บทความ: การสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนสวนลุมพินี เขตปทุมวัน

บทคัดย่อ

โรงเรียนสวนลุมพินี ตระหนักถึงการจัดการขยะและได้นำแนวคิด 3Rs มาใช้ในการจัดการขยะในโรงเรียน โดยใช้วิธีการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและยั่งยืนด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) รวมถึงเพิ่มการคัดแยกขยะประเภทขยะเชื้อเพลิง และเน้นให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เพื่อสร้างพฤติกรรมเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง ได้แก่ ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะเชื้อเพลิง (Recycle plus) ขยะอันตราย และขยะทั่วไป ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เกิดความยั่งยืน มีการประยุกต์ระบบการคัดแยกขยะจากต้นแบบโครงการ Chula Zero Waste และเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ป้ายและสติกเกอร์ติดถังขยะ รวมถึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ การแสดงละคร เกมทบทวนความรู้ และการอบรมแกนนำ นำไปสู่ความเข้าใจและรับรู้ถึงความสำคัญของการลดและคัดแยกขยะ จากคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบความเข้าใจในการคัดแยกขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรม พบว่า ทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยในระยะหลังสูงกว่าระยะก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรม ดังนั้นการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมในการประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก ช่วยเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมากขึ้น และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพแวดล้อม พฤติกรรมของครอบครัว และจิตสำนึกของนักเรียน นอกจากนี้การอบรมแกนนำ หรือตัวแทนห้องของนักเรียน เป็นการให้ความรู้เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะของนักเรียนภายในโรงเรียน สุดท้ายแม้จะมีกิจกรรมและการรณรงค์ จะไม่เกิดความยั่งยืนหากทางโรงเรียนมิได้มีการปฏิบัติและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง


ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 25.70 ล้านตันหรือ 70,411 ตัน/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2565) กระจายตัวตามภูมิภาคต่าง ๆ มีอัตราการเกิดขยะมูลฝอยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร เฉลี่ยเท่ากับ 1.07 กิโลกรัม/คน/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2565) โดยกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 12,890 ตัน/วัน ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 3,840 ตัน/วัน (กรมควบคุมมลพิษ, 2565) ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่ถูกนำไปกำจัดโดยการฝังกลบที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดฉะเชิงเทรา แม้ว่าจะเป็นการฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาลแต่กระบวนการเก็บขนและฝังกลบยังสร้างความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน และยังเป็นการจัดการขยะที่ไม่ยั่งยืนอีกด้วย ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงได้จัดตั้ง “โครงการพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตปทุมวัน เขตพญาไทและเขตหนองแขม” ขึ้น ด้วยแนวคิดที่ว่าการส่งเสริมให้แหล่งกำเนิดขยะมีระบบและการปรับพฤติกรรมในการลดและคัดแยกขยะ รวมถึงการจัดการขยะอินทรีย์ที่ต้นทางนั้นเป็นหลักการจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับหลักการ 3R และหลักการลำดับขั้นในการจัดการขยะ (Waste Management Hierarchy) ที่ช่วยลดภาระงบประมาณและผลกระทบของการกำจัดขยะที่ปลายทางซึ่งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ใกล้บ่อขยะ โรงเรียนสวนลุมพินีเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่งในโครงการนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร

โดยปัญหาที่พบด้านการจัดการขยะของโรงเรียนสวนลุมพินี คือ ทางโรงเรียนมีระบบการจัดการขยะ โดยมีการคัดแยกขยะออกเป็น ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล และประจำแต่ประจำชั้นจะมีการจัดการขยะ เป็นกล่องนม เศษเหลาดินสอ แต่ขยะที่มีการจัดการขยะนั้นยังไม่มีปลายทางที่ชัดเจน ทำให้ขยะ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ต่อได้ ถึงแม้ทางโรงเรียนจะมีการจัดการขยะแล้วก็ตาม รวมทั้งโรงเรียนสวนลุมพินีมีความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย จึงมีการนำเอาแนวคิด 3Rs ที่แบ่งขยะออกเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย มาใช้ในการจัดการขยะภายในโรงเรียน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากขยะ จากการลงพื้นที่ศึกษาองค์ประกอบขยะของโรงเรียนสวนลุมพินี พบว่า ขยะพลาสติกและโฟมมีปริมาณมากที่สุด ร้อยละ 38.85 โดยน้ำหนัก ซึ่งขยะเหล่านี้สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) ได้ หากมีการคัดแยกขยะประเภทนี้ไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงขยะ จะสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การปลดปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions: GHG) และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้

โครงการนี้จึงได้เลือกใช้วิธีการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง และยั่งยืนด้วยแนวทาง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้นและนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 6-12 ปี รวมถึงการเพิ่มการคัดแยกขยะประเภทเชื้อเพลิงขยะเข้าไปในแผนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า โดยผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริงไม่ว่าจะเป็นการอ่าน เขียน ตั้งคำถาม และอภิปรายร่วมกัน ไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟัง ซึ่งกระบวนการคิดขั้นสูงเป็นการจัดอยู่ในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย กิจกรรมอบรมแกนนำ การติดตั้งป้ายและถังขยะ กิจกรรมละคร กิจกรรมเกมส่งขยะรอบวง และกิจกรรมถามตอบ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ (1) เพื่อสร้างพฤติกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสวนลุมพินี ในการคัดแยกประเภทขยะอย่างถูกต้อง ได้แก่ ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะเชื้อเพลิงขยะ (Recycle plus) ขยะอันตราย และขยะทั่วไป และ (2) เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและความยั่งยืนในการคัดแยกขยะ ด้วยการอบรมแกนนำหรือตัวแทนห้องของนักเรียนชั้นประถม ศึกษา โรงเรียนสวนลุมพินี

ในระยะก่อนดำเนินโครงการได้มีการลงพื้นที่สำรวจและติดต่อประสานกับทางโรงเรียน ทำให้ ได้แนวทางในการเสริมสร้างพฤติกรรมการลดและคัดแยกขยะของนักเรียนร่วมกัน คือ การปรับระบบการคัดแยกขยะภายในโรงเรียนให้มีการแบ่งประเภทขยะแบบ Chula Zero Waste model ซึ่งแบ่งประเภทขยะออกเป็นขยะรีไซเคิล ขยะรีไซเคิลพลัส ขยะทั่วไป และขยะอาหาร ทั้งนี้ได้มีการรวมเอาขยะอันตรายที่ทางโรงเรียนมีอยู่เดิมเข้าไปในระบบการคัดแยกขยะ

โดยการจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนในช่วงวัยนี้ จะต้องคำนึงถึงการเลือกใช้สื่อและกิจกรรมอย่างเหมาะสม โดยสื่อที่มีสีสัน มีความชัดเจน และกิจกรรมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วม และมีเนื้อหาน่าติดตามอย่างเกม หรือละครจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือก ที่มีความน่าสนใจที่จะช่วยดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการคิดตาม ทำให้ในโครงการนี้มีการเลือกใช้สื่อและกิจกรรมหลากหลายประเภท เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลดและคัดแยกขยะโดยประเภทของสื่อที่ถูกนำมาใช้จะประกอบไปด้วย ป้าย และสติกเกอร์ติดถังขยะ รวมถึงการเลือกใช้กิจกรรมอย่างเหมาะสมตามแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะ

ในส่วนของสื่อที่ใช้ในการรณรงค์อันดับแรก คือ ป้ายที่ใช้ในการบอกประเภทของถังขยะแต่ละชนิด โดยป้ายจะมีการใช้รูปภาพตัวอย่างขยะที่เป็นรูปภาพจริง มีการระบุถึงลักษณะความแตกต่างกันของขยะในแต่ละประเภท เช่น การมีแถบแสดงระดับความสกปรกของขยะ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้รูปตัวการ์ตูนเพื่อดึงดูดความสนใจ และช่วยให้เข้าถึงเด็กในช่วงวัยนี้ได้ดีขึ้น (รูปที่ 1) อันดับถัดมา คือ สติกเกอร์ติดถังขยะที่ใช้ในการบอกประเภทของถังขยะแต่ละชนิด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าตัวป้ายนั้นจะมีการลดทอนรายละเอียดลงโดยไม่ได้ใช้ภาพขยะจริง และมีข้อความกำกับชื่อของขยะแต่ละชนิด รวมถึงมีข้อความรณรงค์ให้ลดปริมาณขยะเพิ่มเข้ามาด้วย (รูปที่ 2) โดยตัวอย่างขยะทั้งบนป้ายและบนสติกเกอร์ จะเป็นขยะที่นักเรียนในโรงเรียนสวนลุมพินี มีความคุ้นเคยอยู่แล้วเนื่องจากเป็นขยะที่พบได้ทั่วไปในโรงเรียน

สำหรับบริเวณที่มีการติดตั้งถังขยะ ป้าย และสติกเกอร์ หลัก ๆ แล้ว จะเป็นบริเวณหน้าโรงอาหาร ซึ่งประกอบไปด้วย ถังขยะทั่วไป ถังขยะรีไซเคิลพลัส และถังขยะรีไซเคิล และในโรงอาหารจะเป็นถังขยะสำหรับเศษอาหาร ส่วนถังขยะอันตรายจะถูกแยกไว้มุมหนึ่งของโรงเรียน (รูปที่ 3)

1.png

รูปที่ 1 ป้ายบอกประเภทถังขยะ (ก) ถังขยะรีไซเคิล (ข) ถังขยะรีไซเคิลพลัส (ค) ถังขยะทั่วไป (ง) ถังขยะอาหาร (จ) ถังขยะอันตราย

2.png

รูปที่ 2 สติกเกอร์บอกประเภทถังขยะ (ก) ถังขยะรีไซเคิล (ข) ถังขยะรีไซเคิลพลัส (ค) ถังขยะอาหาร (ง) ถังขยะทั่วไป

3.png

รูปที่ 3 การติดตั้งป้ายและถังขยะ

กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้นจะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์ตามไปด้วย ในที่นี้การเล่นละคร เรื่อง “มาแยกขยะกันเถอะ” ถือเป็นจุดศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมครั้งนี้ เนื่องจากเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตามประเภทแบบ Chula Zero Waste model ที่จะตามมาด้วยกิจกรรมอันมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างการตอบคำถาม หรือกิจกรรมการเล่นเกมต่อไป โดยกิจกรรมจะประกอบไปด้วย

  1. กิจกรรมละคร เรื่อง “มาแยกขยะกันเถอะ”
  2. กิจกรรมเกม “ส่งขยะรอบวง”
  3. กิจกรรมตอบคำถามจากละคร
  4. กิจกรรมอบรมแกนนำเพื่อการสร้างพฤติกรรมลดและคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน

สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกนั้นมีการดำเนินการเป็นเวลารวมทั้งสิ้น 5 วัน โดยใช้คาบชมรม หรือช่วงหลังกิจกรรมหน้าเสาธง ในการดำเนินกิจกรรม (~15-30 นาที ต่อครั้ง) เนื้อเรื่องในละครตลอดทั้ง 5 วันนั้นจะเกี่ยวข้องกับถังขยะทั้ง 5 ประเภท ที่มีความต่อเนื่องชวนติดตามตลอด 5 วัน และตัวละครซึ่งเป็นถังขยะ แต่ละประเภทจะมีเรื่องราวเป็นของตัวเอง ที่จะถูกลงรายละเอียดมากน้อยต่างกันไปในแต่ละวัน เพื่อเน้นให้ แต่ละตัวละครมีบทบาทที่น่าจดจำ (รูปที่ 4)

ในวันที่ 1 จะเป็นเรื่องราวของตัวละครที่เป็นถังขยะรีไซเคิลพลัสซึ่งเป็นถังสำหรับขยะเชื้อเพลิง โดยนักเรียนและโรงเรียนสวนลุมพินียังไม่มีความคุ้นเคยกับขยะประเภทนี้ ทำให้กิจกรรมในวันแรกเลือกที่จะนำเสนอเกี่ยวกับถังขยะรีไซเคิลพลัสก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนและเป็นการปูพื้นฐานความรู้ไปสู่กิจกรรมละครในวันต่อ ๆ ไป ต่อมาในวันที่ 2 จะเป็นการแนะนำถังขยะรีไซเคิลโดยเน้นไปที่ขวดพลาสติก (PET) และกระป๋องอลูมิเนียมที่สามารถนำไปขายเป็นรายได้ต่อไปได้ ส่วนในวันที่ 3 จะพูดถึงถังขยะอาหาร โดยเน้นไปที่การแยกเศษอาหารที่สามารถนำไปทำปุ๋ยหรือเป็นอาหารปลาต่อไปได้ ในวันที่ 4 นั้นจะเป็นการแนะนำถังขยะทั่วไป โดยจะเน้นไปที่การแยกขยะออกเป็นสามประเภทแรกก่อน หากขยะมีความสกปรกมาก จึงจะทิ้งที่ถังขยะทั่วไป สุดท้ายในวันที่ 5 จะพูดถึงขยะอันตราย ที่แม้นักเรียนจะไม่ได้พบเจอในทุก ๆ วันก็ตาม แต่ต้องรู้และทิ้งได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ตัวบทละครจะมีการเลือกใช้คำที่ทันสมัยและมีการเลือกใช้สถานการณ์สมมติเป็นเหตุการณ์ในโรงเรียนด้วย เพื่อให้เข้าถึงเด็กในช่วงวัยนี้ที่เป็นวัยเรียน และพบเจอเรื่องราวและสถานการณ์ใกล้เคียงกับในละคร (รูปที่ 5)

4.png

รูปที่ 4 ลักษณะของตัวละครถังขยะ (ก) ถังขยะรีไซเคิลพลัส (ข) ถังขยะทั่วไป (ค) ถังขยะอาหาร (ง) ถังขยะอันตราย (จ) ถังขยะรีไซเคิล

5.png

รูปที่ 5 กิจกรรมละคร เรื่อง “มาแยกขยะกันเถอะ”

ด้วยเนื้อหาในบทละครที่มีความเกี่ยวข้องกับการคัดแยกขยะ รวมถึงการให้ความรู้และการแนะนำถังขยะแต่ละประเภท ทำให้เนื้อหาเหล่านี้ถูกนำมากล่าวถึงในกิจกรรมอื่นที่ทำการดำเนินการต่อเนื่องกันอย่างกิจกรรมตอบคำถามจากละคร และกิจกรรมเกม “ส่งขยะรอบวง” ที่จะจัดนักเรียนให้นั่งเป็นวงกลมแล้วมีการส่งรูปภาพตัวอย่างขยะที่ถูกอ้างถึงในบทละคร ต่อกันไปเรื่อย ๆ เมื่อภาพไปหยุดที่ใครจะต้องตอบว่าขยะชิ้นนั้นต้องถูกทิ้งลงในถังขยะประเภทไหน ทำให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสได้เห็นตัวอย่างขยะและเกิดการคิดระหว่างที่ทำกิจกรรม เพื่อแยกประเภทขยะนั้น ๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมและเกิดการคิดตามไปด้วย อย่างเช่นการตอบคำถามจากละครเพื่อแลกของรางวัล หรือการใช้บทละครที่ให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการโต้ตอบกับผู้แสดง จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ชมมีความตั้งใจ จดจ่อ และคิดตามไปกับบทละคร จนนำไปสู่การเกิดความเข้าใจ และรับรู้ถึงความสำคัญในการลดและคัดแยกขยะ อันเป็นส่วนประกอบในการเกิดพฤติกรรม การลดและคัดแยกขยะต่อไป

6.png

รูปที่ 6 กิจกรรมเกมส์ “ส่งขยะรอบวง”

7.png

รูปที่ 7 รูปภาพตัวอย่างขยะที่ถูกใช้ในกิจกรรมเกมส์ “ส่งขยะรอบวง”

8.png

รูปที่ 8 กิจกรรมอบรมแกนนำเพื่อการสร้างพฤติกรรมลดและคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน

จากการศึกษาองค์ประกอบขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ ของโรงเรียนสวนลุมพินี พบว่า องค์ประกอบขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้ที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ขยะอินทรีย์ขยะพลาสติก ขยะอื่น ๆ กระดาษ และมูลฝอยจากสวน แต่มีสัดส่วนขององค์ประกอบขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้ที่แตกต่างกัน โดยก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีน้ำหนักขยะทั้งหมด 2.23 กิโลกรัม ซึ่งพบขยะพลาสติกสูงที่สุด ร้อยละ 32.48 รองลงมา คือ ขยะอื่น ๆ ร้อยละ 23.52 รองลงมา คือ กระดาษ ร้อยละ 23.16 รองลงมา คือ ขยะอินทรีย์ ร้อยละ 12.77 และรองลงมา คือ มูลฝอยจากสวน คือ ร้อยละ 3.81 และหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีน้ำหนักขยะทั้งหมด 6.50 กิโลกรัม ซึ่งพบขยะอินทรีย์สูงที่สุด ร้อยละ 45.94 รองลงมา คือ ขยะอื่นๆ ร้อยละ 26.40 รองลงมา คือ ขยะพลาสติก ร้อยละ 17.21 รองลงมา คือ มูลฝอยจากสวน ร้อยละ 4.96 และรองลงมา คือ กระดาษ คือ ร้อยละ 4.49 ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ องค์ประกอบขยะมีทิศทางที่เปลี่ยนไป โดยพบขยะอินทรีย์ ขยะพลาสติก มูลฝอยจากสวน และขยะอื่น ๆ พบในปริมาณสูงขึ้น ยกเว้นขยะประเภทกระดาษที่มีปริมาณลดลง เนื่องจากวันที่ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหลังได้รับความรู้จากกิจกรรม เป็นวันที่โรงเรียนที่การจัดงานที่มีการจัดเบรก มีดอกไม้ไหว้พระ รวมทั้งโรงเรียนสวนลุมพินีพึ่งกลับมาเปิดการเรียนการสอน จึงอาจทำให้ทางโรงเรียนยังไม่มีเวลากลับมาดูแลและกวดขันให้นักเรียนคัดแยกและทิ้งขยะให้ถูกต้อง จึงทำให้ขยะทุก ๆ ประเภทมีปริมาณสูงขึ้น โดยแนวทางแก้ไข คือ ให้ทางโรงเรียนมีการเน้นย้ำเกี่ยวกับป้ายบอกประเภทถังขยะ ประเภทของถังขยะ และตัวอย่างประเภทขยะ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สามารถส่งเสริมให้นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามประเภทถังขยะ รวมทั้งกระตุ้นการจัดทำกิจกรรมรณรงค์ในแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ซึ่งสามารถช่วยส่งเสริมพฤติกรรมในการคัดแยกขยะให้กับนักเรียนในโรงเรียนสวนลุมพินี เพื่อสามารถนำขยะไปกำจัดได้อย่างถูกต้อง และลดปริมาณขยะที่ลมไปสู่หลุมฝังกลบ ซึ่งองค์ประกอบขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียนสวนลุมพินีนั้น ต้องมีระบบการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และจัดหาปลายทางเพื่อนำไปสู่การนำขยะไปใช้ประโยชน์ต่อซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะเหลือทิ้ง ที่ไปสู่หลุมฝังกลบ โดยปัจจัยที่ทำให้การจัดการขยะในโรงเรียนประสบความสำเร็จ คือ ทางผู้บริหาร และบุคลากรของโรงเรียนสวนลุมพินีมีความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้และรณรงค์ให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่องโดยยึดหลักลำดับขั้นการจัดการขยะ (Waste Management Hierarchy) เริ่มจากการลดหรือป้องกันการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง แต่ถ้ามีข้อจำกัดไม่สามารถลดหรือป้องกันการเกิดขยะได้ควรคัดแยกขยะ เพื่อนำไปใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล และสำหรับขยะที่รีไซเคิลไม่ได้จึงนำไปแปรรูปเป็นพลังงาน เพื่อนำไปสู่การจัดการขยะฝังกลบเป็นศูนย์

และจากการทดสอบและประเมินผล เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (ตารางที่ 1) พบว่า ทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ สูงกว่า ก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 33.34 และในระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-4 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน ในขณะที่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีคะแนนเฉลี่ยเท่าเดิม เนื่องจากเป็นระดับชั้นในวัยเด็กโต จึงอาจมีความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมาก่อน ทำให้คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมมีค่าไม่แตกต่างกัน

9.png

รูปที่ 9 องค์ประกอบมูลฝอยสด ก่อนการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการ ฯ (ร้อยละโดยน้ำหนักเปียก)

10.png

รูปที่ 10 องค์ประกอบมูลฝอยสด หลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการ ฯ (ร้อยละโดยน้ำหนักเปียก)

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบน้ำหนักขยะทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการฯ

T1.png

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะระหว่างก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการฯ

T2.png

หากพิจารณาจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้คะแนนเต็ม (10 คะแนน) จากแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากกิจกรรมโครงการฯ (ภาพที่ 9) พบว่า ก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีเพียงชั้นประถมคึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 คน เท่านั้น ในขณะที่หลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีนักเรียนได้คะแนนเต็มในทุกระดับชั้น โดยระดับชั้นที่มีจำนวนคนตอบได้คะแนนเต็มมากที่สุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 38.60 จากจำนวนคนทั้งหมด และระดับชั้นที่มีจำนวนคนตอบได้คะแนนเต็มน้อยที่สุด คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.6 จากจำนวน คนทั้งหมด เนื่องจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 มีตำแหน่งการรับชมที่ใกล้ชิดกับคณะผู้จัดทำในขณะแสดงละครให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ซึ่งชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 เนื่องด้วยวัยที่โตกว่า จึงทำให้มีสมาธิในการรับความรู้ที่คณะผู้จัดทำถ่ายทอดออกไปได้ดีกว่า อีกทั้ง จากการศึกษางานวิจัยเพิ่มเติม พบว่า เด็กอายุในช่วง 8-9 ปี มีทัศนคติและความรู้ที่นำไปสู่การแสดงออก เชิงพฤติกรรมที่ยั่งยืนมากกว่าวัยรุ่นและผู้ใหญ่ (Sorokowska, Marczak et al. 2020) และเนื่องด้วยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บางส่วนมีการติวสอบ O-net จึงทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมทำแบบทดสอบในระยะหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯได้ จึงทำให้คะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในระยะหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯต่ำกว่าในระยะก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ โดยก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีจำนวนนักเรียน เท่ากับ 10 คน ในขณะที่หลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ มีจำนวนนักเรียน เท่ากับ 38 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 35.7 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะมากขึ้นหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ

11.png

รูปที่ 11 เปรียบเทียบจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้คะแนนเต็ม (10 คะแนน) จากแบบสอบถามความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะระหว่างก่อนและหลังการได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ

ผลแบบทดสอบความพึงพอใจโครงการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืน โดยการหาค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจ (Poraiwan, 2564) พบว่า ความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 94.35 โดยหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ การเรียงลำดับเนื้อหา ในการให้ความรู้ได้อย่างถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 97.50 เนื่องจากคณะผู้จัดกิจกรรมแบ่งเนื้อหาการให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ ตามประเภทของถังขยะในแต่ละวัน จึงทำให้ไม่เกิดความสับสนและเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง และหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ความเหมาะสมของระยะเวลาที่จัดกิจกรรม อยู่ที่ร้อยละ 90.00 เนื่องจากระยะเวลาที่จำกัด ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาบางส่วนไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในแต่ละวัน ส่วนในด้านความเหมาะสมสื่อของคณะผู้จัดกิจกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 92.76 โดยหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด คือ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของคณะผู้จัดกิจกรรมอยู่ที่ร้อยละ 93.80 เนื่องจากมีสื่อ อุปกรณ์ และการแต่งกายประกอบการแสดงละครการคัดแยกขยะที่น่าสนใจ ทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาสามารถเข้าใจและเข้าถึงความรู้ได้ง่ายมากขึ้น และหัวข้อที่ได้รับความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ความรู้ ความสามารถของคณะผู้จัดกิจกรรมอยู่ที่ร้อยละ 91.60 เนื่องจากในช่วงถาม-ตอบหลังแสดงละครในแต่ละวัน ยังมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาบางส่วนที่ยังตอบคำถามไม่ถูกต้อง จากผลการศึกษาข้างต้นจะเห็นได้ว่าความพึงพอใจ อยู่ในระดับร้อยละ 90 ขึ้นไป แสดงถึงความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อกิจกรรมของโครงการฯ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (เกณฑ์พึงพอใจมากที่สุด > ร้อยละ 80-100)

จากการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการการสร้างพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนด้วยแนวทาง การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในระหว่างวันที่ 8 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของถังขยะ 5 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะเชื้อเพลิงขยะ และขยะอันตราย ผ่านรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ การติดตั้งป้ายและถังขยะ กิจกรรมละคร กิจกรรมเกมส่งขยะ รอบวง และกิจกรรมอบรมแกนนำ ซึ่งหลังการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวัน ผู้จัดกิจกรรมได้มีกิจกรรมถามตอบกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและเป็นการทบทวนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ จากการสังเกตพบว่า นักเรียนให้ความสนใจกับกิจกรรม มีส่วนร่วมกับผู้จัดกิจกรรมและมีความตั้งใจในการตอบคำถาม โดยในช่วงแรกของการจัดกิจกรรมนักเรียนยังมีความไม่มั่นใจในการตอบคำถาม แต่เมื่อดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน นักเรียนตอบคำถามได้อย่างมั่นใจและชัดเจนมากขึ้น ทำให้ผู้จัดสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนเปรียบเทียบกับวันแรกที่ดำเนินกิจกรรม ทำให้การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องส่งผลกับพฤติกรรมของนักเรียนในการตอบคำถามและมีส่วนร่วมกับกิจกรรม แต่ในแง่ของพฤติกรรมการคัดแยกขยะอาจจะยังไม่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เนื่องจากต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน และสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมการคัดแยกขยะก็มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน และหลังการดำเนินโครงการผ่านไป 2 สัปดาห์ได้มีการสำรวจการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยการสังเกตขยะในถังแต่ละประเภท พบว่า มีขยะที่ยังทิ้งไม่ถูกต้องตามประเภทของถังขยะ และจากการสัมภาษณ์แกนนำนักเรียน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่คัดแยกขยะได้ถูกต้อง แต่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 บางคนยังทิ้งได้ไม่ถูกต้อง สำหรับการประเมินผลโครงการได้มีการประเมินผลกิจกรรมโดยการ ให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ทำแบบทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะก่อนและหลังที่ได้รับความรู้จากกิจกรรมของโครงการ พบว่าการทำแบบทดสอบก่อนดำเนินโครงการนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการแยกขยะและการแยกประเภทของถังขยะ โดยทุกระดับชั้นมีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ สูงกว่าก่อนได้รับความรู้จากกิจกรรมโครงการฯ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2 คะแนน จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน การจัดกิจกรรมผ่านรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การติดตั้งป้ายและถังขยะ กิจกรรมละคร กิจกรรมเกมส่งขยะรอบวง และกิจกรรมอบรมแกนนำ เป็นต้น ช่วยส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะได้มากขึ้น

นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอแนะจากโรงเรียนสวนลุมพินี ดังนี้ หากมีการจัดกิจกรรมแบบแยกระดับ ชั้นเรียนจะช่วยให้เข้าถึงนักเรียนทุกระดับชั้นได้มากขึ้น โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ที่ยังมีการทิ้งขยะไม่ถูกต้องตามประเภทถังขยะ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการทำความเข้าใจมากกว่าระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ซึ่งมีความสามารถในการทำความเข้าใจได้มากกว่านักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และป้ายถังขยะที่ติดถังขยะมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย ทำให้นักเรียนสามารถสังเกตป้ายและทิ้งขยะได้ถูกต้องมากขึ้น และการปรับพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียนมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของครอบครัว และจิตสำนึกของนักเรียนที่มีต่อการคัดแยกขยะ นอกจากนี้การอบรมแกนนำ หรือตัวแทนห้องของนักเรียนเป็นการให้ความรู้ เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมการอบรม นำความรู้ที่ได้ไปใช้ตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกขยะของนักเรียนภายในโรงเรียน สุดท้ายแม้จะมีกิจกรรมและการรณรงค์แล้วก็ตาม แต่จะไม่เกิดความยั่งยืนเลยหากทางโรงเรียนมิได้มีการปฏิบัติ และสนับสนุนต่อไป ดังนั้นแล้วกิจกรรมอบรมแกนนำเพื่อการสร้างพฤติกรรมลดและคัดแยกขยะอย่างยั่งยืนจึงถูกจัดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้ สำหรับการอบรมแกนนำนั้นจะเป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างจิตสำนึก และความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของขยะที่มีรายละเอียดมากกว่ากิจกรรมหน้าเสาธงให้กับกลุ่มตัวแทนนักเรียน โดยเนื้อหาของการอบรมจะประกอบไปด้วย การชี้ให้เห็นภาพรวมของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการไม่แยกขยะ การแนะนำประเภทของถังขยะที่ถูกนำมาวางระบบในโรงเรียน รวมถึงปลายทางและการจัดการขยะที่เกิดขึ้นแล้ว นอกจากนี้ยังมีการชี้แนะแนวทาง การปฏิบัติหน้าที่ของแกนนำนักเรียนในการช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมการลดและคัดแยกขยะของนักเรียน ในโรงเรียนสวนลุมพินีต่อไปในอนาคตหลังจากกิจกรรมได้สิ้นสุดลงไปแล้ว

กิตติกรรมประกาศ

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 2308435 การสื่อสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 โดยการดำเนินการโครงการในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก “โครงการพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาเขตปทุมวัน เขตพญาไทและเขตหนองแขม” โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมี ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี จากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบโครงการและให้โอกาสผู้ดำเนินโครงการได้ทำส่งดี ๆ ในครั้งนี้ ผู้ดำเนินโครงการขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ และ ขอขอบพระคุณท่านผู้อํานวยการ รองผู้อํานวยการ และคณาจารย์ โรงเรียนสวนลุมพินี ที่ให้ความร่วมมือ และคําปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมถึงสละเวลาในการทํากิจกรรมและแบบสอบถามสำหรับโครงการนี้ ขอขอบคุณน้อง ๆ นิสิตจากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย ที่มีส่วนร่วมมาช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกขยะในโรงเรียน สุดท้ายขอขอบคุณน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนสวนลุมพินีที่ให้ความร่วมมือในการทํากิจกรรม และการทําแบบสอบถามเรื่องการคัดแยกขยะและความพึงพอใจต่อกิจกรรมจนทําให้โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

Sorokowska, A., M. Marczak, M. Misiak, M. M. Stefanczyk and P. Sorokowski (2020). "Children older than five years do not approve of wasting food: An experimental study on attitudes towards food wasting behavior in children and adults." Journal of Environmental Psychology 71: 101467.

Poraiwan. การหาค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจ. สืบค้นจาก : http://www.poraiwan.go.th/site/attachments/article/463/การหาค่าเฉลี่ยแบบประเมินความพึงพอใจ.pdf

กรมควบคุมมลพิษ. ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก : https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2565

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ปี พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก : https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2023/04/pcdnew-2023-04-11_03-13-24_292638.pdf


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์