การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกครั้งเดียวทิ้งของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ในกิจกรรมถนนคนเดิน โดยการใช้เกมจับฉลาก

บทคัดย่อ

กิจกรรม Green Lucky ที่จัดขึ้น ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน เป็นการใช้เกมจับฉลาก เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยตั๋วจับฉลากของ Green Lucky สามารถส่งเสริมทางเลือกให้กับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น ย่อยสลายได้ หรือสามารถขายได้) ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาที่สูงกว่าพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) กิจกรรมนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคผ่านบัตรส่วนลดและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากขยะ (Upcycling Product) ซึ่งเป็นของรางวัลที่ได้จากกิจกรรมการจับฉลาก Green Lucky ทำให้เกิดความต้องการตั๋วจับฉลาก Green Lucky จากผู้บริโภค (Demand Driving) ส่งผลให้ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มมีแรงจูงใจในการเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีแนวทางการลดการใช้ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) เพื่อให้มีสิทธิรับโควตาตั๋วจับฉลาก Green Lucky โดยกิจกรรม Green Lucky สามารถลดปริมาณขยะไปยังหลุมฝังกลบได้ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินกิจกรรม นอกจากนั้น พฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มหลังสิ้นสุดกิจกรรมไปแล้ว 1 เดือน ยังคงเหมือนกับช่วงระหว่างการดำเนินกิจกรรม Green Lucky ซึ่งแตกต่างจากกิจกรรมอื่น ๆ ที่ให้งบสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ แต่ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ของร้านอาหารและเครื่องดื่มได้ แม้ว่างบประมาณในการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky จะมีต้นทุนสูงกว่างบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนากลไกการให้ของรางวัล เช่น ราคาของตั๋วส่วนลด และสัดส่วนของตั๋วส่วนลดมูลค่าต่าง ๆ เป็นต้น อาจช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky อนาคตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


1. บทนำ

ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับแล้วว่าปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งมีสาเหตุของปัญหามาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศโลกซึ่งทำให้เกิดการสะสมความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศ โดยในทางวิชาการก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้จะถูกคำนวณเปลี่ยนหน่วยให้เป็นหน่วยเดียวกันซึ่งนิยมใช้หน่วยเทียบเท่าความสามารถในการสะสมความร้อนโดยคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นที่มาของการเรียกการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันโดยย่อ ว่า “การปลดปล่อยคาร์บอน” (Carbon emission)

การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่มีการปล่อยคาร์บอนปริมาณมากออกสู่บรรยากาศ โดยมีที่มาจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการท่องเที่ยว อาทิ การเดินทาง การเข้าพัก การบริโภค และจับจ่ายใช้สอย รวมถึงการสันทนาการต่าง ๆ ดังนั้น การลดการปล่อยคาร์บอนจากการท่องเที่ยวจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอน (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2564)

ในการนี้ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) จึงผลักดันให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low carbon tourism) โดยมีแนวคิดให้ทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมรับประโยชน์จากการลดการปล่อยคาร์บอน โดยยังคงอัตลักษณ์ของศิลปวัฒธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ จึงมีเป้าหมายให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ และมีส่วนร่วมกับชุมชนในกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งนำไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอน โดยยังคงไว้ซึ่งความสุข ความสะดวกสบาย และประสบการณ์ที่ดีที่ได้รับจากการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่สำคัญในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ คือ ส่วนต่างของราคาของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมักมีราคาที่แพงกว่าสินค้าทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ลังเลที่จะจ่าย ยกตัวอย่างเช่น ราคาของเนื้อสัตว์ทั่วไปอยู่ที่ 3.79 USD/Ib ในขณะที่ โปรตีนทางเลือกจากพืช (Plant-based meat) มีราคาสูงถึง 5.76 USD/Ib (Breakthrough Energy, 2567) หรือ จานพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งมีราคาประมาณ 0.58 บาท/จาน แต่จานชานอ้อยที่ย่อยสลายได้มีราคาสูงถึง 2.5 บาท/จาน ผู้ที่จะต้องจ่ายค่าส่วนต่าง Green Premium นี้ คือ ผู้บริโภค หรือร้านค้า

ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ผู้บริโภค หรือร้านค้า ให้เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่มีราคาที่สูงกว่าพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) จำเป็นที่จะต้องลดส่วนต่าง Green Premium นี้ สามารถทำได้โดยการลดต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการหามูลค่าเพิ่มให้กับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ของบทความวิชาการนี้ คือ การศึกษาการเพิ่มมูลค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม โดยในโครงการนี้ผู้ศึกษาได้เลือกใช้ “ความสนุก” และ “ความคาดหวัง” จากการจับฉลากภายใต้กิจกรรม “Green Lucky” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประสบความสำเร็จที่ดำเนินการโดย บริษัท Trash Lucky ที่มีการรับซื้อขยะรีไซเคิลเพื่อมาลุ้นทองจากบริษัท (Trash Lucky, 2564)

กิจกรรมนี้ เป็นการทดสอบในสองประเด็นหลัก คือ 1) ถ้าสินค้ามีมูลค่ามากพอ คนจะเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ราคาสูงกว่าหรือไม่ และ 2) หากมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะส่งผลต่อขยะที่เกิดขึ้นอย่างไร โดยในการกิจกรรมนี้ ผู้ศึกษาเชื่อว่ากิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้ผู้บริโภคหันมาสนใจสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยจะส่งผลให้ขยะที่เกิดขึ้นสามารถนำไปรีไซเคิลได้ และมีขยะที่ต้องนำไปฝังกลบลดลง ในการศึกษานี้ ทำการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำหนักและชนิดของขยะที่เกิดขึ้น ก่อนจัดกิจกรรม ระหว่างจัดกิจกรรม และหลังการจัดกิจกรรม รวมไปถึงปริมาณร้านค้า และผู้ใช้บริการ ที่เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการในระยะเวลาดังกล่าว

2. รายละเอียดของกิจกรรม Green Lucky

1) กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ ของการศึกษานี้ คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่จำหน่ายสินค้าในถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นทุกเย็นวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ภายในกิจกรรมถนนคนเดินนี้ จะมีร้านอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านที่ขายของที่ระลึก เมื่อผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มเสร็จแล้ว จะสามารถนำไปรับประทานได้ที่บริเวณลานหน้าวัดภูมินทร์ ที่ทางเทศบาลเมืองน่าน มีการจัดพื้นที่ลานขันโตกให้บริการ

จากการสำรวจผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 พบว่า มีร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม จำนวนทั้งหมด 151 ร้าน และแยกตามภาชนะที่ใส่อาหาร ดังที่แสดงใน ตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่าบางร้านค้าจะมีบรรจุภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด และมีสัดส่วนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ร้อยละ 48

ตารางที่ 1 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ของร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ก่อนเริ่มกิจกรรม Green Lucky

2) กิจกรรมจับฉลาก Green Lucky

ร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม Green Lucky จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ต้องเป็นร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าในบริเวณถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน และ (2) ร้านค้าต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น จานชามชานอ้อย ใบตอง แก้วพลาสติกหรือกล่องอาหารพลาสติก ชนิด Polypropylene (PP) และช้อนส้อมชนิด Polystylene (PS) ที่สามารถขายได้ เป็นต้น

ร้านค้าที่ได้รับการตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม จะได้โควตา ตั๋วจับฉลาก Green Lucky (รูปที่ 1) ไปร้านค้าละ 20 ใบ สำหรับมอบให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ โดยตั๋วจับฉลากนี้ ทางลูกค้าสามารถนำมาจับฉลากแลกของรางวัล เช่น บัตรส่วนลดสำหรับร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม Green Lucky และ Upcycling Product ผลิตโดยวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ได้ที่บูทจับฉลากของ Green Lucky (รูปที่ 2) ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์พื้นที่จากเทศบาลเมืองน่าน ภายในบูทกิจกรรมจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่สามารถช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง

รูปที่ 1 ตั๋วจับฉลาก Green Lucky ที่แจกให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม (1) และ ป้ายตั้งหน้าร้านที่เข้าร่วมกิจกรรม (2)

รูปที่ 2 ขั้นตอนต่าง ๆ ในกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky

ของรางวัลที่ได้จากการจับฉลาก Green Lucky จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ระดับ ระดับที่ 3-5 เป็นบัตรส่วนลดที่มีมูลค่ารวม 78,210 บาท แต่ไม่มีการบันทึกจำนวนของบัตรส่วนลดแต่ละใบที่มีการนำมาแลก ดังที่แสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ของรางวัลในกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky และมูลค่ารวม

การจัดกิจกรรม Green Lucky ดำเนินการระหว่าง เดือน สิงหาคม - กันยายน 2566 ทุกวัน ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 วัน เมื่อสิ้นสุดกิจกรรมในแต่ละวัน ร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม Green Lucky จะนำบัตรส่วนลด มาแลกเงินสดที่บูทจับฉลาก และทางคณะวิจัยจะมีการชั่งและบันทึกน้ำหนักของขยะในแต่ละชนิดร่วมกับ เจ้าหน้าที่ อปพร. เทศบาลเมืองน่าน (รูปที่ 3) แบ่งออกเป็น 12 ประเภท คือ (1) ขวดพลาสติก, (2) แก้วพลาสติก/กล่องพลาสติก ชนิด PP, (3) ช้อน ส้อม พลาสติก, (4) ตะเกียบและไม้เสียบต่าง ๆ , (5) จานชามชานอ้อย, (6) เศษอาหาร, (7) ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร, (8) หลอดพลาสติก, (9) กระดาษห่อ ใบตอง ทิชชู, (10) กล่องพลาสติก และฝาพลาสติก (ขายไม่ได้), (11) กะลามะพร้าว และ (12) ขยะทั่วไป ซึ่งการชั่งและบันทึกข้อมูลขยะทำเป็น 3 ช่วง ดังนี้

  1. ก่อนการจัดกิจกรรม (30 กันยายน 2566 – 14 สิงหาคม 2566 จำนวน 5 ครั้ง)

  2. ระหว่างการจัดกิจกรรม (18 สิงหาคม 2566 – 10 กันยายน 2566 จำนวน 10 ครั้ง)

  3. หลังจากจัดกิจกรรม (16 กันยายน 2566 – 15 ตุลาคม 2566 จำนวน 11 ครั้ง)

รูปที่ 3 บริเวณกิจกรรมการคัดแยกขยะ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ อปพร. เทศบาลเมืองน่าน

3) ผลการดำเนินงาน

การจัดกิจกรรม Green Lucky ดำเนินการระหว่าง เดือน สิงหาคม - กันยายน 2566 ทุกวัน ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 วัน ณ ถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน โดยในช่วงก่อนเริ่มกิจกรรม (ระยะที่ 1) มีร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 44 ร้านค้า (ข้อมูลวันที่ 18 สิงหาคม 2567) ที่ผ่านการอบรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำมาขายได้จากโครงการ ฯ ได้รับความร่วมมือจากเทศบาลเมืองน่าน และผู้ประกอบการร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล ในพื้นที่จังหวัดน่าน (รูปที่ 4) โดยร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ มีแนวทางในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถขายได้ และมาตรการการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ดังแสดงใน รูปที่ 5

รูปที่ 4 การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกประเภทขยะและบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติก การเรียนรู้การลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง จากร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม

รูปที่ 5 ตัวอย่างแนวทางการลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง จากร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม Green Lucky

ในระหว่างการจัดกิจกรรม มีเสียงตอบรับที่ดีจากทั้งร้านค้าและผู้มาใช้บริการ จากผลกระทบของกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky ที่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการการจัดการที่ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) โดยการให้ “สิทธิการจับฉลาก” ทำให้เกิดความต้องการตั๋วจับฉลาก Green Lucky จากทางฝั่งของผู้มาใช้บริการ (Demand Driving) ส่งผลให้มีร้านอาหารและเครื่องดื่มสนใจเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มขึ้นจาก 44 ร้าน เป็น 86 ร้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2566) จากร้านอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด 151 ร้านค้า เพื่อให้ได้รับโควตาตั๋วจับฉลาก Green Lucky สำหรับเป็นโปรโมชั่นแก่ผู้มาใช้บริการ

จากข้อมูลการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky ของผู้มาใช้บริการ มีด้วยกันทั้งสิ้น 3,028 คน จากข้อมูลลงทะเบียนพบว่า ผู้เข้าร่วมสนใจกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky แบ่งเป็น กลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 9.54 ที่มีความต้องการบัตรส่วนลด ไปใช้ซื้ออาหารและเครื่องดื่มของร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยผู้ใช้บริการกลุ่มนี้มีความสามารถโน้มน้าวให้ผู้ปกครองเลือกใช้บริการร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมกิจกรรม Green Lucky

ถึงแม้ร้านค้าจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เฉลี่ย 240 บาทต่อร้านค้า แต่สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากบัตรส่วนลด จากการที่นำบัตรส่วนลดที่ได้รับจากลูกค้ามาแลกเป็นเงินสดที่ซุ้มกิจกรรม Green Lucky เฉลี่ย 859 บาทต่อร้านค้า (รวมงบประมาณของของรางวัลทั้งหมด) ซึ่งต้นทุน Green Premium จากการเปลี่ยนพฤติกรรมร้านค้าให้มีการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) จะตกมาเป็นภาระของผู้จัดกิจกรรมจับฉลาก Green Premium ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ยังถือเป็นต้นทุนที่สูงกว่าต้นทุนของการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทางคณะวิจัย คาดว่า ต้นทุน Green Premium เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมร้านค้าในการลดการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ด้วยกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky สามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

  1. การปรับปรุงประเภทและมูลค่าของรางวัล

จากการสำรวจความต้องการของผู้มาจับฉลาก พบว่า ของรางวัลที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ได้แก่ แก้วน้ำลายอัตลักษณ์น่าน ซึ่งมีมูลค่าสูงสุด (300 บาท) รองลงมาคือ บัตรส่วนลดของร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม การปรับปรุงประเภทและมูลค่าของรางวัล จากมูลค่าของรางวัลแต่ละประเภท (ตารางที่ 2) พบว่า มูลค่ารวมของรางวัลที่ 1 มีมูลค่าต่ำที่สุด ตรงข้ามกับ ของรางวัลที่ 2-5 มีมูลค่าสูงกว่ามาก เพราะเหตุนี้ทำให้ต้นทุนของการจับฉลาก Green Lucky สูงมาก การปรับสัดส่วนดังกล่าวให้มีสัดส่วนมูลค่าของรางวัลประเภทที่ 2-5 ลดลง จะสามารถลดต้นทุนดังกล่าวได้ โดยสามารถใช้ตัวอย่างจาก มูลค่าของรางวัลฉลากกินแบ่งรัฐบาล ที่มีมูลค่าการขายฉลากอยู่ที่ 80 ล้านบาท และมีฉลากทั้งหมด 1 ล้านใบ ดังแสดงใน ตารางที่ 3 ซึ่งมีสัดส่วนมูลค่ารางวัลที่ 1 มากถึงร้อยละ 12.50 เมื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky มีสัดส่วน ร้อยละ 6.58 (ตารางที่ 2) และสำหรับฉลากกินแบ่งรัฐบาลจะมีฉลากที่ไม่ถูกรางวัล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.58 ซึ่งแตกต่างจากกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky ที่มีรางวัลให้กับฉลากทุกใบ

ตารางที่ 3 ชนิดรางวัลและมูลค่ารางวัลของฉลากกินแบ่งรัฐบาล (สำนักงานฉลากกินแบ่งรัฐบาล, 2560)

นอกจากการปรับสัดส่วนแล้ว การหาของรางวัลที่มีมูลค่าน้อย (ต่ำกว่า 5 บาท/ชิ้น) หรือได้รับการสนับสนุนจากวิสาหกิจชุมชน เช่น ขนมท้องถิ่น บัตรส่วนลด หรือสิทธิพิเศษต่าง ๆ ก็สามารถลดต้นทุนให้กับกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky ได้เช่นกัน โดยทางผู้ให้การสนับสนุนจะได้ประโยชน์จากการโฆษณาสินค้าและทดลองสินค้าจากกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky

  1. การสร้างรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จากผลการสำรวจราคาของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการซื้อของร้านค้า พบว่า ร้านค้าจะซื้อบรรจุภัณฑ์ในปริมาณที่ไม่มาก ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วย (ราคาขายปลีก) ค่อนข้างสูงกว่าการซื้อในปริมาณมาก (ราคาขายส่ง) ทางคณะวิจัย เล็งเห็นว่า หน่วยงานที่จัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky สามารถเป็นผู้ขายบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวได้ โดยการซื้อมาในราคาขายส่ง และขายในราคาต่ำกว่าราคาขายปลีกให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky

นอกจากจะสามารถสร้างรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์แก่ร้านอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังสามารถควบคุมชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในกิจกรรมถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่านได้ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการคัดแยก และการขาย

  1. การสร้างรายได้จากการขายบรรจุภัณฑ์พลาสติก

จากการเข้าร่วมกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky ทำให้ร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถขายได้ในพื้นที่ สัดส่วนของแก้วพลาสติก และกล่องพลาสติกชนิด PP เพิ่มขึ้นมาก และสามารถสร้างรายได้จากการขายขยะพลาสติกดังกล่าว โดยรายได้จากการขายพลาสติกก่อนหน้ากิจกรรมจับฉลาก Green Lucky จะมีการขายขวด PET เท่านั้น สร้างรายได้ประมาณ 40 บาท/วัน เมื่อมีกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky สามารถขายพลาสติกได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ขวด PET, แก้ว และกล่องพลาสติก PP รวมถึง ช้อนส้อมพลาสติก PS รวมเป็นจำนวนเงิน 50-90 บาท/วัน

ปัจจุบันรายได้จากการขายขยะพลาสติก บริหารจัดการโดย เจ้าหน้าที่ อปพร. เทศบาลเมืองน่าน ซึ่งสามารถพัฒนากลุ่มนี้ให้เป็นตัวแทนขายบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามข้อเสนอแนะที่ 2 ได้

4) ข้อมูลปริมาณขยะ

คณะวิจัยได้มีการแยกประเภทและชั่งปริมาณของขยะที่เกิดขึ้น ก่อน ระหว่าง และหลังจากการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky พบว่า ปริมาณขยะทั่วไปที่ส่งไปยังหลุมฝังกลบ มีปริมาณลดลงจากก่อนการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky และยังคงสัดส่วนดังกล่าวหลังจากการจัดกิจกรรมไปแล้ว 1 เดือน ค่าเฉลี่ยก่อน ระหว่าง และหลังกิจกรรม ของขยะแต่ละประเภท ถูกแสดงเปรียบเทียบใน ตารางที่ 4 สำหรับข้อมูลดิบสามารถดูได้ที่ ภาคผนวก ก

ตารางที่ 4 สัดส่วนเฉลี่ยของขยะแต่ละประเภทในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky

ถึงแม้สัดส่วนของขยะที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นหลังจากการดำเนินกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky เนื่องจากมีสัดส่วนเศษอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ได้มาจากสัดส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายขยะพลาสติกและสัดส่วนขยะที่ไปยังหลุมฝังกลบลดลง แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนเปลงพฤติกรรมของร้านค้าที่หันมาใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic)

เป็นที่น่าสนใจว่า ถึงแม้จะสิ้นสุดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky แล้ว แนวโน้มของการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Used Plastic) ของร้านค้า ยังเหมือนกับในระหว่างการดำเนินกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky (ตารางที่ 4) จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ข้อมูลจากตัวแทนร้านอาหารและเครื่องดื่มทำให้ทราบว่า ทางผู้ประกอบการมีความคาดหวังที่จะให้มีการจัดกิจกรรมจับฉลาก Green Lucky อีกครั้ง ทำให้ผู้ประกอบการยังคงเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และคงมาตรการการลดแจก Single Used Plastic หรือให้เฉพาะตอนที่ลูกค้าร้องขอ โดยพฤติกรรมนี้ไม่สามารถพบได้ในการใช้กิจกรรมการสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้

3. สรุปผลของกิจกรรม

การใช้วิธีการจับฉลากเพื่อแลกของรางวัลในกิจกรรม Green Lucky เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยตั๋วจับฉลาก Green Lucky ได้กลายเป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่านให้ความสนใจและต้องการมากขึ้น การสร้างความสนุกในรูปแบบนี้ไม่เพียงแต่กระตุ้นให้ผู้คนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ยังสร้างประโยชน์ทางการตลาดให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม และดึงดูดให้ร้านค้าอื่น ๆ เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของร้านค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดกิจกรรม โดยในระยะที่ 1 มีร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 44 ร้าน และระยะที่ 2 เพิ่มจำนวนเป็น 86 ร้านค้า จากจำนวนทั้งหมด 151 ร้านค้า มีนักท่องเที่ยวและผู้ใช้บริการถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งหมด 3,028 คน จากการให้ความรู้ผ่านการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ ณ ร้านค้า, บูทกิจกรรม Green Lucky และจุดคัดแยกขยะ ในระยะเวลาการจัดกิจกรรม ตั้งแต่เดือน สิงหาคม - กันยายน 2566 เป็นจำนวน 12 ครั้ง พบว่า

(1) สามารถลดปริมาณขยะที่นำไปสู่หลุมฝังกลบได้ 6%

(2) สามารถเปลี่ยนชนิดของบรรจุภัณฑ์พลาสติกจาก PET ให้เป็น PP และ PS ซึ่งสามารถนำไปขายให้กับร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่ได้

(3) ขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน (อยู่ในซองกระดาษ และซองพลาสติก) เช่น หลอด ช้อนและส้อม มีปริมาณลดลงมากจนแทบสำรวจไม่พบ

(4) ผู้ประกอบการร้านค้าสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ขายได้ ไปปรับใช้ในร้านค้า และพัฒนาเป็นแนวทางการดำเนินการของร้านค้าเอง ซึ่งหลังสิ้นสุดกิจกรรม 1 เดือน ร้านค้ายังคงใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้, บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ รวมถึงยังคงใช้มาตรการลดการแจก หลอด ช้อนส้อม และถุงพลาสติก ให้แก่ลูกค้า เว้นแต่ได้รับการร้องขอจากลูกค้า ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากโครงการที่สนับสนุนบรรจุภัณฑ์ทดแทนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ที่เมื่อไม่มีโครงการ ทางร้านค้าก็ปรับการใช้บรรจุภัณฑ์เป็นแบบเดิม

กิจกรรม Green Lucky สามารถช่วยลดปริมาณขยะไปสู่หลุมฝังกลบ และสามารถคงพฤติกรรมของร้านค้าอาหารและเครื่องดื่มให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือมีนโยบายลดการใช้ Single Used Plastic แต่ทว่า การเก็บข้อมูลนั้นเก็บเฉพาะช่วงปลายปี (สิงหาคม – ตุลาคม 2566 ) ซึ่งเป็นช่วงที่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการกิจกรรมข่วงเมืองน่านมากเป็นพิเศษ การศึกษาผลของการเปลี่ยนสัดส่วนประเภทของผู้มาใช้บริการ (คนท้องถิ่น ต่อ นักท่องเที่ยว) ในช่วงเวลาต่าง ๆ ต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงควรจะมีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมในกิจกรรม Green Lucky ในอนาคต

กิตติกรรมประกาศ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง ปาร์ตี้ หาร เปลี่ยนน่าน” นวัตกรรมการระดมทุนเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับงบประมาณจากทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมและการประเมินผลกระทบทางสังคม กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปีงบประมาณ 2566 นอกจากนี้คณะผู้วิจัยขอขอบคุณความร่วมมือจากเทศบาลเมืองน่าน และผู้ประกอบการถนนคนคนเดินกาดข่วงเมืองน่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและทำให้กิจกรรมครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้

__________________________________________________________________________________________________________

เอกสารอ้างอิง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). CARBON NEUTRAL TOURISM คู่มือแนวทางการออกแบบและพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์. กรุงเทพมหานคร.

https://drive.google.com/file/d/1yrAjz4WwNcZeabNqbPtphP0InFhVKdHm/view

สำนักงานฉลากกินแบ่งรัฐบาล. (2560). เงื่อนไขการตรวจผลรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล (ใช้ตั้งแต่งวดวันที่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป). https://www.glo.or.th/mission/reward-payment/check-reward

Breakthrough Energy. (2567). The Green Premium.

https://www.breakthroughenergy.org/our-approach/the-green-premium/

Trash Lucky. (2564). ขยะรีไซเคิลอะไรบ้างที่ส่งมาลุ้นทองกับ Trash Lucky ได้บ้าง?

https://trashlucky.com/recyclables-win-gold/


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี