โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

ในปี 2558 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับองค์การบริหาร ส่วนตำบลตะพง เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการจัดทำแผนผังพื้นที่สีเขียว แผนผังแสดงที่โล่ง (open - space plan) และ ผังชุมชน สำหรับใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และต่อมาในปี 2559 สำนักงานนโยบายฯ ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การบริหาร ส่วนตำบลตะพง ในการศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดทำผังชุมชนตะพง เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการพื้นที่ สีเขียวและพื้นที่โล่งในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง สำหรับบทความนี้ จะได้กล่าวถึงผลผลิตหลักของการดำเนินงานโครงการในปี 2559 พร้อมทั้งบทเรียน และแนวทางการขยายผลต่อไปในอนาคต


 มัธยา รักษาสัตย์. (2561). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 1), 16-24.

โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม 
กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง 
โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

มัธยา รักษาสัตย์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1. ที่มาของโครงการ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดทำโครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2554 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ เครื่องมือและกลไกด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน มีหลักการและวิธีการดำเนินงานที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  และบูรณาการความรู้ท้องถิ่นกับความรู้สากล โดยเฉพาะด้านการดูแลรักษาและบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมือง มีพื้นที่เป้าหมายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง บริเวณเขตเทศบาลนครระยอง ตำบลตะพง ตำบลเชิงเนิน และตำบลบ้านแลง ที่ผ่านมาโครงการมีผลผลิตประกอบด้วยระบบการบริหารจัดการข้อมูลพื้นที่สีเขียว ความรู้ด้านพรรณไม้ที่มีศักยภาพลดมลพิษและเหมาะสมกับพื้นที่ศึกษา และแนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ในเมืองที่มีกิจกรรมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และจากผลการดำเนินการโครงการ ทำให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล “ความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม” ในระดับดีเยี่ยม ประจำปี 2557 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร)

ในปี 2558 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการจัดทำแผนผังพื้นที่สีเขียว แผนผังแสดงที่โล่ง (open - space  plan) และผังชุมชน สำหรับใช้เป็นเครื่องมือกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ และต่อมาในปี 2559 สำนักงานนโยบายฯ ได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง ในการศึกษาและพัฒนากระบวนการจัดทำผังชุมชนตะพง เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งในชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง สำหรับบทความนี้ จะได้กล่าวถึงผลผลิตหลักของการดำเนินงานโครงการในปี 2559 พร้อมทั้งบทเรียน และแนวทางการขยายผลต่อไปในอนาคต

2. แนวทางการพัฒนาผังชุมชนเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง
พื้นที่สีเขียวเป็นองค์ประกอบสากลองค์ประกอบหนึ่งของสิ่งแวดล้อมเมืองยั่งยืน (environmentally sustainable cities) มีบทบาทหน้าที่สำคัญหลากหลายประการ ยกตัวอย่าง เป็นพื้นที่กันชน (buffer zone) ระหว่างพื้นที่ที่มีกิจกรรมหลักที่แตกต่างกัน (เช่น กรณีพื้นที่ตั้งโรงงงานอุตสาหกรรมกับพื้นที่ชุมชน) ป้องกันอุทกภัยและภัยพิบัติธรรมชาติ เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ลดอุณหภูมิ ป้องกันและบรรเทามลพิษด้านอากาศ ลดฝุ่นละออง เป็นแหล่งความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งเศรษฐกิจชุมชน สร้างความร่มรื่นน่าอยู่ ฯลฯ นอกจากนี้ เมืองในอนาคตกำลังเผชิญกับการหลั่งไหลของประชากรเข้ามาในพื้นที่ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือและกลไกที่ช่วยดูแลรักษาและบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งที่มีประสิทธิภาพมีส่วนร่วมของประชาชน ตอบโจทย์ของสังคม สอดคล้องไปกับวิถีชีวิต และการพัฒนาด้านอื่นในเมือง ในโครงการนี้ ได้ให้คำนิยาม “พื้นที่สีเขียว” และ “พื้นที่โล่ง” ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และกระบวนการศึกษา ดังนี้ “พื้นที่สีเขียว” หมายถึงพื้นที่กลางแจ้งและกึ่งกลางแจ้งที่มีขอบเขตที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนปกคลุมด้วยพรรณพืชบนดินที่ซึมน้ำได้หรืออาจมีสิ่งก่อสร้างอยู่ด้วยบางส่วน ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่สาธารณะหรือเอกชนที่สาธารณชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ “พื้นที่โล่ง” หมายถึง พื้นที่ที่ปราศจากหลังคาหรือสิ่งก่อสร้างปกคลุมที่ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการสาธารณะ มีลักษณะเป็นได้ทั้งพื้นที่ที่มีหรือไม่มีพรรณพืชปกคลุม รวมถึงพื้นที่น้ำซึมผ่านได้และไม่สามารถซึมผ่านได้

ภาพที่ 1 แผนผัง: เครื่องมือและกลไกการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง
(สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2559ก; 2559ข). 

เมื่อพิจารณาลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและกลไกในการบริหารจัดการ สามารถแบ่งพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) พื้นที่อนุรักษ์ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับระบบนิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ป่าสงวน เป็นต้น โดยทั่วไปถูกควบคุมไม่ให้มีการบุกรุกจากการพัฒนาเมือง และไม่ให้มีกิจกรรมการใช้ประโยชน์ใดในพื้นที่ (2) พื้นที่ใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่แหล่งน้ำเพื่อการดำรงชีพ และพื้นที่ใช้สอยประจำวัน ซึ่งในโครงการนี้ ได้แบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่ (ก) พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางนิเวศวิทยา (เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ป่าชายเลน) (ข) พื้นที่เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ชุมชน (ค) พื้นที่เพื่อนันทนาการและพักผ่อน (ง) พื้นที่เพื่อการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (จ) พื้นที่เพื่ออรรถประโยชน์ (ฉ) พื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น และ (ช) พื้นที่เพื่อการสาธารณประโยชน์อื่น (ภาพที่ 1) กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ประเภทพื้นที่อนุรักษ์ และประเภทพื้นที่ใช้ประโยชน์ มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ กลไกในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ประเภทพื้นที่อนุรักษ์ใช้กลไกทางกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ในขณะที่พื้นที่ใช้ประโยชน์ใช้กลไกทางด้านผังเมืองเป็นเครื่องมือสำคัญ

กลไกทางด้านผังเมืองที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง มีทั้งกลไกประเภทที่ต้องรองรับด้วยอำนาจทางกฎหมายและดำเนินการโดยภาครัฐ (เช่น ผังเมืองรวม) และกลไกประเภทที่เกิดจากการจัดทำข้อตกลงร่วมกันในชุมชนระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาคประชาชน เอกชน และรัฐ ได้แก่ การจัดทำผังชุมชน ซึ่งเป็นแผนผังที่ใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ มีลักษณะสำคัญคือสามารถแสดงเจตนารมณ์ของชุมชนในการดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่ของตนให้มีคุณภาพที่ดีกว่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เกิดความสมดุลระหว่างคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ โดยทั่วไปผังชุมชน ประกอบด้วย ผังนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังนโยบายการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ผังนโยบายการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และผังนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่งและสภาพแวดล้อม ในการจัดทำผังชุมชนต้องจัดให้มีการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มากที่สุด เพื่อให้ได้แผนผังที่ตอบสนองต่อความต้องการและแก้ไขปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ได้อย่างแท้จริง และสมเหตุสมผล ทั้งนี้ มีการให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือทางวิชาการ โดยเฉพาะด้านผังเมืองและด้านการจัดกระบวนการมีส่วนร่วม ผังชุมชนสามารถถูกผลักดันไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมใน 3 แนวทางหลัก ได้แก่ (1) ผนวกเนื้อหาของผังชุมชนเข้าไปในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น (2) จัดทำเป็นเทศบัญญัติท้องถิ่น (3) ใช้กลไกทางผังเมืองตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อนำข้อมูลในผังชุมชน ไปใช้ประกอบการจัดทำผังเมืองรวม เป็นต้น 


ภาพที่ 2 การมีส่วนร่วมของผู้บริหารท้องถิ่น


ภาพที่ 3 สำรวจพื้นที่เบื้องต้นโดยผู้บริหารท้องถิ่นและคณะผู้ศึกษา

ในประเทศไทย หน่วยงานและองค์กรหลายแห่งได้จัดทำผังชุมชนในหลายพื้นที่ เพื่อเป็นเครื่องมือและกลไกสำหรับปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน สำหรับการจัดทำผังชุมชนตะพงในครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อใช้เป็นเครื่องมือดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในอนาคต มีขั้นตอนสำคัญประกอบด้วย (1) วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกำหนดวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) รวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความต้องการของชุมชนในพื้นที่ ความจำเป็น โอกาส และความเสี่ยงที่ชุมชนประสบอยู่หรือจะประสบในอนาคต โดยศึกษารวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อออกแบบกระบวนการและกำหนดประเด็นศึกษา (ภาพที่ 2 และ 3) (3) สร้างภาพอนาคตการพัฒนาชุมชนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อกำหนดเป้าหมายและวิธีการพัฒนาชุมชนตามที่ต้องการและคาดหวัง เพื่อใช้เป็นข้อมูลตั้งต้นในการจัดทำผังชุมชน โดยได้จัดให้มีการหารือปัญหาข้อจำกัดและทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน การใช้ประโยชน์จากโอกาส และการรับมือกับความเสี่ยง โดยได้ข้อสรุปการพัฒนาในอนาคตที่ชุมชนตะพงต้องการ ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม (การรักษาสภาพทางธรรมชาติ การป้องกันภัยพิบัติ) (ภาพที่ 4 และ 5) (4) บูรณาการข้อมูลข้างต้นโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำมาร่างผังนโยบาย (ผังแนวคิด) ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้านการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ด้านการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง จากนั้น ได้นำเสนอในที่ประชุมหารือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชน อุตสาหกรรม และกลุ่มอื่นที่เกี่ยวข้อง ทีละกลุ่ม เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ข้อมูลที่ประมวลได้ทั้งหมดถูกนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงร่างผังนโยบายทั้ง 4 ผัง ดังกล่าว (5) พัฒนายุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ และตัวชี้วัด โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดทำเพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาที่กำหนดไว้ในผังชุมชน จากนั้น ได้นำเสนอในที่ประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น เพื่อปรับปรุงรายละเอียดเป็นขั้นตอนสุดท้าย (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 4 ประมวลข้อคิดเห็นของผู้นำชุมชน

ภาพที่ 5 รูปผังนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง ประเภททรัพยากรธรรมชาติและป้องกันภัยพิบัติ
(ที่มาของแผนภาพ: สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม.)

ในที่นี้ ขอกล่าวถึงผลการจัดทำผังชุมชนตะพง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผังนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่ง และสภาพแวดล้อม และแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม สรุปได้ดังนี้ ในการสำรวจพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง (รวมแหล่งน้ำ) ในพื้นที่ตำบลตะพง โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลตะพง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2559 พบว่า พื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งที่ชุมชนเห็นว่ามีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน มีจำนวน 148 แปลง มีเนื้อที่รวมประมาณ 3,000 ไร่ แปลงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เพื่อนันทนาการและพักผ่อน และพื้นที่เพื่ออรรถประโยชน์ เช่น สวนสาธารณะ ลานในบริเวณวัดและโรงเรียน ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และสวนสุขภาพ รวมทั้งพื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เช่น พื้นที่ริมแนวคลองและประตูน้ำ และพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ อัตราส่วนพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งดังกล่าว ต่อจำนวนประชากร คิดเป็นประมาณ 240 ตารางเมตรต่อคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด (ตำบลตะพงมีสถิติประชากรใน ปี 2558 ประมาณ 20,000 คน และมีพื้นที่รวมประมาณ 35,000 ไร่ (ประมาณ 56 ตารางกิโลเมตร)) ในจำนวน 148 แปลง มีพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง จำนวน 76 แปลง ที่ได้บรรจุลงในผังนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่ง และสภาพแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่ง 2 ประเภท ที่สามารถใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางนิเวศวิทยา และพื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการจัดทำ (ร่าง) ข้อบัญญัติ เรื่อง การบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระสำคัญครอบคลุมแปลงพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการพื้นที่ มาตรการและวิธีการเพื่อดำเนินการให้บรรลุเจตนารมณ์ รวมทั้งกฏระเบียบและข้อบังคับ นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว โดยมีโครงการที่น่าสนใจ เช่น โครงการให้ความรู้และเสริมสร้างความตระหนัก เพื่อเสริมสร้างให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งโดยชุมชน โครงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาระบบชลประทาน โครงการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการดูแลรักษาพื้นที่ป้องกันภัยน้ำท่วม โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่กันชนระหว่างชุมชนกับอุตสาหกรรม เป็นต้น  

อย่างไรก็ตาม เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ได้จริง (ร่าง) ข้อบัญญัติดังกล่าวที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการในขั้นตอนนี้จะต้องถูกนำเสนอต่อประชาชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น และต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น พร้อมทั้งผ่านขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเพื่อการประกาศใช้ต่อไป นอกจากนี้ ยังต้องมีกระบวนการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามของยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ และมาตรการดังกล่าว เพื่อสามารถดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งประเภทพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางนิเวศวิทยา และพื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ได้อย่างยั่งยืนตามความต้องการของชุมชน

ภาพที่ 6 สัมมนาระดมความคิดเห็นผู้แทนชุมชน

3. ข้อคิด ประโยชน์ และแนวทางการขยายผลโครงการในอนาคต
จากการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ มีข้อสรุปที่สำคัญ คือ หากชุมชนต้องการดูแลรักษาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งในท้องถิ่นของตัวเอง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่สะอาด และเอื้อต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ชุมชนมีทางเลือกโดยริเริ่มด้วยตนเอง โดยรวมตัวกัน ประสานงานกับผู้บริหารท้องถิ่น และหน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ พูดคุยหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่องทิศทางการใช้ประโยชน์ที่ดินตามความต้องการของตนเอง โดยต้องคำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ สภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ฯลฯ พร้อมทั้ง จัดหาหรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและ/หรือการบริหารจัดการเมืองและผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านที่ชุมชนยอมรับนับถือ เพื่อร่างแผนผังซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของชุมชนขึ้นมา จากนั้น เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ข้อตกลงดังกล่าวนั้น ต้องถูกนำไปผ่านกระบวนการรับรองหรือพิจารณาโดยผู้แทนประชาชนในสภาท้องถิ่นเป็นลำดับแรกก่อน ในทางกลับกัน ผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้นำชุมชนก็สามารถเป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์กระบวนการนี้ขึ้นมาก็ได้เช่นกัน ประโยชน์ที่เกิดขึ้นทันทีในระหว่างดำเนินการ คือ ความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของมีส่วนตัดสินใจอนาคตการใช้พื้นที่ของตนเอง การตระหนักรู้ความต้องการหรือมุมมองของคนอื่นในชุมชน การเรียนรู้ด้วยตนเองในการช่วยเหลือหาทางออกของปัญหาร่วมกัน และข้อมูลที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ในกรณีมีการจัดทำผังเมืองรวมอีกด้วย 

สำหรับนักวิชาการที่สนใจจัดทำผังชุมชนในพื้นที่อื่นหรือต่อยอดขยายผลต่อไป มีข้อคิดและข้อสังเกต ได้แก่ (1) ความตั้งใจและร่วมมืออย่างต่อเนื่องของผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งผู้นำชุมชน เป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ดังนั้น คณะผู้ศึกษาต้องสื่อสารให้ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ และเป็นระยะๆ จนสิ้นสุดโครงการ (2) ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ จะเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานโครงการเป็นระบบ และสามารถสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีประสิทธิภาพ (3) ในการวางแผนการสำรวจพื้นที่ควรใช้ประโยชน์จากข้อมูลพื้นฐานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอยู่ให้มากที่สุด โดยควรพิจารณาใช้ข้อมูลในแผนที่ภาษี (หากมี) เนื่องจากมีข้อเท็จจริงที่สำคัญ เช่น ขอบเขตหมู่บ้าน กรรมสิทธิ์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน นอกจากนี้ คณะผู้สำรวจควรประกอบด้วยผู้แทนชุมชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้แทนหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อให้การชี้เป้าหมายพื้นที่และการสำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและรวดเร็ว มีการมีส่วนร่วมของประชาชน และผลการสำรวจพื้นที่ควรนำมาจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการได้อย่างกว้างขวางต่อไป (4) คณะผู้ศึกษาและจัดทำผังชุมชน ควรประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง การพัฒนาเมือง การออกแบบชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมและการประชาสัมพันธ์ สารสนเทศภูมิศาสตร์ และบุคลากรสนับสนุนเพื่อบันทึกข้อมูลและถ่ายภาพ

แนวทางการจัดทำผังชุมชนเพื่อเป็นเครื่องมือบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งในการศึกษาครั้งนี้ มีศักยภาพในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น เช่น พื้นที่เป้าหมายการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน โดยเฉพาะจังหวัดในภาคตะวันออก อย่างไรก็ตาม ต้องศึกษาบริบทของพื้นที่และพิจารณาเจตนารมณ์ของชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ผังชุมชนและมาตรการเสริมด้านการจูงใจ ยังมีศักยภาพพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของแนวนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่สีเขียวและพื้นที่โล่งในระดับชาติและระดับภูมิภาคต่อไปในอนาคต

บรรณานุกรม
มัธยา รักษาสัตย์. (2558). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม (ตอนที่ 1). วารสารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 2) เมษายน – มิถุนายน, หน้า 34-47
มัธยา รักษาสัตย์. (2558). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม (ตอนที่ 2). วารสารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 3) กรกฎาคม – กันยายน, หน้า 30-37
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). คู่มือการจัดทำผังชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนสีเขียวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภชัย สุขสำราญ. 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม: กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. รายงานฉบับสุดท้าย. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภชัย สุขสำราญ. 
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). เอกสารถอดบทเรียน. โครงการชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรม: กิจกรรมการจัดทำกลไกและเครื่องมือเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ตัวอย่าง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สุภชัย สุขสำราญ. 


บทความอื่นๆ

Read More

ความท้าทายและแนวทางเฝ้าระวังมลสารไมโครพลาสติกในน้ำทิ้งจากการซักผ้า

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

รูปแบบและประเภทบทความ

สิ่งแวดล้อมไทย รับพิจารณาต้นฉบับบทความวิชาการที่มีเนื้อหาสาระด้านสิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตของวารสาร รูปแบบของการเขียนบทความประกอบด้วย 2 รูปแบบ ดังนี้

  1. บทความวิจัยหรือบทความที่นำเสนอส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย (Research article)
    บทความควรประกอบด้วย บทคัดย่อ คำสำคัญ ที่มาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการและขั้นตอนการศึกษา ผลการศึกษาและการอภิปรายผลการศึกษา บทสรุป และรายงานการอ้างอิง
  2. บทความวิชาการ (Academic article) บทความวิจารณ์ (Analytical article) และบทความปริทัศน์ (Review article)
    ควรประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ คำสำคัญ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ส่วนการวิเคราะห์/สังเคราะห์และการอภิปราย บทสรุป และรายการการอ้างอิง

2

ข้อกำหนดทั่วไป

  1. เป็นบทความภาษาไทยที่มีการแบ่งส่วนประกอบของบทความอย่างชัดเจน
  2. บทความนำเสนอในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว ต้นฉบับบทความควรมีความยาวไม่เกิน 10 หน้าขนาด A4 (รวมรูปภาพและตาราง) โดยใช้ตัวอักษร ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 ระยะบรรทัดแบบ Single space
  3. บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ
  4. องค์ประกอบของบทความ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
    • หน้าแรก ประกอบด้วย ชื่อบทความและข้อมูลของผู้นิพนธ์ (ชื่อผู้แต่ง หน่วยงาน อีเมล์ผู้รับผิดชอบบทความ) บทคัดย่อ และคำสำคัญ โดยข้อมูลทั้งหมดจัดทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    • ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย ข้อมูลเช่นเดียวกับหน้าแรก (โดยจัดทำเป็นภาษาไทย) และส่วนเนื้อความ ซึ่งจัดอยู่ในรูปแบบคอลัมน์เดี่ยว
  5. การใช้รูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิเพื่อประกอบในบทความ ให้ระบุลำดับและชื่อรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไว้ด้านล่างของวัตถุต่าง ๆ ดังกล่าว พร้อมอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับตาราง ให้ระบุลำดับและชื่อของตารางไว้ด้านบนของตารางนั้น ๆ พร้อมระบุการอ้างอิงแหล่งที่มา และหมายเหตุ (ถ้ามี) ไว้ด้านล่างตาราง วัตถุใด ๆ ที่ใช้ประกอบบทความ ต้องมีการอ้างอิงถึงในเนื้อหาด้วย
  6. รูปแบบของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิ ต้องกำหนดรูปแบบให้เป็น TIFF หรือ JPEG ที่มีความละเอียดของรูปภาพ แผนที่ และแผนภูมิไม่ต่ำกว่า 300 dpi

3

การอ้างอิงและบรรณานุกรม

  • กำหนดการอ้างอิงในเนื้อความเป็นแบบ "(นาม, ปี)"
  • รายการเอกสารอ้างอิงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นสากล และทันสมัย
  • เอกสารอ้างอิงทุกรายการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ
  • กำหนดรูปแบบรายการอ้างอิงในระบบ APA 6th ed โดยมีวิธีการเขียนรายการอ้างอิง ดังนี้
  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http://....

4

เอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ และเอกสารรับรองจริยธรรม

ผู้นิพนธ์ต้องจัดเตรียมเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลผู้นิพนธ์ และการรับรองจริยธรรม พร้อมลงนามรับรอง และจัดส่งพร้อมกับต้นฉบับบทความ

หมายเหตุ: ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดก่อนดำเนินการจัดส่งต้นฉบับ เพื่อความรวดเร็วในกระบวนการพิจารณาบทความ ทั้งนี้ หากต้นฉบับบทความไม่เป็นไปตามข้อกำหนดดังกล่าว ต้นฉบับบทความจะถูกส่งคืนให้กับผู้รับผิดชอบบทความเพื่อปรับปรุงแก้ไขก่อนดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

ความเป็นมา

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารวิชาการที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน (สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม เดิม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่องค์ความรู้และงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม (build and natural environment) และทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการวางแผนและการจัดการเชิงพื้นที่ และงานด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความตามมาตรฐานสากล

สิ่งแวดล้อมไทย หรือชื่อเดิม คือ วารสารสิ่งแวดล้อม (Environmental Journal) เริ่มดำเนินการและเผยแพร่ครั้งแรกในลักษณะรูปเล่มเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 เป็นวารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) และปรับเปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (Print): 0859-3868 และ ISSN (Online) : 2586-9248 ในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3

ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารเพื่อยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเข้าสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในระดับ Tier 2 วาสารสิ่งแวดล้อมจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2566 กล่าวคือ การปรับความถี่ในการแผยแพร่เป็นราย 6 เดือน (2 ฉบับ/ปี) คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับรูปแบบการดำเนินการผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ ได้แก่ การปรับช่องทางการจัดส่งต้นฉบับจากทางอีเมล์ (eric@chula.ac.th) เป็นการจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และปรับปรุงขั้นตอนการประเมินคุณภาพบทความก่อนการพิจารณาเผยแพร่ในลักษณะ Double blind review จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่าน และวารสารสิ่งแวดล้อม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วารสารสิ่งแวดล้อมไทย" ในปี พ.ศ. 2567 เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์และขอบเขตการนำเสนอที่ชัดเจน โดยมี ISSN : 3057-0166 (Online)

สิ่งแวดล้อมไทย เผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวงวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในประเทศไทยและระดับสากล รวมถึงการใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

บรรณาธิการ

อาจารย์ ดร. กัลยา สุนทรวงศ์สกุล
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

ดร. ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนงนาฎ ศรีประโชติ
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วราลักษณ์ คงอ้วน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดร. ยุทธนา ฐานมงคล
ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ดร. วิชญา รงค์สยามานนท์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในลักษณะสหศาสตร์ (multidisciplinary journal) ด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเวทีในการเผยแพร่องค์ความรู้และงานวิชาการที่ทันสมัยเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งงานวิจัย การปฏิบัติ นโยบาย และมุมมองต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นบริบทของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อวงวิชาการในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ในวงกว้างเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศ

ขอบเขตของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ครอบคลุมแนวคิด ผลลัพธ์และข้อมูลจากการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและงานด้านการวางแผนและนโยบาย ครอบคลุมงานการประเมิน การป้องกัน การฟื้นฟู และการวางแผนและการกำหนดนโยบาย

สิ่งแวดล้อมไทย ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการอย่างยั่งยืน
  • การจัดการเมืองยั่งยืน
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • นโยบายและกฎหมายสิ่งแวดล้อม
  • ประเด็นสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

กระบวนการพิจารณาบทความและขั้นตอนการดำเนินการเผยแพร่

วารสารสิ่งแวดล้อมไทย เปิดรับต้นฉบับบทความที่ยังไม่เคยมีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ

ขั้นตอนการพิจารณาเบื้องต้นเมื่อต้นฉบับบทความเข้าสู่กระบวนการ คือ ต้นฉบับบทความจะถูกประเมินและตรวจสอบความถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้า หากต้นฉบับบทความผ่านเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมดดังกล่าว จึงจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพและความถูกต้องเชิงวิชาการโดยผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ท่านจากหลากหลายสถาบันด้วยกระบวนการตรวจสอบแบบปกปิดสองฝ่าย (Double-blind review) การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ และมอบหมายต้นฉบับบทความให้แก่บรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ประเมินและอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย เพื่อพิจารณาคุณภาพของต้นฉบับและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงบทความ บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ กรณีเกิดความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน หัวหน้ากองบรรณาธิการจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย

เมื่อต้นฉบับบทความได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะเข้าสู่กระบวนการจัดรูปแบบ (Formating) การพิสูจน์อักษรและการตรวจสอบความถูกต้อง (Proofread) และการตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์ของบทความ และบทความจะได้รับหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) เพื่อเผยแพร่ออนไลน์ ทั้งนี้ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผัง

หลักปฏิบัติทางจริยธรรมของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

สิ่งแวดล้อมไทย ให้ความสำคัญสูงสุดและยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของผลงานวิชาการ ส่งเสริมให้ผู้เขียนยึดมั่นในมาตรฐานทางจริยธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีที่น่าเชื่อถือสำหรับการนำเสนอผลงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ หรือมีส่วนสำคัญในการพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับสากล

ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ "คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)" (https://publicationethics.org/) โดยเครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ "อักขราวิสุทธิ์" จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับบทความที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจง (หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธ) หรือปฏิเสธการรับพิจารณาบทความนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินต้นฉบับบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ สิ่งแวดล้อมไทยจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review)

สำหรับกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ ประกอบด้วย หัวหน้ากองบรรณาธิการ และบรรณาธิการ กองบรรณาธิการเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขอบเขตของงานวารสาร และมีความอิสระทางวิชาการในการดำเนินการ

กองบรรณาธิการ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลกระบวนการพิจารณาบทความให้เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุดของจริยธรรมทางวิชาการ โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • ความโปร่งใสและเป็นธรรม: กำกับดูแลให้กระบวนการประเมินบทความเป็นไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม และปราศจากอคติ โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่เปี่ยมด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ
  • การพิจารณาคุณภาพบทความ: พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของบทความอย่างละเอียด โดยมุ่งเน้นที่ความถูกต้องและความสำคัญทางวิชาการ ความชัดเจนในการนำเสนอ และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสาร
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน: ต้องรับรองว่าตนเองไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ กับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางในการตัดสินใจ
  • การจัดการการละเมิดจริยธรรม: หากตรวจพบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) หรือการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน (duplicate publication) ในระหว่างกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการมีหน้าที่ระงับกระบวนการทันที และดำเนินการติดต่อผู้นิพนธ์หลัก และ/หรือ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณากระบวนการประเมินบทความต่อไป หรือปฏิเสธการตีพิมพ์ต้นฉบับบทความดังกล่าว
  • การรักษาความลับ: ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความอย่างเคร่งครัด โดยจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาของกระบวนการประเมิน

สำหรับผู้นิพนธ์

ผู้นิพนธ์มีบทบาทสำคัญในการรับผิดชอบต่อความถูกต้องและความสมบูรณ์ของผลงาน หน้าที่และแนวปฏิบัติสำหรับผู้นิพนธ์เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรม ดังนี้

  • ความสมบูรณ์และเป็นต้นฉบับ: ต้องให้การรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์นั้น เป็นผลงานต้นฉบับที่ไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้นฉบับต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ระหว่างการพิจารณาของสิ่งแวดล้อมไทย
  • ความถูกต้องของข้อมูล: รายงานข้อเท็จจริงที่ได้จากการศึกษาวิจัย สังเคราะห์ และวิเคราะห์ อย่างซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จไม่ว่ากรณีใด ๆ
  • การตรวจสอบการคัดลอกผลงาน: ต้องดำเนินการตรวจสอบบทความของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การอ้างอิงที่ถูกต้อง: ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นรวมถึงของตนเอง ที่นำมาใช้ในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
  • การมีส่วนร่วมจริง: ผู้นิพนธ์ทุกคนที่มีชื่อปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการดำเนินการศึกษาวิจัยและการสร้างสรรค์บทความ ซึ่งหมายความรวมถึง การออกแบบแนวความคิดและขั้นตอนการศึกษา การค้นคว้า การวิเคราะห์ การอภิปราย การให้บทสรุป และการเขียนบทความ
  • การระบุชื่อผู้นิพนธ์: ผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) ควรตรวจสอบว่า รายชื่อผู้นิพนธ์ถูกต้อง และได้รับการยินยอมจากทุกคนก่อนส่งบทความ การเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้นิพนธ์ภายหลังการส่งต้นฉบับจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษโดยบรรณาธิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้นิพนธ์ทุกคน
  • การระบุแหล่งทุน: ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พร้อมทั้งแนบหลักฐานการยินยอมให้เผยแพร่ข้อมูลจากผู้สนับสนุนดังกล่าว (หากจำเป็น)
  • การรับรองจริยธรรมการวิจัย: ต้องพิจารณาและรับรองว่างานวิจัยที่ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ หรือจริยธรรมการวิจัยด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์จะต้องให้ข้อมูลและลงนามในแบบรับรองจริยธรรมที่แนบมาพร้อมกับเอกสารแสดงความจำนงในการส่งบทความ
  • การรับรองสิทธิ์: ต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารสิ่งแวดล้อมไทยภายหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับการตีพิมพ์แล้ว
  • ความรับผิดชอบในบทความ: ผู้นิพนธ์ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิชาการตลอดจนการคัดลอกและการลอกเลียนแบบที่ปรากฎในบทความของตน

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพของบทความ ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้นิพนธ์ปรับปรุงคุณภาพของต้นฉบับ และรับประกันว่าต้นฉบับมีคุณภาพเหมาะสมต่อการตีพิมพ์ อันจะนำไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้

  • การรักษาความลับ: มีหน้าที่รักษาความลับของบทความที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอย่างเคร่งครัด ไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่บุคคลภายนอก
  • การประเมินตามความเชี่ยวชาญและหลักวิชาการ: พิจารณาและประเมินบทความเฉพาะในสาขาที่ตนเองมีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง การกลั่นกรองบทความต้องพิจารณาความถูกต้องของหลักการทางวิชาการของบทความเป็นสำคัญ และหลีกเลี่ยงการใช้ทัศนคติส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในการประเมินบทความ
  • การตรงต่อเวลา: ดำเนินการประเมินบทความให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนด
  • การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและความขัดแย้งทางผลประโยชน์: ต้องตรวจสอบและแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบทันที หากพบว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ หรือมีเหตุผลอื่นใดที่อาจส่งผลต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการประเมิน และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
  • การแจ้งการซ้ำซ้อน: หากตรวจพบบทความที่กำลังประเมินมีส่วนใดส่วนหนึ่งคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับผลงานที่เคยตีพิมพ์อื่นใด ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที

บทความที่ได้รับการเผยแพร่นี้ การเผยแพร่ รูปเล่ม เรขนิเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย เนื้อหาข้อความ ความคิด การสร้างสรรค์ ภาพประกอบ เป็นลิขสิทธิ์ของผู้นิพนธ์แต่ละท่าน ซึ่งจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาบทความ ภาพประกอบ ตลอดจนจริยธรรมในการวิจัยของตนเอง

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารในรูปแบบ E-Journal และเปิดให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาอย่างเสรี (Open Access) สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บทความได้รับการตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการใช้ประโยชน์ไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสารสิ่งแวดล้อมไทย

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้น ผู้นิพนธ์เจ้าของบทความจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการวารสารสิ่งแวดล้อมไทยเท่านั้น

บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ผู้นิพนธ์จะทำการโอนมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการสิ่งแวดล้อมไทยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วเท่านั้น

วารสารสิ่งแวดล้อมไทยเปิดรับบทความวิชาการและบทความวิจัยตลอดทั้งทั้งปีผ่านระบบออนไลน์ โดยมีกำหนดการเผยแพร่ 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (ธันวาคม)

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งหมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในการส่งต้นฉบับ กระบวนการพิจารณาและการดำเนินการด้านบรรณาธิการ กระบวนการประเมินและตรวจสอบคุณภาพต้นฉบับบทความ กระบวนการด้านการจัดรูปแบบ การผลิต และการตีพิมพ์