ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน

บทคัดย่อ

ในภาวะปัจจุบันปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ คือ ปัญหาทางสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อันมีสาเหตุมาจากการดำเนินการทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่ทวีจำนวนขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้เกิดมลพิษปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศ พื้นดิน และพื้นน้ำอย่างมากมาย ซึ่งแต่เดิมความจุของการแบกรับของตัวกลางธรรมชาติ เช่น น้ำ อากาศ และดิน เหล่านี้ยังสามารถรองรับได้ แต่เมื่อมลพิษเหล่านั้นเพิ่มทวีอย่างมากมายจนธรรมชาติไม่อาจรองรับไหว จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็ยิ่งส่งผลให้ผลกระทบจากมลพิษบางกลุ่มยิ่งรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในปัญหาด้านอากาศในปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญอยู่ก็คือ ปัญหาฝุ่นละอองจากอุตสาหกรรม การคมนาคม และภัยธรรมชาติ ที่สามารถสัมผัสผ่านการมองเห็นได้อย่างชัดเจน และในปัจจุบันพบว่าปัญหานี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยในแง่ของมลพิษฝุ่นละอองนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ฝุ่นที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ไมโครอน ลงไป เรียกว่า ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate, TSP) 2) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เรียกกว่า PM10 และ 3) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เรียกว่า PM2.5 โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กอย่าง PM2.5 จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมักเป็นอนุภาคของสารเคมีอันตรายอย่างแอมโมเนีย ซัลเฟต และไนเตรท และสามารถเข้าสู่ปอดได้ด้วยขนาดที่เล็กมาก


อรุบล โชติพงศ์. (2561). ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน. วารสารสิ่งแวดล้อม, ปีที่ 22 (ฉบับที่ 1), 54-63.

ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน

ผศ.ดร.อรุบล โชติพงศ์
สถาบันวิจัยสภาะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทนำ
ในภาวะปัจจุบันปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ คือ ปัญหาทางสภาวะแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ อันมีสาเหตุมาจากการดำเนินการทางอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของประชากรที่ทวีจำนวนขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้เกิดมลพิษปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศ พื้นดิน และพื้นน้ำอย่างมากมาย ซึ่งแต่เดิมความจุของการแบกรับของตัวกลางธรรมชาติ เช่น น้ำ อากาศ และดิน เหล่านี้ยังสามารถรองรับได้ แต่เมื่อมลพิษเหล่านั้นเพิ่มทวีอย่างมากมายจนธรรมชาติไม่อาจรองรับไหว จนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็ยิ่งส่งผลให้ผลกระทบจากมลพิษบางกลุ่มยิ่งรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในปัญหาด้านอากาศในปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญอยู่ก็คือ ปัญหาฝุ่นละอองจากอุตสาหกรรม การคมนาคม และภัยธรรมชาติ ที่สามารถสัมผัสผ่านการมองเห็นได้อย่างชัดเจน และในปัจจุบันพบว่าปัญหานี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก โดยในแง่ของมลพิษฝุ่นละอองนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) ฝุ่นที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ไมโครอน ลงไป เรียกว่า ฝุ่นละอองรวม (Total Suspended Particulate, TSP) 2) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เรียกกว่า PM10 และ 3) ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เรียกว่า PM2.5 โดยฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กอย่าง PM2.5 จะมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจเป็นอย่างมากเนื่องจากมักเป็นอนุภาคของสารเคมีอันตรายอย่างแอมโมเนีย ซัลเฟต และไนเตรท และสามารถเข้าสู่ปอดได้ด้วยขนาดที่เล็กมาก

สถานการณ์ฝุ่นละอองของโลก
ปัญหามลพิษทางอากาศของโลกเกิดขึ้นในหลายประเทศ ซึ่งสาเหตุของปัญหาก็แตกต่างกันไป ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า และภูเขาไฟระเบิด ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาระยะสั้น และค่อย ๆ บรรเทาลงได้เอง แต่ปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การจราจร และอุตสาหกรรม เป็นปัญหามลพิษทีเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556 สถาบันแบล็กสมิธและกลุ่มกรีนครอส ได้มีการจัดอันดับ 10 สถานที่แห่งใหม่ที่มีมลภาวะมากที่สุดในโลก โดยประเทศจีนก็ติดอันดับในการจัดกลุ่มดังกล่าวด้วย โดยมีทั้งปัญหามลภาวะพื้นดิน น้ำ และอากาศ โดยเฉพาะหมอกหรือควันพิษ (Smog) ที่ได้ปกคลุมหลายมณฑลในประเทศจีนรวมถึงกรุงปักกิ่งและมหานครเซี่ยงไฮ้ มลพิษดังกล่าวนั้นอยู่ในระดับที่สูงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเยาวชนจีน ทางการของกรุงปักกิ่งเองก็ได้ตระหนักถึงภาวะมลพิษนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยมีสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของรัฐ (SEPA) ซึ่งได้ยกระดับเป็นกระทรวงในปี พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลปัญหาดังกล่าว 

ปัญหาภาวะมลพิษนี้ไม่ได้เกิดเพียงแค่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป

  • เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประสบปัญหามลพิษในอากาศระดับไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยมี PM10 สูงกว่ามาตรฐานถึง 2 เท่า 
  • ปัญหาจากไฟไหม้ป่ายังส่งผลเกิดมลพิษทางอากาศในเกาะสุมาตราและเกาะสิมิลัน ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ กันยายน พ.ศ. 2557 ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงและประชาชนล้มป่วย นอกจากนี้ยังพบว่าหมอกควันจากไฟป่าได้แผ่ปกคลุมไปถึงรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ทำให้ระดับคุณภาพอากาศในพื้นที่อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยต้นตอของไฟป่านั้นมาจากหลายปัจจัย อาทิเช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าในเชิงพาณิชย์ การเผาเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกปาล์มและภัยแล้งอย่างรุนแรงจากปรากฏการณ์เอลนีโญ 
  • กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 อุณหภูมิที่ลดลงก็มีผลในการกระตุ้นให้เกิดการกักเก็บฝุ่นละอองจากไอเสียของยานพาหนะ ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงจนมองไม่เห็นเทือกเขาที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมือง มีค่า PM2.5 สูงกว่ามาตรฐานที่องค์กรอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ถึง 3 เท่า 
  • กรุงเม็กซิโกซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ประสบปัญหาการปะทุหมอกควันขึ้นสู่ท้องฟ้าของภูเขาไฟโปโปคาเตเปตล์ ใน พ.ศ. 2558 และ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559 ก็ประสพกับมลพิษเนื่องจากไอเสียของยานพาหนะมีจนทำให้มีค่าของฝุ่นสูงเกือบ 2 เท่าของค่าที่ยอมรับได้ 
  • กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้เกิดสภาวะมลพิษทางอากาศเนื่องมาจากมวลอากาศเย็นที่พัดปกคลุมส่งผลให้ฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่สามารถกระจายสู่ชั้นบรรยากาศได้ โดยฝุ่นละอองเหล่านั้นเกิดจากไอเสียของยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน โรงงานอุตสาหกรรม และการเผาซากพืชของเกษตรกร โดยในอากาศมี PM2.5 สูงถึง 703 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือมากกว่า 2 เท่าของค่ามาตรฐานที่ทางการกำหนดเอาไว้ 

สถานการณ์ฝุ่นละอองในประเทศจีน
ประเทศจีนมีการแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศประเภทฝุ่นละอองอย่างมาก โดยเฉพาะใน ปี พ.ศ. 2557 พบว่ากรุงปักกิ่งมีค่า PM2.5 เฉลี่ย 1 ปี อยู่ที่ 0.056 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าค่ามาตรฐาน 2 เท่า ทั้งนี้เพราะการก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้นำที่ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกต่างประเทศในปริมาณมาก และสินค้าก็ได้รับการตอบรับจากประเทศผู้นำเข้าอย่างมากเนื่องจากราคาสินค้าที่ถูกทำให้ยอดส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นการเร่งปริมาณการผลิตภายในประเทศ โดยแหล่งพลังงานสำคัญที่ใช้ในประเทศมาเป็นเวลาช้านานก็คือถ่านหินที่สามารถจัดหาได้ในประเทศ ซึ่งเป็นการเติบโตของอุตสาหกรรมโดยที่ไม่มีแผนในด้านการควบคุมมลพิษกำกับ ทำให้เป็นตัวอย่างของการพัฒนาที่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง จากข้อมูลคุณภาพอากาศเมืองใหญ่ ทั่วโลก ใน ปี พ.ศ. 2557 ขององค์การอนามัยโลกระบุว่า เมืองที่มีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 เกินมาตรฐาน ได้แก่ นิวเดลี  และ ปัฎนา ของประเทศอินเดีย รองลงมาคือ รวัลพินดี การาจี และเปชาวาร์ของปากีสถาน และธากา เมืองหลวงของบังกลาเทศ ในขณะที่ประเทศจีนที่พบว่ามีปัญหามลพิษในระดับรุนแรง ใน ปี พ.ศ. 2557 แต่ก็ยังไม่พบว่าติดอันดับเมืองใหญ่ที่มีปัญหามลพิษ 20 อันดับแรกของโลก 

ปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นละอองที่อยู่ในระดับที่สูงเกินมาตรฐานอยู่ยาวนานในเมืองใหญ่ของประเทศจีน ทำให้รัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าจะลดระดับค่ามลพิษให้ลดลงเหลือ 60 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก่อนปี พ.ศ. 2560 และในหลายปีที่ผ่านมาประเทศจีนก็พยายามแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด การแก้ไขใช่ว่าจะทำได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ที่มีปัญหาอย่างรุนแรง จีนเองก็ได้วางแผนทั้งระยะสั้น และระยะยาวเพื่อการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้เกิดมลพิษที่มีค่า PM2.5 ในบางเขตมีค่าเกินค่ามาตรฐานซึ่งอยู่ในระดับอันตราย นครปักกิ่งได้ปิดโรงงานหลายแห่งชั่วคราวหรือลดกำลังการผลิตเช่น โรงพิมพ์ โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง และอุสาหกรรมเคมี ผลกระทบนี้นอกจากจะสร้างปัญหาทางด้านสุขภาพแล้วยังมีผลต่อการคมนาคมทั้งทางอากาศและทางบก ทำให้ต้องมีการยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินที่สนามบินนานาชาติปินไห่ในเทียนจินเลยทีเดียว และเปิดทางหลวงเพียงหนึ่งสายเท่านั้นที่ให้รถวิ่งได้ เนื่องจากทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ต่ำมาก รูปที่ 1 (ก-ค) แสดงให้เห็นหมอกควันในกรุงปักกิ่ง และรูป 1 (ง) หมอกควันในเมืองถังซาน 
 
 

 ในเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2560 ก็ยังพบว่าปริมาณฝุ่นในจีนในระดับสูง ที่กรุงปักกิ่งบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน มีระดับ PM2.5 ถึง 475 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงเกินมาตรฐานของ WHO ที่กำหนดว่าค่า PM2.5 ในรอบ 24 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพบว่าเมืองใหญ่ จำนวน 25 เมือง ยังคงมีฝุ่นความเข้มข้นของฝุ่นสูงกว่าระดับกลางตามมาตรฐานของ WHO จนต้องประกาศให้เป็นเขตพื้นที่สีแดง แต่ถ้าดูโดยภาพรวมเมื่อเทียบกับ ปี พ.ศ. 2557 พบว่า ค่าความเข้มข้นของฝุ่น ลดลง 9.9%  

สถาบันผลกระทบต่อสุขภาพในสหรัฐ เผยผลการศึกษาว่าในปี พ.ศ. 2557 มีผู้เสียชีวิตจากมลภาวะอากาศเป็นพิษมีมากกว่า 4.2 ล้านคนทั่วโลก โดยจีนและอินเดียมีผู้เสียชีวิตรวมกันถึง 2.2 ล้านคนซึ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งโลก เพื่อแก้ไขปัญหานี้จีนได้ดำเนินนโยบายและแนวทางการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และในปี พ.ศ. 2560 นี้ จีนก็ยังต้องทะยอยการแก้ปัญหาระดับชาตินี้อย่างต่อเนื่องด้วยภารกิจอันหนักหน่วง นั้นคือ การปิดโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ของประเทศที่ตั้งมาเป็นเวลาช้านาน ได้แก่ การปิดโรงงานเหล็กในมณฑลเหอเป่ยนั้นนับเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในโลกแต่เป็นการปิดในระยะสั้น โดยภาคส่วนอุตสาหกรรมเป็นตัวการปล่อย PM2.5 ถึงร้อยละ 40-50 ในมณฑลดังกล่าว ซึ่งโรงงานเหล็กและซีเมนต์นั้นนับเป็นภาคที่ปล่อยมลพิษสูงที่สุด 

นอกจากนี้โรงงานผลิตเหล็กในเมืองถังซาน มณฑลเหยเป่ย ซึ่งมีกำลังผลิต 100 ล้านตันต่อปี และโรงงานเหล็กที่เมืองหานดาน ก็ได้ทำการลดกำลังผลิตลงเหลือ 50% ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 เพื่อลดปริมาณปุ่นที่เกิดมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายน นอกจากโรงงานเหล็กแล้ว ในขณะนี้โรงงานถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดคือ โรงงานหัวเหนิง ในกรุงปักกิ่งก็ถูกระงับการดำเนินการลงแล้ว ในเดีอนมีนาคม พ.ศ. 2560 ทำให้กรุงปักกิ่งของจีนได้กลายเป็นเมืองที่มีโรงงานไฟฟ้าจากพลังสะอาดทั้งหมดเป็นแห่งแรกของจีนแล้ว คาดว่าหลังจากนี้ในแต่ละปีจะมีการลดการใช้ถ่านหินราว 1.76 ล้านตัน รวมทั้งลดการปล่อยสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ราว 91 ตัน และสารไนโตรเจนออกไซด์ปริมาณ 285 ตัน สำหรับโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ ถูกสร้างและเปิดเริ่มดำเนินการผลิตกระแสไฟฟ้ามาตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 มีเตาเผาถ่านหินทั้งหมด 5 เครื่อง ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 845,000 กิโลวัตต์ และความจุความร้อน 26 ล้านตารางเมตร ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรที่ดูแลเรื่องอากาศบริสุทธิ์ของจีน (Clean Air Alliance of China-CAAC) เชื่อว่ารัฐบาลคงจะมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการด้านอากาศที่วางไว้เมื่อปี พ.ศ. 2555 ให้สำเร็จในปี พ.ศ. 2561 ได้อย่างแน่นอน 

สาเหตุของปัญหาหมอกควันพิษในประเทศจีน
ในปี พ.ศ. 2554 องค์กรอนามัยโลกระบุไว้ว่าปริมาณมลพิษจากโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ประเทศจีนนั้นอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชาชนกว่า 257,000 คน ซึ่งประเทศจีนมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมากกว่า 2,300 โรง ดังจะเห็นได้จากกราฟในรูปที่ 2 ที่ชี้ชัดว่าการใช้ถ่านหินในจีนมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้ถ่านหินของทั้งโลก โดยที่ผ่านมานั้นประเทศจีนได้ใช้พลังงานจากถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลักเกือบร้อยละ 80 ของประเทศในปี พ.ศ. 2555 และมีการเติบโตของโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในนครปักกิ่ง 

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ปัญหาหมอกควันเลวร้ายมากขึ้น ได้แก่ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้อากาศเสียไม่สามารถระบายออกไปได้ จึงทำให้ควันพิษเหล่านี้ลอยไปปกคลุมมลฑลและหัวเมืองรอบๆนครปักกิ่ง โดนเฉพาะในเหอเป่ย ส่านซี สิงไถ สือเจียจ้วง ติ้งโจว และหยางเฉวียน ศาสตราจารย์เหรินยี่ จาง ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรยากาศศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสเอแอนด์เอ็มได้ให้ความเห็นว่าลมจากตอนเหนือในช่วงฤดูใบได้ผลิและใบไม้ร่วงจะช่วยพัดพามลภาวะในอากาศให้จางหายไป แต่หมอกควันพิษนี้จะหนาแน่นเป็นพิเศษในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าจากโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากการใช้เครื่องปรับอากาศในฤดูร้อน และการใช้เครื่องทำความร้อนในฤดูหนาว ส่วนในนครเซี่ยงไฮ้ที่อยู่ใกล้มหาสมุทร ลมจากมหาสมุทรจะทำให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดีกว่าที่นครปักกิ่งซึ่งอยู่ลึกเข้ามาจากมหาสมุทรและอยู่ใกล้กับทะเลทราย 

ผลกระทบของคุณภาพอากาศในประเทศจีน
ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศจีนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจในส่วนลึกได้มากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่ ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย เช่น ระคายคอ จามและน้ำจมูกไหล หายใจติดขัด ส่งผลให้เกิด โรคปอด โรคหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว ตลอดจนเด็กและผู้สูงอายุที่มีความต้านทานโรคต่ำกว่าคนปกติ ทำให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมาเนื่องจากการที่ประชาชนที่ไม่แข็งแรงย่อมทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น และการที่ประชาชนอ่อนแอย่อมทำให้ประสิพธิภาพของการทำงานลดลง เป็นการเพิ่มปัญหาให้กับหน่วยงานของรัฐมากขึ้นตามไปด้วย 

ด้านทัศนวิสัยทัศน์การบดบังฝุ่นละออองในบรรยากาศ ย่อมทำให้ส่งผลต่อวิสัยทัศน์การมองเห็นที่ลดลง ทำให้มีโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรที่มากกว่าเดิมและประชาชนไม่สามารถออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ เช่น การออกกำลังกาย การพักผ่อนในสวนสาธารณะ 

ในส่วนผลกระทบต่อพืชพรรณธรรมชาติ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ฟุ้งกระจายในบรรยากาศยังบดบังความเข้มของแสงที่ผ่านสู่พืชซึ่งมีผลต่อการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้การเจริญเติบโตของพืชลดลง เนื่องจากพืชเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนตามธรรมชาติ จึงทำให้คุณภาพอากาศที่เสียอยู่แล้วเนื่องจากการปนเปื้อนของฝุ่นละอองและก๊าซพิษยิ่งลดต่ำลงไปจากเดิม  ในกรณีของพื้นที่การเกษตรย่อมส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงด้วย 

ด้านเศรษฐกิจนั้นปัญหาหมอกควันกระทบกับความสามารถในการผลิตของแรงงาน (Labor Productivity) ราวร้อยละ 6.5 ของการผลิตทั้งประเทศ (ประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท) ด้วยเหตุนี้ จีนจึงประกาศสงครามกับปัญหาหมอกควัน ซึ่งประมาณการกันว่าจีนต้องใช้งบประมาณราว 7 ล้านล้านบาท จึงจะลดปัญหาหมอกควันได้  

ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น  การที่ประชาชนลดการทำกิจกรรมนอกบ้านย่อมส่งผลในการลดปริมาณการซี้อขายภายในประเทศ มีการสั่งปิดถนนและทางหลวง 18 สายที่มุ่งสู่ปักกิ่ง เมืองฮาร์บินและเซี่ยงไฮ้ ทำให้เส้นทางจราจรเปลี่ยแปลงไปจากเดิม ใช้เวลามากขึ้น หรือถึงช้ากว่าเดิม ทำให้สิ้นเปลีองค่าน้ำมันมากขึ้นและที่สำคัญคือ การท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างชัดเจน แต่ปัญหานี้กลับส่งผลในด้านดีต่อบริษัท 3 M ที่มียอดจำหน่ายของหน้ากากอนามัย สูงเพิ่มขึ้นจนติดอันดับการขายดีมากที่สุดเพราะประชาชนจัดหาเพื่อนำมาป้องกันมลพิษ ตามรูปที่ 3 

แนวทางป้องกันและแก้ไขของประเทศจีน
การป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษในประเทศจีนนั้น ผู้บริหารได้จัดทำแนวทางไว้ในหลายรูปแบบซึ่งมีทั้งแนวทางในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เป็นทางการ ได้แก่ การสร้างโดรนพ่นสารกำจัดหมอกควัน โดยโดรนสามารถบรรจุสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดหมอกควันได้ถึง 700 กิโลกรัมและสามารถพ่นกำจัดหมอกควันได้ในรัศมี 5 กิโลเมตร ซึ่งการใช้โดรนในการกำจัดหมอกควันประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการใช้ยานพาหนะอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการยิงจรวดเพื่อสร้างฝนเทียม โดยใช้เครื่องยิงจรวดในการยิงสารเคมีที่ประกอบไปด้วย โพแทสเซียมไอโอไดด์ (Potassium Iodide) โพเพนเหลว (Liquid Propane) ชิลเวอร์ไอโอไดด์ (Silver Iodide) เข้าไปในเมฆ เพื่อใช้เป็นตัวเร่งให้เกิดผลึกน้ำแข็งและเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน ด้วยโมเลกุลของเม็ดฝนจะช่วยชะล้างฝุ่นละอองที่อยู่ในอากาศให้ตกลงมาสู่พื้นดิน 

ส่วนการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งมลพิษโดยตรง ได้แก่ ควบคุมการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม โดยภาครัฐมีการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายในการอัพเกรดโรงงานให้ใช้พลังงานอย่างอื่นแทนถ่านหิน ในแผนยุทธศาสตร์ลดควันพิษ ภายในระยะเวลา 5 ปี และการปิดโรงงานอุตสหกรรม ซึ่งในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลจีนได้สั่งปิดโรงงาน 300 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาหมอกครันในกรุงปักกิ่ง นอกจากนั้นยังมีการออกมาตรการระหว่างมณฑลเพื่อลดการปล่อยมลพิษ รวมถึงการลดการใช้ถ่านหิน โดยแผนลดมลพิษทางอากาศของจีนในปี พ.ศ. 2560 ต้องลดควันพิษให้ได้ร้อยละ 10  โดยมีการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดแทนการใช้พลังงานจากถ่านหิน 
ส่วนปัญหาการจราจรซึ่งเป็นแหล่งการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ ที่เป็นแหล่งมลพิษโดยตรงอีกทางหนึ่งนั้น รัฐบาลจีนได้มีการจัดการการจราจรและการใช้ยานพาหนะ ในหลาย ๆ มิติ ได้แก่ การออกกฎกำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยไอเสีย การตรึงราคาน้ำมันให้สูงกว่าราคาน้ำมันในตลาดโลก เพื่อลดการใช้ยานพาหนะ การสลับรถวิ่งบนท้องถนนตามวันคู่วันคี่ของเลขทะเบียนรถ การซื้อรถเก่าไปทำลาย และการสนับสนุนการใช้รถพลังงานไฟฟ้า
นอกจากการแก้ปัญหาโดยตรงแล้ว จีนยังได้มองไปถึงการทำวิจัยที่จะผลิตวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสีกินฝุ่นหรืออาคารกรองอากาศ โดยได้มีศึกษาในด้านการสร้างอาคารที่มีส่วนช่วยป้องกันหมอกควัน คือ สีที่มีส่วนผสมของสารเคมี “ไทเทเนี่ยมไดออกไซค์” (titanium dioxide) สารเคมีดังกล่าวจะช่วยในการจับกับไนโตรเจนออกไซค์ ซึ่งเป็นสารพิษหลักที่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ นอกจากนั้นยังมีการจัดทำแอพพลิเคชั่นในการติดตามการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อรายงานสภาพอากาศแต่ละจุด เฝ้าระวังและจับผิดโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยควันเสีย 
นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้น รัฐบาลจีนยังมีแนวทางในการแก้ปัญหาแบบง่ายที่ผู้อ่านคงแทบคิดไม่ถึง เช่น การลดอาหารปิ้งย่าง ห้ามปิ้งบาร์บีคิว ในปี พ.ศ. 2557 รัฐบาลจีนได้ร่างข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการลดปัญหาหมอกควันหลายอย่างและหนึ่งในข้อเสนอเหล่านั้นคือ ห้ามย่างบาร์บีคิว พร้อมทั้งรณรงค์ให้ชาวจีนลดการบริโภคอาหารปิ้งย่าง เพื่อลดปัญหาหมอกควันในเมือง หรือการแก้ไขปัญหาแบบทางอ้อม เช่น เพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วยการรำไทเก็ก หรือรำมวยจีน 

 

บรรณานุกรม   
  • Breakingenergy. Chinese Air Pollution Documentary Paints Chilling Picture, Goes Viral. [ออนไลน์]. 2558. แหล่งที่มา: https://breakingenergy.com/2558/03/03/chinese-air-pollution-documentary-paints-chilling-picture-goes-viral/ [6 ธันวาคม 2560]
  • EIA. China produces and consumes almost as much coal as the rest of the world combined [ออนไลน์]. 2557. แหล่งที่มา: https://www.eia.gov/todayinenergy/detail.cfm?id=16271 [6 ธันวาคม 2560]
  • Greenpeace Thailand. ปักกิ่งเริ่มสั่งปิดตัวโรงงานเหล็กครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/60644/ [6 ธันวาคม 2560]
  • Nation TV. อินโดนีเซียเร่งดับไฟป่า บนเกาะสุมาตรา. [ออนไลน์]. 2557. แหล่งที่มา: http://www.nationtv.tv/main/content/378424596/ [6 ธันวาคม 2560]
  • Netherlands Enterprise Agency (Rijksdienst voor Ondernemend Nederland). Mining industry in China. [ออนไลน์]. 2559. แหล่งที่มา: https://www.rvo.nl/sites/default/files/2559/06/Mining-industry-in-China%202559.pdf  [6 ธันวาคม 2560]
  • World Health Organization . WHO Air quality guidelines for particulate matter, ozone, nitrogen dioxide and sulfur dioxide. [ออนไลน์]. 2549. แหล่งที่มา: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/69477/1/WHO_SDE_PHE_OEH_06.02_eng.pdf [6 ธันวาคม 2560]
  • SOFTPEDIA. Microsoft Can Forecast China Air Pollution with Windows Phone App, New Website. [ออนไลน์]. 2558. แหล่งที่มา: http://news.softpedia.com/news/Microsoft-Can-Forecast-China-Air-Pollution-with-Windows-Phone-App-New-Website-483998.shtml [6 ธันวาคม 2560]
  • TransportPolicy. CHINA: AIR QUALITY STANDARDS. [ออนไลน์]. 2560 ก . แหล่งที่มา:  http://www.transportpolicy.net/standard/china-air-quality-standards/ [6 ธันวาคม 2560]
  • TransportPolicy. INDIA: AIR QUALITY STANDARDS. [ออนไลน์]. 2560 ข . แหล่งที่มา: http://www.transportpolicy.net/standard/india-air-quality-standards/  [6 ธันวาคม 2560]
  • Voice . อินเดียครองแชมป์มลภาวะทางอากาศสูงสุดในโลก. [ออนไลน์]. 2557 . แหล่งที่มา: https://www.voicetv.co.th/read/105483 [6 ธันวาคม 2560]
  • World Health Organization . WHO Air quality guidelines for particulate matter, ozone, nitrogen dioxide and sulfur dioxide. [ออนไลน์]. 2549 . แหล่งที่มา: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/69477/1/WHO_SDE_PHE_OEH_06.02_eng.pdf [6 ธันวาคม 2560]
  • ข่าวสด. สำรวจ “จีน-อินเดีย” ตายจากอากาศเป็นพิษเกินกว่า 2 ล้านคน ครึ่งหนึ่งของโลก. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_218602 [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยพับลิก้า. มลภาวะจีน: ปัญหาที่ท้าทายมนุษยชาติ (1). [ออนไลน์]. 2557 ก. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2557/02/shanghai-pollution-1/ [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยพับลิก้า. มลภาวะที่จีน: ปัญหาที่ท้าทายมนุษยชาติ (ตอนที่ 9). [ออนไลน์]. 2557 ข. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2557/10/shanghai-pollution-9/ [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยพับลิก้า. มลภาวะจีน ปัญหาที่ท้าทายมนุษยชาติ (7): ชาวจีนรวมตัวทวงความปลอดภัยในชีวิตมากขึ้น.  [ออนไลน์]. 2557 ค. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2557/08/shanghai-pollution-7/ [6 ธันวาคม 2560
  • ไทยพับลิก้า. มลภาวะที่จีน: ปัญหาที่ท้าทายมนุษยชาติ (ตอน10) กับมาตรการผักชีโรยหน้า. [ออนไลน์]. 2557 ง. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2557/12/shanghai-pollution-10/ [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยรัฐออนไลน์. จีนตั้งเป้าลดมลพิษทางอากาศใน 28 เมืองภาคเหนือ. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1055685 [6 ธันวาคม 2560]
  • บีบีซี นาวิเกชัน. กรุงปักกิ่งระงับโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดแห่งสุดท้ายแล้ว. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: http://www.bbc.com/thai/international-39319240 [6 ธันวาคม 2560]
  • ประชาธรรม. ดูวิธีแบบจีนสไตล์ อยู่และจัดการปัญหาหมอกควัน. [ออนไลน์]. 2559 . แหล่งที่มา: https://www.prachatham.com/article_detail.php?id=411 [6 ธันวาคม 2560]
  • ผู้จัดการออนไลน์. “อิหร่าน” เจอวิกฤตมลพิษพุ่งสูง-สั่งปิดโรงเรียนทั่วเมืองหลวง. [ออนไลน์]. 2559 ก . แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000113831 [6 ธันวาคม 2560]
  • ผู้จัดการออนไลน์. “เม็กซิโก” ห้ามรถนับล้านคันวิ่งในเมืองหลวง หลังเจอปัญหามลพิษในอากาศ. [ออนไลน์]. 2559 ข . แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000028075 [6 ธันวาคม 2560]
  • ผู้จัดการออนไลน์. หมอกมลพิษบุกภาคเหนือจีน เทียนจินอ่วมสุด ยกเลิกเที่ยวบินระนาว. [ออนไลน์]. 2559 ค. แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th/China/viewnews.aspx?NewsID=9590000125997 [6 ธันวาคม 2560]
  • ผู้จัดการออนไลน์. “นิวเดลี” เจอหมอกควันพิษอีกรอบ! ค่าฝุ่นละอองในอากาศพุ่งเกินมาตรฐาน 2 เท่า. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: https://mgronline.com/around/detail/9600000112641 [6 ธันวาคม 2560]
  • ไทยรัฐออนไลน์. ฝรั่งเศสจำกัดการใช้รถในปารีส หลังมลพิษในอากาศพุ่งสูง. [ออนไลน์]. 2557 . แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/410242 [6 ธันวาคม 2560]
  • เดลินิวส์. คุณภาพอากาศในจีนยังเลวร้ายจากปัญหาหมอกควัน. [ออนไลน์]. 2560 . แหล่งที่มา: http://www.dailynews.co.th/foreign/546741 [6 ธันวาคม 2560]

 


บทความอื่นๆ

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

แนวทางการเขียนบทความ สิ่งแวดล้อมไทย

1

ขอบเขตของเนื้อหา

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นวารสารที่นำเสนอบทความวิชาการทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเนื้อหาความรู้ทางวิชาการที่ไม่เข้มข้นมากนัก เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลทั่วไป รูปแบบของการเขียนบทความเป็นในลักษณะดังนี้

  1. หากเป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากผลงานวิจัย ควรประกอบด้วย ความสำคัญและที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้อง วิธีการศึกษาในรูปแบบของหลักการศึกษาพอสังเขป ผลการศึกษาพร้อมการอภิปรายผลผล สรุปนำเสนอความรู้ที่ได้จากการวิจัย
  2. หากเป็นบทความเชิงวิจารณ์ บทความวิชาการ ซึ่งเรียบเรียงจากความรู้ต่าง ๆ และ ผลงานวิจัยของผู้อื่น ควรประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์ ซึ่งมีการนำเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติมถึงแนวโน้ม หรือข้อดีและข้อเสีย หรือข้อสรุปอย่างชัดเจน

2

ความยาวของบทความ

ควรมีความยาวของบทความขนาดไม่เกิน 10 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง) โดยการใช้ font ประเภท Thai Saraban ขนาดตัวอักษร 16 Single space

3

รูปในบทความ

ให้ส่งไฟล์รูปภาพ ที่มีขนาดรูปเท่าที่ต้องการนำเสนอจริง และมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi หรือ ไฟล์ภาพต้นฉบับ

  1. หากเป็นรูปที่นำมาจากแหล่งอื่นต้องอ้างอิงแหล่งที่มา
  2. หากเป็นรูปที่ถ่ายมาเอง ให้ระบุชื่อเป็นของผู้เรียบเรียงบทความ

4

การอ้างอิงทางบรรณานุกรม

กำหนดให้ผู้เขียนบทความใช้ระบบ APA 6th ed โดยการอ้างอิงในเนื้อหาเป็นแบบ “ผู้แต่ง, ปีพิมพ์” และมีวิธีการเขียนรายการเอกสารอ้างอิง ดังนี้

  1. หนังสือ
    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง(ตัวเอียง) ครั้งที่พิมพ์. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
  2. บทความในหนังสือ บทในหนังสือ
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ), ชื่อหนังสือ(ตัวเอียง) (ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ(จากหน้าใดถึงหน้าใด). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์
  3. วารสาร
    ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร(ตัวเอียง), ปีที่ (ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฎ.
  4. วิทยานิพนธ์
    ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์(ตัวเอียง). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,ชื่อสถาบันการศึกษา).
  5. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
    ชื่อผู้เขียน (ปี,เดือน วันที่). ชื่อเนื้อหา. [รูปแบบสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เช่น PowerPoint Facebook Website]. สืบค้นจาก http:/.....

FAQ

เกี่ยวกับวารสาร

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environmental) เป็นวารสารที่ดูแลโดยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน ครอบคลุมในประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการเมือง การจัดการของเสียและขยะ การป้องกันและควบคุมมลพิษ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

สิ่งแวดล้อมไทยเผยแพร่เนื้อหาของบทความในลักษณะ Open Access โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่สนใจในด้านสิ่งแวดล้อมสามารถนำเสนองานวิจัย บทความวิชาการ และบทความที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยและระดับสากล วารสารนี้เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างนักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่สนใจในเรื่องนี้

สิ่งแวดล้อมไทย หรือในชื่อเดิม วารสารสิ่งแวดล้อม เริ่มเผยแพร่ในแบบรูปเล่มฉบับแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 และเปลี่ยนการเผยแพร่เป็นรูปแบบออนไลน์ในปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ผ่านเวปไซต์ http://www.ej.eric.chula.ac.th/ โดยดำเนินการเผยแพร่วารสารราย 3 เดือน (4 ฉบับ/ปี) กำหนดเผยแพร่ทุกต้นเดือนมกราคม เมษายน กรกฎาคม และ ตุลาคม และได้รับการจัดอันดับในฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี Thai-Journal Citation Index (TCI) ระดับ Tier 3 โดยวารสารสิ่งแวดล้อมมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร หรือเลข ISSN (PRINT) : 0859-3868 และ ISSN (ONLINE) : 2586-9248

ในปี พ.ศ. 2566 วารสารสิ่งแวดล้อมได้ปรับปรุงการเผยแพร่บทความ เพื่อมุ่งสู่ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index; TCI) ที่สูงขึ้นในระดับ Tier 2 ซึ่งประกอบด้วย การปรับความถี่ในการเผยแพร่เป็น 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มิถุนายน) และ ฉบับที่ 2 (ธันวาคม) และการปรับปรุงการจัดส่งบทความจากเดิมที่เป็นการจัดส่งต้นฉบับทางอีเมล์ eric@chula.ac.th เป็นจัดส่งผ่านระบบ Thai Journals Online (ThaiJO) ซึ่งเป็นระบบการจัดการและตีพิมพ์วารสารวิชาการในรูปแบบวารสารออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) พร้อมเพิ่มเติมขั้นตอนการประเมินบทความในลักษณะ Double blind review จากผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่านก่อนการเผยแพร่ ซึ่งการประเมินจะมีความเข้มข้นและมีระบบระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย

สิ่งแวดล้อมไทย เป็นชื่อใหม่ของวารสาร เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI ซึ่งได้กำหนดให้วารสารต้องมีเลข ISSN ที่จดทะเบียนตามชื่อภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตามหลักสากล และเพื่อให้วารสารได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

สิ่งแวดล้อมไทย ISSN : 2686-9248 (Online)
ความถี่ในการเผยแพร่ : 2 เล่ม/ปี (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)
สำนักพิมพ์ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
ฐานข้อมูลการจัดทำดัชนี : Thai-Journal Citation Index (TCI), Tier 3

สิ่งแวดล้อมไทย (Thai Environment) เป็นวารสารที่เผยแพร่ข่าวสารและองค์ความรู้ทางวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในบริบทของประเทศไทยออกสู่สาธารณชน โดยเนื้อหาครบคลุมทั้งในมิติของนโยบาย กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การจัดการ รวมถึงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับวารสารมีดังต่อไปนี้

  • การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการเมือง
  • การจัดการของเสียและขยะ
  • การป้องกันและควบคุมมลพิษ
  • การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
  • นโยบายสิ่งแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ

เกณฑ์หลักสำหรับการตีพิมพ์ คือ คุณภาพของข้อมูลและเนื้อหาที่เหมาะกับผู้อ่านทั่วไป

หัวหน้ากองบรรณาธิการ

ณัฐพงศ์ ตันติวิวัฒนพันธ์
ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์

กองบรรณาธิการ

ธวัลหทัย สุภาสมบูรณ์
นันทมล ลิมป์พิทักษ์พงศ์
บัวหลวง ฝ้ายเยื่อ
วิไลลักษณ์ นิยมมณีรัตน์
วัชราภรณ์ สุนสิน
ศีลาวุธ ดำรงศิริ
อาทิมา ดับโศก
กิตติวุฒิ เฉลยถ้อย

ที่ปรึกษา

ปกฉัตร ชูติวิศุทธิ์

บทความที่ส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทยต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อนและต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในที่อื่น หลังจากส่งบทความ บทความนั้นจะถูกประเมินว่าตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร รูปแบบ และดัชนีความคล้ายคลึงกับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ บทความที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทั้งหมดจะถูกประเมินโดยผู้ตรวจสอบอิสระอย่างน้อย 2 ท่านเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลและการเขียนบทความ

วารสารนี้ใช้กระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแบบปกปิดสองฝ่าย โดยบรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการยอมรับ แก้ไข หรือปฏิเสธบทความทั้งหมด และการตัดสินใจของบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

หลังจากที่ได้รับการตอบรับการตีพิมพ์แล้ว บทความจะถูกดำเนินการเพื่อการผลิตและการตีพิมพ์ ผู้เขียนจะได้รับแบบฟอร์มข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์บทความ และจะถูกขอให้โอนลิขสิทธิ์บทความให้กับผู้จัดพิมพ์ในระหว่างกระบวนการพิสูจน์อักษร นอกจากนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดหมายเลขประจำเอกสารดิจิทัล (Digital Object Identifier; DOI) ให้กับบทความทั้งหมดที่กำหนดให้ตีพิมพ์ในฉบับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการบรรณาธิการแสดงดังแผนผังด้านล่าง

สำหรับสำนักพิมพ์

สิ่งแวดล้อมไทยเป็นวารสารวิชาการที่เข้าใจถึงความสำคัญของจริยธรรมในการตีพิมพ์ทางวิชาการ ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเผยแพร่ควรปฏิบัติตามแนวทาง “คณะกรรมการจริยธรรมในการเผยแพร่ (COPE)” (https://publicationethics.org/) เครื่องมือตรวจจับการลอกเลียนแบบ “อักขราวิสุทธิ์” จะถูกใช้เพื่อรับรองความเป็นต้นฉบับของต้นฉบับที่ส่งมาทั้งหมด ต้นฉบับใด ๆ ที่มีดัชนีความคล้ายคลึงกันมากกว่า 30% จะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียนเพื่อแก้ไขและชี้แจงหรือปฏิเสธ หากไม่ปฏิบัติตามจะส่งผลให้ต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยทันที ซึ่งมีผลต่อการยุติกระบวนการประเมินบทความ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอคติและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ วารสารจึงปฏิบัติตามนโยบายการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิโดยปกปิดทั้งสองด้าน (Double-blind peer review) สำหรับต้นฉบับทั้งหมดที่วารสารได้รับ

สำหรับบรรณาธิการ

บรรณาธิการจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าต้นฉบับจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธตามข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของผู้ประเมินบทความ กองบรรณาธิการประกอบด้วยหัวหน้ากองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ โดยทั่วไปหัวหน้ากองบรรณาธิการจะให้คำแนะนำและแนวปฏิบัติด้านวิชาการ กองบรรณาธิการทำหน้าที่ในการเชิญผู้ประเมินเพื่อพิจารณาบทความซึ่งจะเรียกว่าบรรณาธิการประจำบทความ และอาจทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินด้วย กองบรรณาธิการประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการวิจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมตามหัวข้อต่าง ๆ ของวารสาร จากขอบเขตการวิจัยของต้นฉบับที่ส่งมา หัวหน้าบรรณาธิการจะมอบหมายต้นฉบับให้กับกองบรรณาธิการที่เหมาะสม บรรณาธิการประจำบทความมีหน้าที่ส่งต่อต้นฉบับให้กับผู้ประเมินที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม และจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายสำหรับการพิจารณษบทความที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ ยกเว้นในกรณีที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการตีพิมพ์ บรรณาธิการวารสารทุกคนควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังนี้

  • บรรณาธิการจะต้องยึดถือหลักจริยธรรมในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับวารสาร
  • บรรณาธิการจะต้องเลือกผู้ประเมินที่มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องและไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนต้นฉบับ
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยตัวตนของผู้ประเมินให้ผู้เขียนทราบ และในทางกลับกัน
  • บรรณาธิการจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ จากต้นฉบับก่อนตีพิมพ์
  • ข้อมูลหรือความคิดเห็นของผู้ประเมินจะต้องเก็บเป็นความลับและไม่ควรนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว

สำหรับผู้แต่ง

ผู้เขียนต้นฉบับควรจำกัดเฉพาะผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อต้นฉบับ รวมถึงแนวความคิด การค้นคว้า การออกแบบการศึกษา การวิเคราะห์และให้บทสรุป และการเขียน นอกจากนี้ ผู้เขียนจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • ต้นฉบับจะต้องไม่มีการตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ ก่อนที่จะส่งมายังสิ่งแวดล้อมไทย ผลลัพธ์บางส่วนที่รายงานในต้นฉบับที่ส่งมาได้รับการตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการ จะต้องระบุและนำเสนอเป็นหมายเหตุในต้นฉบับ
  • ผู้เขียนสามารถส่งต้นฉบับไปยังวารสารอื่นได้เฉพาะเมื่อต้นฉบับถูกปฏิเสธโดยวารสารเท่านั้น
  • ผู้เขียนจะต้องลงนามในข้อตกลงการโอนลิขสิทธิ์กับวารสารหลังจากต้นฉบับได้รับการยอมรับแล้ว
  • ผู้เขียนทุกคนต้องรับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดและข้อโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนการลอกเลียนแบบ
  • เป็นหน้าที่ของผู้เขียนในการตอบสนองต่อความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดของผู้วิจารณ์ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นใด ๆ ของผู้วิจารณ์ ผู้เขียนควรให้คำอธิบาย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบรรณาธิการประจำบทความที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ
  • สิ่งแวดล้อมไทยปฏิบัติตามนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการประพันธ์ ควรขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงผู้เขียนจากผู้เขียนทุกคน หากผู้เขียนคนใดต้องการเปลี่ยนลำดับของผู้เขียน เช่น เพิ่ม/ลบผู้เขียน หรือเปลี่ยนแปลงผู้เขียนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ประเมิน

ผู้ประเมินมีบทบาทสำคัญในการตีพิมพ์ต้นฉบับ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะช่วยให้ผู้เขียนปรับปรุงคุณภาพต้นฉบับและรับประกันว่าต้นฉบับมีค่าควรแก่การตีพิมพ์และจะนำไปสู่ความรู้ทางวิชาการ นอกจากนี้ ผู้ประเมินอาจมีอิทธิพลต่อต้นฉบับขั้นสุดท้ายพร้อมกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกระบวนการตรวจสอบ ผู้ประเมินจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางต่อไปนี้

  • ผู้ประเมินควรปฏิเสธคำขอตรวจสอบหากงานวิจัยของต้นฉบับไม่อยู่ในความเชี่ยวชาญของตน
  • ผู้ประเมินควรแสดงความคิดเห็นตามความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  • ผู้ประเมินจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลหรือผลลัพธ์จากต้นฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์
  • ผู้ประเมินควรแจ้งบรรณาธิการหากสงสัยว่าต้นฉบับมีผลงานซ้ำกับบทความที่ตีพิมพ์อื่น ๆ

บทความวิชาการทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในสิ่งแวดล้อมไทย เป็นแบบเปิดเข้าถึงทั้งหมด สามารถอ่าน ดาวน์โหลด และเผยแพร่ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทันที บทความจะตีพิมพ์ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License ซึ่งบทความทั้งหมดสามารถถูกเผยแพร่ คัดลอก แจกจ่ายใหม่ และ/หรือดัดแปลงเพื่อการไม่เชิงพาณิชย์ได้โดยได้รับการอนุมัติที่เหมาะสมจากกองบรรณาธิการของวารสาร

ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นผู้เขียนจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

บทความที่ตีพิมพ์ทั้งหมดได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License บทความที่ตีพิมพ์อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสิ่งแวดล้อมไทย มีผลบังคับใช้เมื่อบทความได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ ดังนั้นจะมอบสิทธิ์ทั้งหมดในงานให้กับสิ่งแวดล้อมไทย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการคุ้มครองจากผลที่เกิดจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต การตีพิมพ์บางส่วนหรือทั้งหมดของบทความในที่อื่นเป็นไปได้เฉพาะหลังจากได้รับความยินยอมจากกองบรรณาธิการ

สิ่งแวดล้อมไทยไม่มีการเรียกเก็บเงินใด ๆ ตั้งแต่การส่งจนถึงการตีพิมพ์ รวมถึงค่าธรรมเนียมการส่ง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านบรรณาธิการ ค่าใช้จ่ายในการประมวลผลบทความ ค่าบริการหน้า และค่าสี