ไม่สร้างความรำคาญ เช่น กลุ่มอัลเคน (Alkanes) ที่มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถได้กลิ่น (Odor threshold) สูง เป็นต้น หรือสารสารพทาเลต (Phthalates) ที่ผสมในพลาสติก ซึ่งเป็นกลุ่มสารมลพิษอากาศที่ยังไม่ค่อยไม่ได้รับการตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพเด็กเล็ก

นอกเหนือจากความรู้ที่ครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยยังมีไม่มากนักในเรื่องสารอินทรีย์ระเหย ประกอบกับการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนสำหรับเด็กและวัสดุที่ใช้ภายในห้องเรียนนั้นบางส่วนอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขตที่โรงเรียนหรือ ศพด. ตั้งอยู่ ดังนั้นจึงอาจเป็นความยากของครูผู้ดูแลเด็กที่จะสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ปลอดสารระเหย (Free VOCs) สำหรับใช้งานภายในโรงเรียนหรือศูนย์เด็กที่ตนดูแลได้ทั้งหมด ด้วยนโยบายของกรุงเทพ มหานครในการมุ่งสู่ความเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพดี (9 ด้าน 9 ดีของผู้ว่ากรุงเทพมหานคร) โดยเฉพาะกับการคุ้มครองสุขภาพเด็กเล็กในสถานศึกษาของกรุงเทพมหานคร จำเป็นต้องวางแผนกลยุทธ์ให้ครอบคลุมตั้งแต่การควบคุมสารมลพิษที่แหล่งกำเนิด (Source control strategy) เช่น การกำหนดใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กเล็กภายในหน่วยงานสังกัดของกรุงเทพมหานครให้ปลอดจากสารระเหยที่เป็นอันตรายกับเด็กเล็ก เป็นต้น

4) ความรู้ด้านการระบายอากาศและวิธีปฏิบัติ

ความรู้การปฏิบัติเพื่อควบคุมมลพิษอากาศในอาคารด้วยการระบายอากาศพบว่า ครูผู้ดูแลเด็กยังมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตัวอย่างเช่น ครูมากกว่าร้อยละ 85 เข้าใจผิดว่าเครื่องปรับอากาศแบบแขวนผนัง (Split-type air conditioner) ที่ใช้โดยทั่วไปในโรงเรียนและศูนย์เด็กสามารถเพิ่มการระบายอากาศจากภายนอกเข้าสู่ภายในห้องเด็กได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเครื่องปรับอากาศประเภทนี้ทำหน้าที่เพียงหมุนเวียนอากาศที่อยู่ภายในห้องมาทำความเย็นที่คอยล์เย็น (Cooling coil) ในตัวเครื่องเท่านั้น ไม่มีการแลกเปลี่ยนหรือเติมอากาศใหม่จากภายนอกเข้าสู่ในห้องแต่อย่างใด โดยทั่วไปการเปิดใช้เครื่องปรับอากาศมักปฏิบัติพร้อมกับการปิดประตูหน้าต่างห้อง ซึ่งผลสำรวจพบว่ามีครูจำนวนครึ่งหนึ่งเข้าใจไม่ถูกต้องว่าการปิดห้องเด็กให้มิดชิด (และเปิดเครื่องปรับอากาศประเภทนี้) จะไม่ได้ทำให้คุณภาพอากาศภายในห้องแย่ลงจากการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจึงเข้าใจต่อเนื่องว่าห้องปิดสนิทไม่มีผลกระทบอันใดต่อสุขภาพของเด็ก ทั้งนี้ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในห้องจากการหายใจของเด็กเป็นเครื่องชี้ถึงมลพิษอากาศประเภทอื่นที่สะสมในห้อง เช่น ละอองจุลชีพแขวนลอย (Bioaerosols) ที่ก่อโรคติดเชื้อได้ เป็นต้น [12] อย่างไรก็ดีครูส่วนใหญ่ทั้งครูโรงเรียนและครู ศพด. มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่าพัดลมดูดอากาศแบบติดผนัง (Wall-mounted exhaust fan) สามารถเพิ่มการระบายอากาศของห้องได้ ซึ่งความรู้นี้มีประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้นำไปใช้ปฏิบัติได้ทันทีสำหรับห้องเรียนเด็กที่มีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศไว้อยู่แล้ว แต่ไม่มีการเปิดใช้เนื่องจากยังไม่ตระหนักถึงผลเสียของสภาวะห้องปิดสนิท (Airtight room) รวมถึงการปฏิบัติใช้วิธีการระบายอากาศตามธรรมชาติด้วยการเปิดประตูหน้าต่างในช่วงเวลาที่อากาศด้านนอกอาคารมีมลพิษต่ำ ซึ่งจัดเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก ครูผู้ดูแลเด็กสามารถปฏิบัติได้เอง

ความรู้ความเข้าใจของครูต่อรูปแบบของห้องเรียนปลอดฝุ่นพบว่า ครูจำนวนร้อยละ 70-80 เข้าใจความหมายในลักษณะกายภาพคือ ห้องปิดที่ใช้เครื่องฟอกอากาศ (แบบเคลื่อนย้ายได้ – Portable air cleaning device) ภายในห้องเรียน ซึ่งคาดว่ามาจากข่าวสารที่ครูในสังกัดกรุงเทพมหานครรับทราบถึงนโยบาย ‘พัฒนาพื้นที่ปลอดฝุ่น (BKK Clean Air Area) ด้วยต้นไม้สำหรับพื้นที่เปิด ด้วยเครื่องฟอกสำหรับพื้นที่ปิด อย่างไรก็ดีห้องปลอดฝุ่นด้วยหลักการทางวิศวกรรม คือ ห้องอากาศสะอาดที่ใช้ระบบการเติมอากาศสะอาดเข้าสู่ภายในห้องโดยควบคุมให้มีความดันภายในห้องสูงกว่าความดันบรรยากาศเล็กน้อย (Positive pressure fresh air system, PPF) [13] เพื่อสามารถป้องกันการรั่วไหลของอากาศที่ปนเปื้อนฝุ่นละอองจากภายนอกแทรกซึมตามกรอบอาคาร (Air infiltration) และรักษาระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้สะสมสูงเกินไป

5) อาการเจ็บป่วยจากคุณภาพอากาศในอาคารที่ไม่ดี

จากผลสำรวจครูถึงอาการเจ็บป่วยของเด็กถ้าเด็กอยู่ในห้องที่คุณภาพอากาศไม่ดีสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ไอ จาม, คัดจมูก น้ำมูกไหล, และ ระคายเคืองตา แสบตา ซึ่งเป็นอาการในกลุ่มการระคายเคืองจากมลพิษอากาศ [14] คุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ไม่ดีจะส่งกระทบที่รุนแรงมากในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัวระบบทางเดินหายใจ ผลสำรวจผู้ปกครองเด็กปฐมวัยจำนวน 1,067 คน จากศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 20 แห่งเมื่อปี พ.ศ. 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างรวมผู้ปกครองบุตรหลานของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 10 ศูนย์ในโครงการนี้ด้วย พบว่าในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาช่วงที่ทำการสำรวจมีเด็กจำนวนเกือบร้อยละ 10 ต้องพบแพทย์อย่างเร่งด่วนจากปัญหาระบบทางเดินหายใจ และมีจำนวนร้อยละ 9 ต้องหยุดเรียน [15]

5. ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

1) ระดับความรอบรู้

การสำรวจความรอบรู้กับเฉพาะครูในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การประมวลผลจากคำถามทั้ง 10 ข้อดังแสดงในรูปที่ 3 พบว่าระดับความรอบรู้ของครู ศพด. จัดอยู่ระดับ ‘ต่ำ’ (ร้อยละ 57.7) สามารถวิเคราะห์ความสามารถในแต่ละด้านของความรอบรู้ได้ดังนี้

C:\Users\Admin\Dropbox\Family Room\โครงการบริการวิชาการ 67 วพม\ปรับแก้ ผลสำรวจ ความรู้ การรับรู้  ด้านคุณภาพอากาศในสถานพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 11.12.67\4.png

รูปที่ 3 ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของครู ศพด.

2) ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล

คำถามข้อที่ 1 และ 2 แสดงคะแนน 2.93 และ 2.82 จากคะแนนเต็ม 5 สะท้อนให้เห็นว่าครู ศพด. มีความสามารถจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศทั้งภายในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนรวมถึงข้อมูล ด้านผลกระทบของมลพิษอากาศต่อเด็ก ถ้าพิจารณารวมกับผลสำรวจด้านความรู้จะเห็นได้ว่าครูยังมีความรู้ไม่มากที่เกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษอากาศบางประเภท เช่น สารอินทรีย์ระเหยจากอุปกรณ์การเรียน จากวัสดุที่ใช้ภายในห้องเรียน เป็นต้น

ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศนั้นเป็นปัจจัยกำหนดต่อเนื่องถึงความสามารถของครูในการตรวจสอบคุณภาพอากาศทั้งภายในและภายนอกอาคารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จากการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ทำให้ทราบได้ว่าช่องทางที่ครูใช้ตรวจสอบค่าคุณภาพอากาศบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของศูนย์เด็ก คือ แอพพลิเคชั่นของหน่วยงานราชการ เช่น AirBKK และ Air4Thai เป็นต้น ซึ่งสถานีตรวจวัดบางแห่งตั้งอยู่ห่างไกลจากศูนย์เด็กหลายกิโลเมตรอาจไม่สามารถสะท้อนข้อมูลที่เป็นจริงในสถานที่ที่เด็กอยู่ เช่น ระดับก๊าซโอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีความผันแปรตามลักษณะสภาวะแวดล้อมค่อนข้างมาก เป็นต้น นอกจากนี้ครูเองไม่มีอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในห้องเด็กเพื่อการเฝ้าระวังได้อย่างทันท่วงที (หมายเหตุ เฉพาะศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้ 10 ศูนย์ได้รับการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศจากการบริจาคของบริษัทเอกชนเมื่อเดือนเมษายน 2567 และได้รับการสอนวิธีการใช้งานและการอ่านข้อมูล ในขณะที่ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่เหลือโดยส่วนใหญ่ไม่มี หรือบางแห่งมีการติดตั้งเซนเซอร์ของหน่วยงานอื่นที่บริจาคแต่ครูไม่ทราบวิธีการเข้าดูข้อมูลคุณภาพอากาศ) การตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศในสถานที่ตั้งอย่างเป็นปัจจุบัน (Real time) รวมทั้งการแสดงข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่าย มองเห็นรับรู้ได้สะดวก (Air quality data visualization) จึงเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการเฝ้าระวังด้วยตนเองของผู้ได้รับผลกระทบและผู้อยู่ในความดูแล [16]

3) ความสามารถในการเข้าใจและประเมินค่าคุณภาพอากาศ

ข้อคำถามความสามารถเข้าใจถึงค่ามลพิษอากาศภายนอกอาคารที่แสดงโดยหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ หรือ กรุงเทพมหานคร ครูประเมินความยากง่ายด้วยคะแนน 2.92 จากคะแนน 5 และคำถามความสามารถในการประเมินคุณภาพอากาศภายในสถานที่ทำงาน ได้คะแนน 2.95 จากคะแนน 5 ความสามารถในการเข้าใจและความสามารถในการประเมินข้อมูลนั้นเป็นปัจจัยเนื่องกัน โดยส่วนใหญ่ ค่าคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่หน่วยงานราชการเปิดเผยต่อสาธารณะมักแสดงด้วยตัวเลขความเข้มข้น ที่เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตรวจวัดได้ จึงควรมีการแปลความหมายในรูปสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายเพื่อแสดง ‘ระดับคุณภาพอากาศ (Level of air quality)’ ด้วยเกณฑ์ที่จำแนกตามความรุนแรงของผลกระทบต่อสุขภาพเด็กปฐมวัยให้สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก กรุงเทพมหานครเองได้ใช้สัญลักษณ์สีแจ้งเตือนคุณภาพอากาศทั้งหมด 5 สี แบ่งตามค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้แก่ สีฟ้า 0 – 15.0 มคก./ลบม. คุณภาพอากาศดีมาก, สีเขียว 15.1 – 25.0 มคก./ลบม. คุณภาพอากาศดี, สีเหลือง 25.1 – 37.5 มคก./ลบม. คุณภาพอากาศปานกลาง, สีส้ม 37.6 – 75.0 มคก./ลบม. คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และสีแดง 75.1 มคก./ลบม. ขึ้นไป [17] อย่างไรก็ดีการแบ่งช่วงเกณฑ์ดังกล่าวอิงผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทั่วไป ไม่ได้เป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อการปกป้องกลุ่มเปราะบางอย่างเช่นเด็กปฐมวัยซึ่งมีความไว (Sensitization) ต่อสารมลพิษอากาศสูงกว่าประชากรผู้ใหญ่ จึงเป็นประเด็นที่หน่วยงานรัฐควรพิจารณาปรับใช้ค่าเกณฑ์แนะนำให้เหมาะสมกับบริบทกลุ่มผู้ได้รับมลพิษอากาศและสถานที่ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ นอกจากนี้หน่วยงานราชการยังสื่อสารข้อมูลมลพิษอากาศประเภทอื่นน้อยมากเมื่อเทียบกับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ทั้งที่ก๊าซมลพิษ เช่น โอโซน ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นต้น ส่งผลกระทบมากต่อสุขภาพเด็กเล็กเช่นกัน

4) ความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วม

คำถามครูมีความสามารถยากง่ายเพียงใดในการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศในอาคารมาใช้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในอาคารเพื่อให้คุณภาพอากาศดีขึ้น ครูประเมินด้วยคะแนนเฉลี่ย 2.55 จากคะแนน 5 ซึ่งได้คะแนนใกล้เคียงกับคำถามความสามารถมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้คุณภาพอากาศในอาคารที่ท่านทำงานอยู่ให้ดีขึ้น ได้คะแนน 2.54 ความสามารถในการเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลคุณภาพอากาศมีผลต่อความสามารถในการนำข้อมูลมาปฏิบัติใช้งาน ดังนั้นการเสริมพลังความรู้ (Empowerment) ด้วยการมีช่องทางที่ครูสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศได้อย่างง่ายและสะดวกแล้ว ควรมีการแนะนำแนวทางปฏิบัติอย่างง่ายเพื่อใช้ป้องกันหรือลดมลพิษอากาศภายในห้องเด็กควบคู่ไปพร้อมกันด้วย เช่น การแสดงด้วยสัญลักษณ์กระพริบไฟแจ้งเตือนให้ ‘เปิดประตูหน้าต่าง’ บนแผงแสดงค่าคุณภาพอากาศ (Air quality monitoring board) ที่ติดตั้งในห้องเด็กเมื่อเซนเซอร์วัดระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ PM2.5 มีค่าสูงเกินเกณฑ์ความปลอดภัยต่อสุขภาพเด็ก เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องต่อการลดทอนความสามารถของครูอาสาสมัครในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในการนำข้อมูลมาใช้ปฏิบัติที่อาจมีมากกว่าครูในโรงเรียน เช่น ภารกิจดูแลเด็กเล็กที่ต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างกว่า รวมทั้งข้อจำกัดของการเข้าถึงหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องใช้ในการปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หรือแม้แต่สวัสดิการที่กรุงเทพมหานครให้กับตำแหน่ง ‘อาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก’ ที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

5) ความสามารถในการสื่อสารเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคาร

ความสามารถในการสื่อสารเรื่องคุณภาพอากาศภายในอาคารและผลกระทบต่อสุขภาพให้ผู้อื่น ครูประเมินให้คะแนนเฉลี่ย 2.76 จากคะแนน 5 ซึ่งอาจเป็นผลจากความยากในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและความรู้ความเข้าใจยังไม่มากพอ การเสริมพลังความรู้ให้กับครูผู้ดูแลเด็กจึงมีความสำคัญมาก สามารถส่งผลเป็นแรงกระเพื่อมต่อการสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยเนื่องด้วยครูมีอิทธิพลต่อผู้ปกครอง ในการเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำเพื่อสร้างคุณภาพอากาศที่ดีภายในบ้านพักที่เด็กอาศัย ซึ่งเป็นข้อมูลจากผลสำรวจด้านทัศนคติแต่ไม่ได้นำเสนอในบทความนี้

6. บทสรุป

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้สำรวจข้อมูลของครูผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการคุณภาพอากาศที่ดีภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย อันได้แก่ โรงเรียน และ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ผลการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 231 คน ในระหว่างกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2567 พบว่าระดับความรู้ด้านการจัดการคุณภาพอากาศภายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของทั้งครูโรงเรียนและครูศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน จัดอยู่ระดับปานกลาง ส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการระบายอากาศและผลกระทบจากห้องปิดทึบต่อคุณภาพอากาศที่แย่ลงและสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็กเล็กได้ รวมถึงครูยังมีความรู้เรื่องสารมลพิษอากาศประเภทอื่น ๆ ไม่มาก (นอกเหนือจากฝุ่น PM2.5) เช่น สารอินทรีย์ระเหย สารอินทรีย์กึ่งระเหย เป็นต้น ที่มาจากเฟอร์นิเจอร์ วัสดุ เครื่องใช้ภายในห้องเด็ก ซึ่งครูควรได้รับการเสริมความรู้และมีแหล่งเข้าถึงข้อมูล ที่สะดวก การปฏิบัติในระดับของนโยบายกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสุขภาพเด็กปฐมวัย อาจจำเป็นต้องทบทวนแผนกลยุทธ์ที่ดำเนินการอยู่เพื่อให้ครอบคลุมถึงการสร้างอากาศที่ปลอดภัย (safe air) ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กที่มิใช่เพียงแค่ปัญหา PM2.5 จากแหล่งกำเนิดในบรรยากาศภายนอกเท่านั้น

เมื่อพิจารณาผลสำรวจของครูอาสาในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกรุงเทพมหานคร มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเป็นผลมาจากความยากของการเข้าถึงข้อมูลและเข้าใจค่าคุณภาพอากาศ และมีผลต่อความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้และการมีส่วนร่วมเพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในอาคารให้ได้คุณภาพอากาศที่ดีในห้องเด็ก นอกเหนือจากเรื่องความรู้และความรอบรู้แล้วศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบร่วมต่อการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคาร เช่น โครงสร้างการบริหารงาน งบประมาณ ความเป็นเจ้าของในที่ดินสิ่งปลูกสร้างอาคาร เป็นต้น หรือแม้แต่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมของของครูอาสา ซึ่งเหตุเหล่านี้มีความเฉพาะและแตกต่างจากกรณีของครูที่ทำงานในโรงเรียนภายใต้สังกัดเดียวกันคือกรุงเทพมหานคร

นอกเหนือจากการดำเนินตามนโยบาย กรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolitan Administration) ควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน (Citinzen participation) เพื่อขับเคลื่อนการสร้างอากาศสะอาดสำหรับเด็กปฐมวัยในอาคารสาธารณะ เช่น โรงเรียน และ ศูนย์เด็กเล็ก เป็นต้น ผ่านกระบวนการตั้งแต่ การให้ข้อมูล การให้คำปรึกษาหรือการรับฟัง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม การสร้างความร่วมมือ และการมอบอำนาจตัดสินใจให้กับประชาชน ด้วยการขับเคลื่อนในทุกกระบวนการที่ต้องใช้ข้อมูล เป็นฐาน

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา ฐานีพานิชสกุล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพอากาศในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ใช้สำรวจในโครงการบริการวิชาการแก่สังคมในครั้งนี้

__________________________________________________________________________________________________________

เอกสารอ้างอิง

[1] UNICEF Thailand Representative. Early childhood development. https://www.unicef.org/thailand/what-we-do/early-childhood-development

[2] European Environment Agency. Air pollution and children's health. https://www.eea.europa.eu/publications/air-pollution-and-childrens-health

[3] Grippo, A., Zhu, K., Yeung, E. H., Bell, E. M., Bonner, M. R., Tian, L., Mendola, P., & Mu, L. (2023). Indoor air pollution exposure and early childhood development in the Upstate KIDS Study. Environmental Research, 234, 116528. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.envres.2023.116528

[4] สำนักการศึกษา. 2567. eBook รายงานสถิติการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2567. https://webportal.bangkok.go.th/bangkokeducation/page/sub/22894/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-2567

[5] ข้อมูลเปิดกรุงเทพมหานคร. (2566) ข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร (update ปี 2566). https://data.bangkok.go.th/dataset/children/resource/566c7560-2ab6-49fa-906c-2aac36f43aa4

[6] ข้อมูลเปิดกรุงเทพมหานคร. (2566) จำนวนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครทั้งหมด (update ปี 2565). https://data.bangkok.go.th/dataset/children/resource/f49c8910-636b-4431-a639-8dfac3690b8c

[7] สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. (2015) ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน. https://webportal.bangkok.go.th/social/page/sub/18742/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99

[8] ชินตา เตชะวิจิตรจารุ. (2561) ความรอบรู้ทางสุขภาพ: กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(พิเศษ), 1. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/130366

[9] Ongwandee, M., Khianthongkul, K., Panyametheekul, S., Yongprapat, K., Srinaka, K., & Morris, J. (2024). Bangkok school indoor air quality: monitoring and intervention by positive pressure fresh air system. Environmental science and pollution research international, 31(17), 25454–25467. https://doi.org/10.1007/s11356-024-32843-8

[10] Hou, W. H., Huang, Y. C., Lu, C. Y., Chen, I. C., Lee, P. C., Lin, M. Y., Wang, Y. C., Sulistyorini, L., & Li, C. Y. (2021). A national survey of ambient air pollution health literacy among adult residents of Taiwan. BMC public health, 21(1), 1604. https://doi.org/10.1186/s12889-021-11658-z

[11] Wynne Armand, (2024) Have a gas stove? How to reduce pollution that may harm health https://www.health.harvard.edu/blog/have-a-gas-stove-how-to-reduce-pollution-that-may-harm-health-202209072811 Harvard Health Publishing

[12] Edwards DA, Man JC, Brand P, Katstra JP, Sommerer K, Stone HA, Nardell E, Scheuch G. Inhaling to mitigate exhaled bioaerosols. Proc Natl Acad Sci U S A. 2004 Dec 14;101(50):17383-8. doi: 10.1073/pnas.0408159101. Epub 2004 Dec 6. PMID: 15583121; PMCID: PMC536048.

[13] Haug, A. (30 Mar 2020). Air Purifier vs. Positive Pressure Fresh Air System – an unfair Battle? https://www.airgradient.com/blog/air-purifier-vs-positive-pressure-fresh-air-system-an-unfair-battle/

[14] UNICEF (2024). Air Pollution. What is air pollution and how to protect your family from it. https://www.unicef.org/parenting/emergencies/air-pollution?gad\_source=1

[15] วิทยาลัยพัฒนามหานคร (2566) รายงานผลการดำเนินกิจกรรมตรวจวัดคุณภาพอากาศศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. โครงการบริการวิชาการโดย วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ปีงบประมาณ 2566.

[16] Chen, P. (2019). Visualization of real-time monitoring datagraphic of urban environmental quality. EURASIP Journal on Image and Video Processing, 2019(1), 42. https://doi.org/10.1186/s13640-019-0443-6

[17] สำนักสิ่งแวดล้อม. (2566) เดินหน้ากิจกรรมธงคุณภาพอากาศ ขยายสู่พื้นที่ชุมชนและ 50 สำนักงานเขตของ กทม. ให้ประชาชนรู้เท่าทันฝุ่น. 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 https://webportal.bangkok.go.th/environmentbma/page/sub/6671/0/7/info/374888/


บทความอื่นๆ

Read More

บทความ: พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและผลกระทบต่อพื้นที่ใช้ประโยชน์สำหรับการเกษตรของจังหวัดน่าน

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี